ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน

ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน

ตามที่รัฐบาลได้ตอบรับคำขอการมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ของคณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนกับบรรษัทข้ามชาติและองค์กรธุรกิจอื่น ๆ ของUN (WG o

ระหว่างวันที่ 26 มี.ค.ถึง 4 เม.ย. 2561 โดยมีประเด็นท้าทายที่สำคัญของไทย อาทิ สิทธิแรงงาน ผลกระทบกับชุมชนในพื้นที่ที่มีการพัฒนาโครงการลงทุนขนาดใหญ่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นต้น

WG on BHR เป็นหนึ่งในกลไกภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาติ (Human Rights Council - HRC) จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนมิ.ย.2554 มีอาณัติหลักในการส่งเสริมการอนุวัติการตามหลักการชี้แนะเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights - UNGP) ของประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ ผ่านการเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีส่งเสริมการหารือเพื่อพลักดันความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม

รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับประเด็นธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวปาฐกถาและเป็นสักขีพยานในการลงนามปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในการขับเคลื่อน UNGP ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 30 พ.ค.2560 รวมทั้งกระทรวงยุติธรรมอยู่ระหว่างการจัดทำแผนปฎิบัติการระดับชาติว่าด้วย ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (National Action Plan on Business and Human rights - NAP) เพื่อขับเคลื่อน UNGP ในไทย โดยคาดว่าร่างแรกจะแล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2561 ซึ่งไทยจึงเป็นหนึ่งในประเทศที่ก้าวหน้าในประเด็นนี้ในอาเซียน

ประเด็นท้าทาย ไก้แก่ สิทธิแรงงาน การเสริมสร้างความตระหนักรู้เรื่อง UNGP ในกลุ่ม SMEs และรัฐวิสาหกิจ ผลกระทบและการหารือกับชุมชนในพื้นที่ที่มีการพัฒนาโครงการลงทุนขนาดใหญ่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ รวมถึง EEC การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ความร่วมมือระหว่างประเทศในการบังคับใช้กฎหมาย การคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนในการให้สินเชื่อเพื่อการส่งออก ผลกระทบของความตกลงด้านลงทุนระหว่างประเทศที่อาจสร้างข้อจำกัดต่อภาครัฐและเป็นอุปสรรคต่อชุมชน และการเข้าถึงการเยียวยา

การมาเยือนของคณะฯ ซึ่งมีองค์ประกอบ Mr.Surya Deva (นายเซอยา เดวา ชาวอินเดีย) Mr.Dante Pesce(นายดันเต เปเซ ชาวชิลี) โดยแบ่งเป็นการพบหารือกับหน่วยงานภาครัฐ ฝ่ายบริหาร และตุลาการ และภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่กรุงเทพฯ 3 วัน การพบหารือกับหน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ใน 4 จังหวัด ได้แก่ สงขลา เชียงใหม่ ขอนแก่น และสมุทรสาคร ภายหลังการเยือน WG on BHR จะแจ้งให้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาติ HRC สมัยที่ 38 ในเดือน มิ.ย.2561 ทราบเกี่ยวกับการเยือน รายงานการมาเยือนฉบับสมบูรณ์ จะถูกนำเสนอต่อ HRC ในเดือนมิถุนายน 2562 โดยฝ่ายไทยสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงและแจ้งข้อคิดเห็นก่อนเผยแพร่ได้(ข้อมูล:กองการสังคม กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 14 มีนาคม 2561)

ประเด็นที่อาจถูกหยิกยกเพิ่มเติมในแต่ละจังหวัด ได้แก่ จ.สงขลา สิทธิชุมชน สิทธิในที่ดิน การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจ ผลกระทบจากการดำเนินการโครงการขนาดใหญ่ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มที่อยู่ในสถานการณ์เปราะปาง อาทิ กลุ่มชาติพันธุ์ สิทธิชุมชน สิทธิในที่ดิน การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจ จังหวัดขอนแก่น สิทธิชุมชน สิทธิในที่ดินและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน จังหวัดสมุทรสาคร แรงงาน การค้ามนุษย์ และการทำประมงผิดกฎหมาย การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจ

ประเด็นธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในภาพรวม หลักการพื้นฐานของ UNGP ประกอบด้วย (1) ปกป้อง รัฐมีหน้าที่ในการปกป้องบุคคลไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิไม่ว่าจะโดยรัฐหรือบุคคล องค์กรที่ไม่ใช่รัฐ ซึ่งรัฐมีหน้าที่ต้องดำเนินการเพื่อให้มีการป้องกัน ลงโทษและเยียวยา ในการณีที่เกิดการละเมิดโดยนโยบายหรือมาตรการ เช่น การอำนวยความยุติธรรม 

(2) เคารพ หลักการบริษัทเอกชนเคารพสิทธิมนุษยชนโดยการปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศที่มีไว้เพื่อปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของคนในประเทศ 

(3) เยียวยา ผู้เสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคธุรกิจควรสามารถเข้าถึงการเยียวยา โดยรัฐมีหน้าที่ในการสืบสวน สอบสวน ลงโทษ และแก้ไขสถานการณ์ซึ่งสามารถทำได้ผ่านกระบวนการยุติธรรม หรือช่องทางอื่นของรัฐหรือช่วงทางไม่เป็นทางการที่รัฐจัดให้ โดยบริษัทเอกชนมีความรับผิดชอบในระดับบริษัทในการจัดให้มีกระบวนการปรึกษาหารือ ให้ข้อมูล แจ้งเตือนถึงผลกระทบที่อาจมีต่อบุคคลหรือชุมชนที่เกี่ยวข้อง

การปฎิบัติตามUNGP ถือเป็นการส่งเสริมให้มีการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างครอบคลุม และสอดคล้องตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆ ที่รัฐเป็นภาคี อย่างไรก็ดี พัฒนาการของการหารือและการตีความประเด็นธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในเวทีระหว่างประเทศและประเทศต่างๆ ในบริบทที่ต่างกัน ส่งผลให้มีการพัฒนากฎหมายและนโยบายภายในประเทศที่มีความเกี่ยวข้องระหว่งธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน และประเด็นเชื่อมโยงกับแนวคิดอื่นๆ กันด้วย ไม่ว่าจะเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ(Corporate Social Responsibility-CSR) ธุรกิจแบบยั่งยืน(sustainable business) ธุรกิจเพื่อสังคม(social enterprise) รวมถึงการมีส่วนร่วมในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDGs)

 โดย... 

รศ.กรกฎ ทองขะโชค

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ