สังคมไทย กับ พ.ร.บ.นมผง

สังคมไทย กับ พ.ร.บ.นมผง

ด้วยความเชื่อมั่นถึงคุณค่าและผ่านบทพิสูจน์แล้วว่า นมแม่มีพลังมากพอทำให้ลูกน้อยแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย แม้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างปัจจุบัน

 เมื่อเทียบกับลูกของเพื่อนวัยเดียวกันที่ถูกเลี้ยงด้วยนมผงผสมนมแม่ ถึงจะดูอ้วนท้วนสมบูรณ์ แต่กลับเป็นหวัดถ้วนหน้า และปัจจุบันความก้าวหน้าในการออก ...ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ..2560 ก็ปรากฏให้เห็นออกมาเป็นระยะ 

สาระสำคัญของ ...ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ..2560 มีทั้งสิ้น 8 ประเด็น ประกอบด้วย 1.ห้ามโฆษณาอาหารสำหรับทารกและอาหารเสริมทารกผ่านสื่อต่างๆ 2.ห้ามใช้ข้อความเกี่ยวกับทารกหรือเด็กเล็ก หรือสื่อเชื่อมโยงไปถึงทารกในการโฆษณาอาหารเด็กเล็ก 3.การให้ข้อมูลในผลิตภัณฑ์ต้องเป็นจริงตามข้อมูลในฉลาก 4.ห้ามแจกของขวัญ นมผงตัวอย่าง คูปองหรือขายพ่วง แก่หญิงตั้งครรภ์ แม่ และครอบครัวที่มีทารกและเด็กเล็ก

5.ห้ามติดต่อหญิงตั้งครรภ์ แม่ และครอบครัวที่มีทารกและเด็กเล็กผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม 6.ห้ามให้ของขวัญแก่บุคลากรสาธารณสุข และห้ามให้ของใช้ อุปกรณ์ต่างๆ ที่มีตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์แก่หน่วยบริการ 7.ห้ามบริษัทจัดกิจกรรม อีเวนท์การประชุม 8.ห้ามบริษัทสาธิตการใช้ผลิตภัณฑ์ในสถานที่ต่างๆ

...ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ..2560 มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย.2560 โดยมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ.2553 เรื่อง “การควบคุมกลยุทธ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก” แต่การปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ฉบับใหม่ ยังต้องอาศัยประกาศกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 10 ฉบับ ออกมาภายใน 180 วัน หรือเดือน มี.ค.2561

ขณะที่กรมอนามัยในฐานะหน่วยงานหลัก ได้ยกร่างและเปิดรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อปรับปรุงร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข พร้อมจัด "เวทีรับฟังความเห็นต่อ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขออกตาม ...ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ..2560" เมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยมีบุคลากรสาธารณสุข ภาคประชาชน นักวิชาการ ผู้ผลิตนมผงและอาหารเสริมสำหรับเด็กเล็ก เข้าร่วมกว่า 300 คน

สิ่งที่ผู้เข้าร่วมประชุมที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแสดงความเห็นคือ พ.ร.บ.นมผง ไม่ได้ห้ามผู้ประกอบการขายนมผงหรืออาหารเสริมสำหรับทารกและเด็ก ยังขายได้เหมือนเดิม แต่ห้ามการโฆษณาที่รุกมากจนมองข้ามนมแม่ 

ขณะที่ สมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ มีความกังวลใน 3 ประเด็น ประเด็นแรกคือ การจำกัดการให้ข้อมูล ไม่ควรถูกจำกัดสิทธิการรับข้อมูลข่าวสารได้แค่ ณ จุดจำหน่ายเท่านั้น ควรเปิดให้ข้อมูลในช่องทางอื่นๆ ด้วย เช่น ในเว็บไซต์ของบริษัทผู้ผลิตและจำหน่าย โดยที่ คณะกรรมการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก (คสตท.) กำกับตรวจสอบการให้ข้อมูลว่าผิดหลักวิชาการหรือไม่

ประเด็นที่สอง การบริจาคนมผงหรืออาหารเสริมเด็กเล็กของผู้ประกอบการให้แก่หน่วยบริการสาธารณสุข จะทำได้เฉพาะหน่วยบริการที่มีเด็กป่วยเป็นโรคพันธุกรรมเมตาบอลิก และไม่มีความสามารถซื้อนมผงหรืออาหารเสริม ซึ่งอาจประสบปัญหาเมื่อเด็กกลับไปอยู่ที่บ้าน และควรขยายนิยามเพิ่มเติม เนื่องจากยังมีโรคอื่นๆ อีกที่นมแม่ไม่สามารถใช้เลี้ยงทารกและเด็กเล็ก อาทิ โรคตับ โรคลำไส้สั้น โรคลำไส้ฝ่อ การดูดซึมบกพร่อง ท้องเสียรุนแรง

ประเด็นที่สาม ควรเปิดทางให้สมาคมวิชาชีพซึ่งเป็นองค์กรที่ถูกกฎหมาย ไม่หวังผลกำไร และมีพันธกิจพัฒนาความรู้ทางวิชาการ สามารถจัดประชุมวิชาการ โดยขอการสนับสนุนได้

ขณะที่สมาคมผู้ผลิตอาหารทารกและเด็กเล็ก มองในฐานะผู้ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่า เรื่องการให้ของขวัญตามประเพณี ถ้าเป็นสิ่งของที่มีชื่อ ตรา หรือสัญลักษณ์ของบริษัท ก็ควรอนุญาตให้ทำได้ หากไม่เหมือนกับชื่อแบรนด์หรือสัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะสอดคล้องกับ หลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารทดแทนนมแม่ ขององค์การอนามัยโลก ที่ออกมาเมื่อปี 2524 หรือ WHO Code 1981

ในส่วนการแจกสิ่งของหรืออุปกรณ์ประกอบการประชุม หากดำเนินโดยองค์กรวิชาชีพด้านสาธารณสุข หรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับสุขภาพแม่และเด็ก ควรเปิดให้สนับสนุนเงินหรืออุปกรณ์ได้ตามความเหมาะสมและจําเป็น

การแก้ปัญหากลยุทธ์ทางการตลาดและโฆษณาเกินจริงของผู้ประกอบการนมผงที่มีมาอย่างยาวนาน จะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของ มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข และ ...ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ..2560 หรือไม่นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน สานพลังความรู้ เพื่อสร้างสังคมสุขภาวะร่วมกัน

 โดย... กลุ่มงานสื่อสารสังคม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ