การค้าชายแดนไทย โอกาสของ SMEs ไทย

การค้าชายแดนไทย โอกาสของ SMEs ไทย

การค้าชายแดนไทยกับประเทศใน CLMV ผ่านช่องทางการค้าชายแดนและผ่านแดน ที่มีมูลค่าถึง 1.6 ล้านล้านบาทในปี 2560 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 จากปี 2559

โดยในปี 2561 คาดว่ามูลค่าการค้าชายแดนอาจเติบโตถึงร้อยละ 14  ปัจจัยที่ขับเคลื่อนมาจากความต้องการสินค้าไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในกลุ่มภูมิภาคอาเชี่ยนยังคงมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น 

โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) คาดการณ์ว่าในปี 2561 อัตราการเจริญเติบทางเศรษฐกิจประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญของประเทศไทย เช่น เมียนมา จะเพิ่มจากร้อย 7.7 ในปี 2560 เป็น 8 กัมพูชา อัตราการเจริญเติบยังอยู่ที่ร้อยละ 7.1 สปป.ลาว จะเติบเติบโตจากร้อยละ 6.9 เป็น 7 มาเลเชียยังเติบโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 5.4 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าวขยายตัวสวนทางกับตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย เช่น จีน สหรัฐและยุโรป ทำให้กำลังซื้อจากกลุ่มประเทศดังกล่าวเพิ่มขึ้นสูงตามไปด้วยโดยตัวเลขข้อมูลการค้าที่แท้จริงจะมีมูลค่าสูงกว่านี้มาก เนื่องจากยังมีการค้าชายแดนอีกไม่น้อยที่ไม่ได้บันทึกรายการผ่านระบบที่มีการสำรวจข้อมูลดังกล่าว

ประเทศที่คาดว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุดร้อยละ 8 ที่มีประชากรกว่า 60 ล้านคน คือประเทศเมียนม่า ที่ค้าขายผ่านชายแดนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นทำเลการค้าชายแดนที่มีศักยภาพอย่างยิ่ง เนื่องจากเส้นทางแม่สอด-เมียวดี เป็นเส้นทางที่เข้าถึงเมืองย่างกุ้ง ได้ใกล้ที่สุด และในอนาคตจะสามารถเชื่อมต่อไปยังบังกลาเทศ ปากีสถาน อินเดีย อิหร่าน ตุรกี เข้าสู่ยุโรป สินค้าจากประเทศไทยได้รับความนิยมมาก นอกจากความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภค เมียนมายังต้องการสินค้าประเภทอุปกรณ์และวัสดุก่อสร้างอีกมาก เนื่องจากประเทศอยู่ระหว่างการเติบโต มีการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานมากมาย เช่น ถนน อาคารบิานเรือน ฯลฯ

กัมพูชาเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง ธุรกิจที่น่าสนใจ ได้แก่ โลจิสติกส์ คลังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้า เพื่อรองรับการขนถ่ายและกระจายสินค้าที่มีแนวโน้มเพืลิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว การบริโภคภายในประเทศกัมพูชามีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย้่งต่อเนื่อง เนื่องจากประชากรมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น กลุ่มสินค้าที่น่าสนใจ ได้แก่ อาหารสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว นม เครื่องแต่งกายและครีมบำรุงผิว ฯลฯ

ปัจจุบันโลจิสติกส์ชายแดนของไทย (Cross-border Logistic) ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ ได้แก่ เมียนมา กัมพูชา ลาว และมาเลเซีย มีจุดผ่านแดนถาวร เชื่อมโยง ผ่านจังหวัดทั่วประเทศ 21 จังหวัด โดยเฉพาะมาเลเซีย มีพรมแดนติดต่อกันระยะทาง 647 กิโลเมตร เป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยในกลุ่มอาเชี่ยน มีจุดผ่านแดนถาวร ถึง 8 จุด ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ สงขลา ยะลา สตูล และนราธิวาส จุดผ่านแดนทุกแห่งเป็นช่องทางสำคัญที่ทำให้ภาพรวมการค้าชายแดนไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นช่องทางที่ท่านผู้ประกอบการ SMEs เริ่มต้นส่งออกสินค้าที่มีความเสี่ยงน้อย แต่การเปลี่ยนแปลงในเรื่องกฎระเบียบทางการค้าต่าง ๆ เป็นสิ่งจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด จะต้องศึกษาความต้องการ วัฒนธรรม และสังคมของประเทศคู่ค้า หาพันธมิตรเครือข่ายที่เชื่อถือได้

กรมการค้าระหว่างประเทศ ได้จัดทำโครงการพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการรายเล็กของไทย (YEN-D) โดยเริ่มต้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2015 ให้ความรู้ด้านการลงทุนในตลาดภูมิภาค เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการไทยที่สนใจค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้เข้าใจถึงวัฒนธรรมและกฎระเบียบอย่างลึกซึ้ง มีการอบรมไปแล้ว 14 รุ่น มีจำนวนนักธุรกิจในเครือข่าย 860 คน และมีแผนที่จะจัด YEN-D Frontier ตามแนวตะเข็บชายแดนและประเทศเพื่อนบ้าน รวม 4 ครั้ง ได้แกสระแก้ว กาญจนบุรี สงขลาและหนองคาย และจะจัดกิจกรรมพิเศษ YEN-D Reunion เพื่อให้นักธุรกิจได้ขยายเครือข่ายธุรกิจระหว่างกันด้วย

เดือน ม.ค.ที่ผ่านมามูลค่าการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนมีมูลค่ารวม 115,184.99 ล้านบาท เพิ่มจากเดือน ม.ค.2560 ที่มีมูลค่า 88,970.79 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.46 เป็นตัวเลขที่น่าสนใจ สำหรับท่านผู้ประกอบการอย่างยิ่ง การทำมาหากินกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีประชากร 600 ล้านคน 

เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มาก ต้องไม่พลาดนะครับ..