ผลกระทบสถาบันการเงินและSMEs จากการใช้มาตรฐานทางการเงินฉบับ 9

ผลกระทบสถาบันการเงินและSMEs จากการใช้มาตรฐานทางการเงินฉบับ 9

รายงานทางการเงินเป็นหัวใจสำคัญในการพิจารณาสินเชื่อของสถาบันการเงินทุกแห่งบทวิเคราะห์งบการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการ

จะสะท้อนความสามารถในการชำระหนี้คืนซึ่งเป็นสิ่งที่สถาบันการเงินต้องการมากที่สุด 

ในปี 2562 นอกจากเรื่องที่กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะควบคุมสถาบันการเงินทุกแห่งใช้งบการเงินที่ยื่นต่อกรมสรรพากรเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์สินเชื่อ เพื่อสนับสนุนเรื่อง SMEs บัญชีเดียว สภาวิชาชีพัญชีจะประกาศใช้มาตรฐานทางการเงิน ฉบับที่ 9 (TFRS 9) ในวันที่ 1 มกราคม 2562 ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อกิจการ SMEs คือการเข้าถึงแหล่งทุนที่ยากขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินจะเข้มงวดในการจัดกลุ่มลูกหนี้ ทำให้ต้องกลับไปพึ่งพาเงินกู้นอกระบบที่อัตราดอกเบี้ยสูงมาก

จากข้อมูลงบการเงินไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ของธนาคารไทยรวม 21 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ไทย 15 แห่ง และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ 6 แห่ง พบว่า มีสินเชื่อรวม 17,190,826 ล้านบาท มีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามบัญชีเป็นเงิน 943,090 ล้านบาท หากคำณวนหนี้สงสัยจะสูญของธนาคารไทยที่อาจเพิ่มขึ้น โดยอาศัยข้อมูลการสำรวจของต่างประเทศ(ระหว่างร้อยละ 15 ถึงร้อยละ 30) ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจะเพิ่มขึ้นประมาณ 141,464 ล้านบาท ถึง 282,927 ล้านบาท

ผลกระทบจากการประกาศใช้ TFRS 9 ต่อสถาบันการเงินที่สำคัญ คือต้องกันสำรองการด้อยค่าของสินทรัพย์เพิ่มขึ้น เช่น การสำรองหนี้สงสัยจะสูญ การตีราคามูลค่ายุติธรรมในเงินให้กู้ยืมหรือเงินลงทุน ที่มีผลต่องบกำไรขาดทุน ที่ส่งผลต่อกองทุนธนาคาร ทำให้การบริหารจัดการลำบากขึ้น โดยเฉพาะธนาคารที่มีความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศที่ต้องจัดการเรื่องการสำรองตามกฎของธนาคารโลก

กิจการที่ต้องใช้มาตรฐานฉบับนี้ แม้ไม่ใช่สถาบันการเงิน ก็มีผลกระทบเช่นกัน เพราะทุกกิจการมีลูกหนี้ มีเงินลงทุน มีการให้กู้ยืม ต้องบันทึกค่าใช้จ่ายด้อยค่า ทำให้สัดส่วนทุนลดลง D/E

สูงขึ้น ส่งผลกระทบต่องบการเงิน ต้องใช้ความรู้ทางการเงินทีซับซ้อนมากขึ้นในการจัดทำบัญชี มีการเปิดหมายเหตุที่มากขึ้น ต้องมีการจัดการฐานข้อมูลเพื่อนำมาทำสถิติในการประมาณการต่าง ๆ ตามมาตรฐานที่บัญชีกำหนด มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและเป็นภาระของผู้ประกอบการ

รายงานทางการเงินตามแนวทางปฎิบัติภายใต้กรอบ IFRS 9 และผลกระทบจาการการนำ TFRS 9 มาบังคับใช้ เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะเป็นการยกระดับมาตรฐานการรายงานทางการเงิน

ระหว่างประเทศ International Financial Reporting Standards ให้ได้มาตรฐาน มีความน่าเชื่อถือ และมีการใช้กว่า 140 ประเทศทั่วโลก คณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี (กกบ.) ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษามาตรการเพื่อลดผลกระทบจากการนำมาตรฐานการรายงานทางการเงิน-กลุ่มเครืองมือทางการเงินไปปฎิบัติ และมีการประชุมกันเมื่อ วันที่ 11 พ.ค.ที่ผ่านมา เห็นควรกำหนดแนวทางปฎิบัติ ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย และผ่อนคลายผลกระทบ ต่อสถาบันการเงินและธุรกิจ SMEs โดยจะพิจารณาเรื่องวันบังคับใช้ที่เหมาะสมในการประชุมครั้งถัดไป ก่อนเสนอให้ กกบ.พิจราณาชี้ขาด ทั้งนี้พบว่า ประเทศอินโดนีเซียได้ประกาศเลื่อนการบังคับใช้ IFRS 9 และมาตรฐานรายงานทางการเงินเรื่องรายได้จากสัญญาออกไปจากวันที่ 1 ม.ค.2562 เป็นวันที่ 1 ม.ค.2563

การประกาศบังคับใช้ในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศยังไม่ฟื้นชัด เป็นเรื่องที่อันตราย เพราะจะสงผลกระทบต่อระบบในวงกว้าง ก่อนประกาศใช้ต้องมั่นใจว่า ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความพร้อมแล้ว

ตอนต่อไปผมจะนำเสนอรายละเอียดที่จะส่งผลกระทบต่อกิจการ SMEs และกิจการ Start Up และแนวทางในการเตรียมตัว เพื่อเผชิญกับสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ...