“เสียง” คือเทคโนโลยี แห่งอนาคต...!!

“เสียง” คือเทคโนโลยี แห่งอนาคต...!!

เทคโนโลยีเสียงเป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปีที่ผ่านมาและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

ในปี 2560 มีการใช้ smart speaker มากถึง 50 ล้านคน ในหมู่ผู้ใช้ชาวอเมริกัน Comscore คาดการณ์ว่า การใช้ search function ผ่านเทคโนโลยีเสียงจะเพิ่มมากขึ้น โดยภายในปี 2563 กว่าครึ่งหนึ่งของ search ทั้งหมดในโลกจะเป็นการทำผ่านเทคโนโลยีเสียง ในปัจจุบันมีการใช้งาน voice – first devices มากถึง 33 ล้านเครื่อง และในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา มีผู้ใช้ voice controldevice มากถึง 325.8 ล้านคนทั่วโลก (Global web index) 

เทคโนโลยีเสียง มีความหลากหลายในการใช้งาน ทั้งที่อยู่ในมือถือ และที่เป็น Voice assistant ใน Google Home รวมถึง ทั้งเทคโนโลยีเสียงในผลิตภัณฑ์และการบริการของแบรนด์ต่างๆ ข้อดีของเทคโนโลยีเสียงคือ เพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ใช้ง่าย และสามารถ ใช้ในชีวิตประจำวันได้โดยไม่สะดุด ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ Head set ที่ยุ่งยากเหมือนเทคโนโลยีอื่นๆ เทคโนโลยีเสียงถูก นำมาใช้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่เหนือชั้นกว่าให้แก่ผู้บริโภค เช่น ที่ทำการไปรษณีย์ของสหรัฐอเมริกาเริ่มใช้กล่อง Blue Box เพื่อทดลองการนำเทคโนโลยีเสียงมาใช้แทนการติดแสตมป์ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปที่ ที่ทำการไปรษณีย์ เพื่อส่งจดหมายหรือพัสดุอีกต่อไป ผู้ใช้สามารถสร้าง user account ในมือถือซึ่งเชื่อมโยงกับบัญชีธนาคาร ผู้ใช้สามารถไปส่งจดหมายที่ smart box โดยใช้เสียงเป็นตัวสั่งการ บอกที่อยู่ ชื่อ ของผู้รับ กล่อง smart box จะรับฟังคำสั่ง และชั่งตวงน้ำหนักของพัสดุ และจัดส่งไปยังผู้รับ เสียงของผู้ส่งจะเป็นเหมือนแสตมป์ โดยไม่ต้องจ่ายเงิน ซื้อแสตมป์ จริงๆให้ยุ่งยากอีกต่อไป แนวคิดนี้เป็นการเพิ่มความสะดวกสะบายให้แก่ผู้ใช้ และยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของที่ทำการไปรษณีย์ อีกด้วย ช่วยลดการใช้กระดาษนำไปสู่การให้บริการ แบบ cash less และ paperless

เทคโนโลยีเสียง ได้รับความนิยมมากขึ้น ในหมู่แบรนด์ต่างๆ เพราะมีความยืดหยุ่นสูง สามารถนำไปใส่ไว้ในผลิตภัณฑ์ และ บริการต่างๆ ได้ง่ายดาย ทั้งที่เป็นรูปแบบของ Chatbotช่วยตอบคำถาม และให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค หรือ การนำไปเป็นส่วนหนึ่งของการใช้งาน เช่น การใช้ใน smart car เป็นตัวสั่งการ ฟังค์ชั่นต่างๆ ในรถทั้ง GPS การเปิดปิด sunroof หรือการสั่งการระบบเสียงภายในรถยนต์

ที่ประเทศญี่ปุ่น มีการนำเทคโนโลยีเสียงมาใส่ไว้ในหุ่นยนตร์ ชื่อ เป๊ปเปอร์ โดยหุ่นยนต์ นี้มีระบบการเรียนรู้ และ เก็บข้อมูลของผู้ใช้ สามารถสื่อสารและตอบสนองได้ตามอารมณ์ และความรู้สึก รวมถึงความต้องการของผู้ใช้งาน มีการใช้หุ่นยนต์เป๊ปเปอร์ ในสนามบิน เพื่อให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว เป็ปเปอร์ ยังถูกใช้ในการให้บริการต่างๆ ด้วย เพื่อช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน หรือ ทักษะด้านต่างๆ ที่น่ารักและน่าทึ่งมาก คือ การใช้เป๊ปเปอร์ ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่นการสวดมนต์ หรือทำพิธีกรรมในงานศพตามสถานที่ต่างๆ

เทคโนโลยีเสียง สามารถนำไปใส่ไว้ในของเล่นเพื่อเพิ่ม sensorial experience ให้กับเด็กๆ Barbie เป็นแบรนด์แรกๆ ที่นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในงาน โดยสร้าง Barbie Dreamhouse ขึ้นมา ซึ่งเป็น wifi voice activated playhouse ที่ให้เด็กๆ สามารถพูดคุยได้ สั่งให้ร้องเพลง มีเสียง ต่างๆ มากถึง 100 กว่าเสียง 

สิ่งที่น่าสนใจสำหรับเทคโนโลยีเสียงก็คือ การที่ผู้ใช้ สามารถใช้งานได้ง่าย แม้ว่าจะเป็น เทคโนโลยีใหม่ แต่ไม่ได้ รู้สึกแปลกแยก หรือต้องปรับตัวในการใช้งาน ทั้งนี้เพราะเสียงเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยมาตั้งแต่เด็ก ๆ ตอนเป็นทารก เราเรียนรู้จากเสียงเป็นอันดับแรก ได้ยินเสียงตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา เทคโนโลยีเสียงจึงเป็นสิ่งที่เราใช้งานได้อย่างเป็นธรรมชาติ

จากการศึกษาระบบการทำงานของสมอง ของ Neuro-Insight ที่ประเทศอังกฤษ พบว่า การใช้เทคโนโลยีเสียงช่วยลดความตึงเครียดของสมองในการสั่งการ เพราะการใช้เสียงใช้พลังสมองน้อยกว่า เมื่อเทียบกับการสั่งการระบบอื่นๆ ทำให้รู้สึกว่าง่ายสะดวกสะบาย และทำให้สามารถทำหลายๆอย่างๆ ในเวลาเดียวกันได้

สิ่งที่ทำให้เทคโนโลยี เสียงมีเสน่ห์ดึงดูดเพราะเป็นเทคโนโลยีที่สร้าง emotional engagement ได้ดี เพราะสามารถเลียนแบบบุคลิกลักษณะ น้ำเสียงและการพูดของมนุษย์ ทำให้ผู้ใช้รู้สึกเหมือนคุยกับคนจริงๆ จากการศึกษาของ Kantar TNS และ JWT พบว่าผู้บริโภคได้รู้สึกว่า พูดคุยกับคนจริงๆ เมื่อใช้งาน Voice Assistant มากถึง 95% ในประเทศจีน 82% ในประเทศไทย และ 68% ในประเทศออสเตรเลีย และสิงค์โปร์

ความง่ายสะดวก และการสร้างให้เสมือนคนจริงๆ 

เป็นปัจจัยที่ทำให้เทคโนโลยี เสียงเป็นที่นิยม และเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคตที่น่าจับตามอง