สงครามการค้า แต่“จีน-อเมริกา”มีจุดยืนเดียวกันด้าน “การกุศล"

สงครามการค้า แต่“จีน-อเมริกา”มีจุดยืนเดียวกันด้าน “การกุศล"

สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านทุกท่าน เชื่อว่านาทีนี้ประเด็นร้อนที่น่าจับตาของโลกเรา หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้นเรื่องของ “สงครามการค้า” หรือTrade War

ระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศจีน ที่กำลังสู้กันด้วยมาตรการทางภาษี และกำลังทวีความร้อนแรงขึ้นทุกขณะ

แต่เดี๋ยวก่อนค่ะ ท่ามกลางสงครามการค้าที่ร้อนระอุ แต่ทั้งสองประเทศนั้นกลับมี “จุดร่วม” เดียวกัน (โดยที่ผู้นำทั้งสองประเทศอาจยังไม่รู้ตัวก็ได้) นั้นก็คือเรื่องของการสนับสนุนการกุศลหรือPhilanthropyและการประกอบกิจการเพื่อสังคมหรือSocial entrepreneurshipนั่นเองค่ะ

โดยในปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมาStanford Center on Philanthropy and Civil Societyแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา ได้จัดการประชุมในกรุงปักกิ่งร่วมกับมูลนิธิเลอผิง(Leping Foundation)ซึ่งเป็นกลุ่มที่ให้การสนับสนุนกิจการเพื่อสังคมและการศึกษาด้านการกุศลที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของจีน โดยมีผู้นำองค์กรการกุศลและกิจการเพื่อสังคมต่างๆ รวมถึงนักวิชาการเข้าร่วมประชุมกว่า 200 ราย โดยหลังการประชุมเป็นเวลา 2 วัน ได้มีการสรุปเทรนด์ต่างๆ ไว้ดังนี้

1.จำนวนเศรษฐีใหม่ๆ และกฏหมายการบริจาครูปแบบใหม่ กำลังพลิกโฉมรูปแบบการทำการกุศลในประเทศจีน ปัจจุบันมหาเศรษฐี เพิ่มจำนวนจาก 3 รายในปี 2004 เป็น 568 รายในปี 2016 และมีจำนวนผู้มีความมั่งคั่งสูงหรือSuper high net worth(ความมั่งคั่งมากกว่า50ล้านเหรียญสหรัฐ) คิดเป็นสัดส่วนถึง8%ของทั้งโลก ซึ่งเศรษฐีและมหาเศรษฐีหน้าใหม่เหล่านี้กำลังทำการกุศลในหลายรูปแบบเพื่อแก้ปัญหาสังคมต่างๆ ในจีน เช่น ปัญหาการศึกษาและปัญหาสังคมสูงวัย โดยกฏหมายการบริจาคแบบใหม่ที่เริ่มใช้ในปี 2016 ทำให้เศรษฐีเหล่านี้สามารถทำการกุศลได้ง่ายและวงกว้างมากขึ้น เช่น กลุ่มอาลีบาบา ของแจ็ค หม่า ได้บริจาคให้แก่โรงพยาบาลรัฐเป็นจำนวนมูลค่า 44 ล้านเหรียญสหรัฐนอกจากนี้กลุ่มคนรุ่นใหม่อายุระหว่าง 20-30 ที่เป็นทายาทเศรษฐียังเห็นความสำคัญของการคืนกลับสู่สังคม และกำลังก่อตั้งมูลนิธิของครอบครัว

2.ผู้ใจบุญทั้งในสหรัฐอเมริกาและในจีนต้องการให้อย่างอื่นมากกว่าแค่ เงิน ผู้บริจาคในทั้งสองประเทศต้องการอุทิศบางอย่างที่มากกว่าการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการอุทิศเวลา ทักษะความสามารถ และเครือข่ายคอนเน็คชั่นที่พวกเขามี เช่นกลุ่มSocial Venture Partnersซึ่งเป็นองค์กรที่เชื่อมโยงกลุ่มคนต่างๆ ที่สามารถใช้ความรู้ความสามารถเพื่อช่วยเหลืองานการกุศลหรือกิจการเพื่อสังคมต่างๆ ทั้งในสหรัฐอเมริกาและในจีน เทรนด์ของการให้ที่มากกว่าเงินกลายเป็นโอกาสที่ทำให้เรามีทรัพยากรต่างๆ ในการทำสิ่งที่ดีเพิ่มมากขึ้น

3.ผู้สนับสนุนเงินทุนต้องลงทุนในการสร้างความสามารถให้แก่ผู้นำองค์กรไม่แสวงกำไรและกิจการเพื่อสังคมด้วย มีสิ่งที่เหมือนกันระหว่างกลุ่มองค์กรไม่แสวงกำไรในสหรัฐอเมริกาและจีน ที่กำลังขาดแคลนทรัพยากรและบุคลากร โดยกำลังเผชิญความท้าทายที่บุคลากรขององค์กรไม่แสวงกำไรนั้นมักได้รับค่าจ้างที่ค่อนข้างต่ำทำให้ไม่สามารถจ้างพนักงานที่มีคุณภาพได้ อาทิเช่นในสหรัฐอเมริกา มีประมาณ20%ของเงินการสนับสนุนเงินทุนเท่านั้นที่เป็นแบบ “ไม่จำกัด” ซึ่งทำให้ผู้นำองค์กรการกุศลเหล่านั้นไม่สามารถลงทุนเพื่อสร้างความสามารถและทักษะด้านต่างๆ ที่จำเป็น อย่างการบริหารจัดการ การระดมเงินทุน และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ เป็นต้น เพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้จึงควรมีการ “ติดอาวุธ” ให้แก่บุคลากรด้วย

4.ประเทศจีนมีศักยภาพที่จะสร้าง กิจการเพื่อสังคมที่แข็งแรง ขณะที่กลุ่มองค์กรไม่แสวงหากำไนและกลุ่มธุรกิจในสหรัฐฯ นั้นมีความร่วมมือและประสานกันอย่างแข็งขัน แต่สำหรับจีนกลุ่มการกุศลนั้นยังนับว่าเพิ่งเริ่มต้นได้ไม่นาน และยังมีโอกาสที่จะเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจและสังคมเข้าด้วยกันอีกมาก ทำให้มีคลื่นการขยายตัวของกลุ่มกิจการเพื่อสังคมในจีนเพิ่มขึ้นอย่างมาก อาทิ กลุ่มFirst Respondที่ช่วยให้คนท้องถิ่นสามารถทำCPRหรือปั๊มหัวใจเพื่อช่วยชีวิตคนได้ เป็นต้น

5.การ รวมตัวกันเพื่อทำการกุศลในจีนก็เป็นเทรนด์ที่กำลังเติบโตเช่นกันไม่เหมือนในสหรัฐอเมริกาที่เศรษฐีส่วนใหญ่จะสร้างมูลนิธิส่วนบุคคลขึ้นมาโดยอาจเป็นชื่อตนเอง และเข้าควบคุมทุกอย่างในมูลนิธิ แต่ในประเทศจีนกลุ่มผู้สนับสนุนทางการเงินจะรวมตัวกัน เพื่อนำทรัพยากรมาใช้ร่วมกันสร้างสิ่งดีๆ ซึ่งวิธีนี้เองก็เป็นวิธีที่แม้แต่สหรัฐอเมริกาเองก็สามารถเรียนรู้และนำไปใช้ได้

 ท้ายที่สุดแล้ว การสร้างวัฒนธรรมความใจบุญสุนทานในจีนนั้นไม่ได้เป็นเส้นทางที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ หากแต่กิจกรรมการกุศลและองค์กรไม่แสวงกำไรต่างๆ ในจีนยังคงถูกตรวจสอบอย่างหนักโดยรัฐบาลจีน ซี่งแน่นอนว่าย่อมมีผลกระทบหากความคิดหรือไอเดียการกุศลใหม่ๆ ที่คิดขึ้นมานั้นไม่สอดคล้องกับแนวทางของรัฐบาล (เช่นด้านสิทธิมนุษยชน)

แต่อย่างน้อยความมุ่งมั่นและพลังที่กลุ่มคนจีนเริ่มรวมพลังกัน ก็กำลังทำให้มหาอำนาจอย่างจีนนั้นเริ่มเป็นผู้นำด้านการกุศลของโลกเรามากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกันค่ะ