ปลายทางงานปฏิรูปตำรวจ ตอน 1

ปลายทางงานปฏิรูปตำรวจ ตอน 1

หลังจากคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ) ที่มีพล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ เป็นประธาน ส่งบทสรุปในข้อเสนอที่ประกอบด้วย

ด้านบริหารงานบุคคล ด้านอำนาจหน้าที่ ภาระกิจของตำรวจ และด้านการบังคับใช้กฎหมายและการสอบสวนคดีอาญา ส่งถึงรัฐบาลไปเมื่อ 29 มี.ค.ที่ผ่านมา หลังใช้เวลาศึกษางานวิจัยและความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกว่า 9 เดือน

ข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจ จากเวิร์ล อีโคโนมิค ฟอรั่ม กับผลสำรวจความเห็นของประชาชนจาก 137 ประเทศทั่วโลกในด้านความเชื่อมั่นที่มีต่อตำรวจ โดยให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 91 ต่างจากประเทศฟินแลนด์ ที่อยู่ในอันดับ 1 ของโลก ขณะที่กลุ่มอาเซียน ก็มีบางประเทศที่ถูกจัดอันดับสูง เช่น สิงคโปร์ ที่มีความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อตำรวจ อยู่อันดับ 3 ปรระเทศญี่ปุ่น อันดับที่ 16

อันดับดัชนีนี้ สอดคล้องกับดัชนีความโปร่งใสนานาชาติ(Transparency Internationnal) เช่น ประเทศฟินแลนด์ ซึ่งมีอันดับความโปร่งใสในอันดับ 1 หรือ 2 มาตลอดหลายปี รวมถึง สิงคโปร์ และญี่ปุ่น สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศนั้นๆ กับการแก้ปัญหาทุจริต คอร์รัปชัน เป็นไปอย่างจริงจังเพียงใด ซึงจะส่งผลต่อความปลอดภันต่อชีวิต ทรัพย์สิน และความเชื่อมั่นที่ประชาชนมีต่อตำรวจด้วย

ญี่ปุ่น ที่มีประชากร 126 ล้านคน มากกว่าไทยที่มี 67 ล้านคน ถึง 2 เท่า ในขณะที่สัดส่วนการบรรจุอัตรากำลังตำรวจ มีความใกล้เคียงกัน แต่อาชญากรรมร้ายแรงที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นกลับน้อยกว่าไทย 5 เท่า

ประเด็นแรก ข้อสรุปให้งคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ(ก.ต.ช.) ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เป็นผู้แต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) แล้วมีข้อเสนอว่าให้คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ต.ร.) ที่มี ผบ.ตร.เป็นประธาน เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมมารับตำแหน่ง ผบ.ตร.แต่เนื่องจาก องค์ประกอบของ ก.ต.ร.ที่ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการตำรวจ

ระบบการบริหารจัดการองค์กรตำรวจไทย ถอดแบบมาจากตำรวจอังกฤษ ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 แบบรวมศูนย์อำนาจ ทั้งๆ ที่ อังกฤษได้ปฏิรูปองค์กรตำรวจให้กระจายอำนาจไปกว่า 100 ปี เพราะมองว่า การรวมศูนย์อำนาจ ไม่เกิดประโยชน์ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในระดับพื้นที่ได้อีกต่อไป เนื่องจาก ตำรวจจะฟังเสียงแต่ผู้บังคับบัญชาที่อยู่ศูนย์กลางอำนาจ โดยไม่ฟังเสียงประชาชนในพื้นที่ ไม่ว่าการก่อคดีอาชญากรรมจะมากน้อยเพียงใดก็ตาม

ฉะนั้น ประเทศพัมนาแล้ว เช่น อังกฤษ สหรัฐ ออสเตรเลีย แคนนาดา เยอรมัน ประเทศเหล่านี้จะใช้ระบบกระจายอำนาจ ขณะที่ ญี่ปุ่นใช้แบบผสมผสาน ซึ่งจะมีคณะกรรมการรักษาความปลอดภัยระดับชาติ ระดับจังหวัด ทั้ง 2 หน่วยงานถูกออกแบบมาเพื่อให้มีตัวแทนจากภาคประชาชน ซึ่งตามที่คณะกรรมการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ) เสนอให้นายกฯ สามารถยับยั้งรายชื่อที่ ก.ต.ร. เสนอมาได้ 1 ครั้งเท่านั้น

มันจึงเกิดคำถามว่า การเสนอรายชื่อ ผบ.ตร.คนต่อไป มีความยืดโยงประชาชนอย่างไร และ แน่ใจได้อย่างไรว่า นายกฯและนักการเมือง จะไม่สามารถเข้ามาแทรกแซงการแต่งตั้ง ผบ.ตร.ได้ ในเมื่อพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ ปี 2547 ยังให้อำนาจนายกรัฐมนตรี ในการแต่งตั้งและถอดถอน

ประเด็นที่ 2 ในด้านคณะกรรมการร้องทุกข์ตำรวจ หรือ ก.รท. เพื่อรับเรื่องร้องทุกข์จากตำรวจที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างไม่เป้นธรรม ควบคู่กับกับการตั้งคณะกรรมการอิสระพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ หรือ กอ.ตร. ที่มีอำนาจพิจารณาข้อเท็จจริงตามที่ประชาชนร้องเรียนการกระทำผิดของตำรวจ

การรวมศูนย์อำนาจ ทำให้เกิดการโยกย้ายที่อาจสสร้างความเป้นธรรม จึงจำเป็นต้องมี ก.รท. แต่คำถามคือ องค์ประกอบของคณะกรรมการ ก.รท.ที่ถูกเสนอให้เป็นบุคคลที่ไม่ใช่ตำรวจแล้ว กรรมการทั้งหลายจะเข้าใจถึงเหตุผลต่างๆ ในการแต่งตั้งโยกย้ายดีเพียงใด อีกทั้งในเมื่อ การบริหารยังคงเป็นการรวมศูนย์ ไม่ได้กระจายอำนาจให้แต่ละภาคแต่งตั้งกันเอง มันจึงวนกลับมาให้เกิดการร้องทุกข์และสุดท้าย ก.รท.กลายเป็นเกาไม่ถูกที่คันมากกว่า

ส่วน กอ.ตร. มีรูปแบบคล้ายกับคณะกรรมอิสระฯ ในอังกฤษ แต่เขามีตัวแทนจากภาคประชาชนจริงๆ แต่ข้อเสนอในครั้งนี้ มาจากการศึกษาเฉพาะในประเทศไทยเอง ที่มีข้าราชการตำรวจร่วมอยู่ในคณะด้วย ทำให้เกิดคำถามถึงความมีอิสระ และจะทำอย่างไรให้การพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากประชาชนมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง แล้ว จะป้องกันการกลั่นแกล้งตำรวจที่ดีจากการร้องเรียนได้อย่างไร และสุดท้ายคำตัดสินของคณะกรรมการจะถือเป็นที่สุด หรือต้องส่งเป็นความเห็นให้หน่วยงานใดเป็นผู้พิจารณาอีกหรือไม่

หลายเรื่องที่ร้องเรียนผ่าน ป.ป.ช. หรือผู้ตรวจการรัฐสภา กลายเป็นเสือกระดาษที่ไม่สามารถตอบสนองงานให้มีประสิทธิภาพได้ พ.ต.ท.กฤษพงศ์

ส่วนประเด็นที่ 3 เรื่องการกระจายอำนาจ ไปสู่ระดับภาค มีอำนาจแต่งตั้งโยกย้ายและสามารถจัดสรรงบประมาณได้เอง โดยมีคณะกรรมตำรวจระดับภาค ที่มีประชาชนเป็นองค์ประกอบร่วมด้วย ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1 คณะกรรมการสรรหา 2.คณะกรรมการตามสาขาอาชีพ โดยนำตัวแทนจากอาชีพต่างๆ มาคัดเลือกอีกชั้น อาจจะด้วยหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น การแสดงวิสัยทัศน์ หรือการกำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติ เพื่อเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการตำรวจระดับภาค มาทำหน้าที่การให้ความเห็น ติดตามการทำงานของตำรวจระดับภาค รวมถึงการแต่งตั้งโยกย้าย

จากการรวมศูนย์อำนาจ ทำให้การโยกย้าย สร้างความกังวลให้กับข้าราชการตำรวจจนกลายเป็นสำคัญที่ทุกคนต้องใส่ใจ ต่างกับองค์กรตำรวจที่กระจายอำนาจไปสู่ระดับภาค ทำให้การทำงานมีขวัญและกำลังใจ ทุ่มเทให้กับงาน เนื่องจากจะมีโอกาสน้อยมากที่ตำรวจ เชียงใหม่ จะถูกโยกย้ายไปอยู่ภาคใต้สุดด้ามขวาน รวมถึงการอำนาจให้คณะกรรมตำรวจระดับภาค จะเพิ่มช่องทางให้กับประชาชนได้เข้าถึงการบริหารจัดการตำรวจแบบมีส่วนร่วมได้ดียิ่งขึ้น

สิ่งสำคัญของการกระจายอำนาจ คือ รูปแบบคณะกรรมการที่ให้ประชาชนมีสิทธิ์ที่จะส่งเสียงสะท้อนถึงการทำงานของตำรวจทั้งในระดับภาคและระดับชาติ

แน่นอนว่า ผบ.ตร. ควรมีอำนาจแต่งตั้งโยกย้ายผู้บัญชาการภาค แต่เป็นความเห็นชอบของคณะกรรมการระดับภาค ที่มีตัวแทนภาคประชาชนร่วมอยู่ และในทางกลับกันผู้บัญชาการภาค จะเสนอชื่อผู้บัญชาการภาคคนต่อไป อาจเสนอจะกี่รายชื่อก็ตาม โดยผ่านกระบวนการคัดเลือกที่มีหลักเกณฑ์เพื่อให้ ผบ.ตร.เป็นผู้ตัดสินใจ จึงจะเกิดการคานอำนาจระหว่างกัน รวมถึงการติดตามผลงานหลังได้รับตำแหน่งด้วย

ติดตามตอน 2(จบ)​

 

โดย... 

ผศ.พ.ต.ท.ดร กฤษณพงค์ พูตระกูล

อดีตอนุกรรมาธิการปฏิรูปกิจการตำรวจ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)

อดีตที่ปรึกษาองค์การสหประชาชาติว่าด้วยอาชญากรรมและยาเสพติด และ UNAIDS