การคืนกลับมาของ อุโบสถพัทธสีมา ณ เวฬุวันมหาวิหาร ในชมพูทวีป

การคืนกลับมาของ อุโบสถพัทธสีมา ณ เวฬุวันมหาวิหาร ในชมพูทวีป

Historic Nature of Veluvana “การคืนกลับมาของ ... อุโบสถพัทธสีมา ... ณ เวฬุวันมหาวิหาร ในชมพูทวีป !!!”

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา วิสาขบูชาปีนี้ อาตมาเดินทางไปประกอบศาสนกิจที่เวฬุวันมหาวิหาร แห่งพระนครราชคฤห์ แคว้นมคธในอดีต ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตาบลราชกีร์ นาลันทา นครปัตนะ รัฐพิหาร อินเดีย วิสาขบูชาในปีนี้ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๗ ด้วยเป็นปีอธิกมาส คือ เดือนที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติที่มี ๑๓ เดือน เดือนแปดสองหน เรียกว่า แปดสองแปด หมายถึง เมื่อหมดเดือนแปดแล้ว แทนที่จะนับต่อไปเป็นเดือนเก้า ก็ให้นับเดือนแปดซ้าอีกครั้ง เรียก แปดทั้งสองว่า เดือนแปดแรกและเดือนแปดหลัง เป็นการนับเดือนปีแบบไทยตามหลักการนับเดือนทางจันทรคติ

การไปประกอบศาสนกิจเนื่องในวิสาขบูชาที่เวฬุวันมหาวิหารหรือสวนป่าเวฬุวัน ที่กากับดูแลโดยหน่วยงานป่าไม้ของรัฐบาลอินเดียในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ควรบันทึกไว้นับแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๗ เศษๆ ที่พุทธศาสนาสูญหายไปจากชมพูทวีป โดยมีวาระพิเศษ ได้แก่ การกระท่าสังฆกรรมของคณะสงฆ์ธรรมยุต เพือสวดถอน ทักนิมิต และสวดสมมติสีมา ที่ภาษาชาววัดชอบพูดว่า งานผูกพัทธ์ตัดลูกนิมิต มีคณะสงฆ์รวม ๕๔ รูปเข้าร่วมพิธี โดย พระธรรมเมธาจารย์ รองประธานสานักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) วัดโสมนัสวรวิหาร (ธ) และ พระธรรมปาโมกข์ เจ้าอาวาสวัดราชผาติการาม (ธ) กรุงเทพฯ เป็นประธานและรองประธานในการนาคณะสงฆ์กระทาสังฆกรรมตามวินัยพุทธานุญาต เพื่อกาหนดขอบเขตลงบนพื้นที่ เพื่อจะได้ใช้เป็นที่ประชุมตกลงกันของหมู่ภิกษุที่เรียกว่า สังฆะหรือสงฆ์ โดยเรียกว่า สังฆกรรม และเรียกการตกลงกาหนดเขตดังกล่าวว่า ผูกสีมา หรือ พัทธสีมา (สีมา แปลว่า เขต) โดยทานิมิต (เครื่องหมาย) ไว้ในแต่ละทิศทั้ง ๔ ทิศ หรือ ๘ ทิศ ซึ่งทรงพุทธานุญาตให้ใช้วัตถุ ๘ ชนิดเป็นเครื่องหมาย ได้แก่ ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ และน้ำ โดยที่เวฬุวันฯ ใช้ศิลา (ก้อนหิน) ๘ ลูก รวมกับลูกประธานอีกหนึ่งลูก เป็น ๙ ลูก เป็นนิมิตกาหนดเขตบนพื้นที่ลานหินอ่อนพระโอวาทปาติโมกข์ที่อาตมาได้สร้างถวาย เพื่อประดิษฐานพระมหาธรรมเจติยโอวาทปาติโมกข์ ในใจกลางเวฬุวันมหาวิหาร

สาหรับลานหินอ่อนดังกล่าวได้ก่อสร้างไว้ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ ซึ่งเป็นปีที่อาตมาได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานรัฐบาลอินเดียที่รับผิดชอบพื้นที่เวฬุวันฯ ให้สามารถอยู่จำพรรษาได้ จึงได้นาพระภิกษุ ๔ รูปอธิษฐานอยู่จำพรรษารวม ๕ รูป เพื่อรับถวายผ้ากฐินประวัติศาสตร์ที่กลับคืนมาสู่เวฬุวันมหาวิหารอีกครั้ง และเมื่อคณะสงฆ์ถึงความพร้อมเพรียงจึงได้ดาเนินการทาพิธีสวดถอน ทักนิมิต และสวดสมมติสีมา เพื่อพระสงฆ์จะได้ใช้เป็นสถานที่กระทาสังฆกรรมตามวินัยพุทธานุญาต ที่จะต้องมีพัทธสีมา (ผูกเขต) ซึ่งแม้ว่าไม่ได้สร้างตัวอาคารขึ้นในเขต (สีมา) ที่ผูกหรือทานิมิตไว้ ก็ไม่ได้ผิดพุทธานุญาตที่ไม่มี อุโปสถัคคะ หรือ อุโบสถาคาร ที่เราเรียกกันทั่วไปว่า อุโบสถ หรือ โบสถ์ แบบไทยๆ ซึ่งหมายถึง สถานที่ประชุมของภิกษุตามพระธรรมวินัยทุกวันกลางเดือนและวันสิ้นเดือนที่มีขอบเขตและตัวอาคาร

ในพิธีการสวดสมมติสีมานั้นต้องมีการทักนิมิตในแต่ละทิศด้วยพระเถระ ๕ รูป เมื่อทักนิมิตเสร็จ พระสงฆ์ที่ประชุมอยู่ในเขตก็จะสวดเป็นการตกลงว่าได้กาหนดเอาเขตตามแนวนิมิตเหล่านี้เป็นสีมา คือเขตของสงฆ์ และเมื่อที่ประชุมสงฆ์ยอมรับก็จะสวดประกาศมติเป็นอันเสร็จสิ้นการสวดสมมติสีมา โดยได้ทาการสวดถอนด้วยพระภิกษุจ่านวน ๕๔ รูป ใช้การสวดทั้งสิ้น ๒๓ จบ ร่วมสองชั่วโมงเศษ ด้วยความพร้อมเพรียงของคณะสงฆ์ธรรมยุตที่เดินทางจากภาคต่างๆ ไปร่วมงานประวัติศาสตร์ ประกาศเขต สังฆกรรมหรือเขตสงฆ์ หรือยกเขตอุโบสถขึ้นในเวฬุวันมหาวิหารในครั้งนี้ เพื อการคืนกลับมาของเวฬุวันมหาวิหาร ซึ งเป็นวัดหรือมหาวิหารแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ที พระพุทธองค์ทรงเลือกประดิษฐานหยั งรากแก้วพระพุทธศาสนาลงบนแผ่นดินดังกล่าว เพื อเผยแผ่พระธรรมวินัยให้แผ่กว้างไปทั วชมพูทวีป ด้วยพระราชศรัทธาของพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ ที ได้น้อมถวายพระราชอุทยานเวฬุวันแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า สมัยก่อนเข้าสู่พรรษาที ๒ ของพระพุทธองค์ ด้วยภาษามคธ (บาลี) ว่า


“..อถโข ราชา มาคโธ เสนิโย พิมฺพิสาโร โสวณฺณมย่ ภิงฺคาร่ คเหตฺวา ภควโต โอโณเชสิ
เอตาห่ ภนฺเต เวฬุวน่ อุยฺยาน่ พุทฺธปฺปมุขสฺส ภิกฺขุสงฺฆสฺส ทมฺมิฯ”


แปลความว่า “ข้าพระพุทธเจ้า ขอถวายพระเวฬุวันนั้น แก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงรับอาราม คือ เวฬุวันราชอุทยาน พระพุทธเจ้าข้า”


...และ นี่คือ อมตวาจาของจอมกษัตริย์พิมพิสาร ที่ส่งเจตนาสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ให้ประชาสังคมพุทธจากทั่วโลก โดยเฉพาะชาวอินเดีย โดยรัฐบาลอินเดียได้ยอมรับตามหลัก Historic Nature ว่า สวนป่าเวฬุวันแห่งนี้ เป็นมหาวิหารแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธองค์ทรงกระทาปริสุทธิอุโบสถร่วมกับพระสงฆ์สาวก ๑,๒๕๐ รูปเป็นครั้งแรก เมื่อ ๑๕ ค่า เดือน ๓ ที่เรียกว่า วันมาฆบูชา ที่บัดนี้ กลับคืนมาเป็นเขตอุโบสถเพื่อสังฆกรรมของคณะสงฆ์อีกครั้ง ในวันวิสาขบูชา ๒๙ พ.ค. ๒๕๖๑ โดยคณะสงฆ์ไทย (ธรรมยุต)......