พรป.วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ :ส่วนที่เกี่ยวกับประชาชน

พรป.วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ :ส่วนที่เกี่ยวกับประชาชน

รัฐธรรมนูญ(รธน.)ปี 2540 บัญญัติให้วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนด โดยศาลรัฐธรรมนูญ

ได้ออกเป็นข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ..2541 ออกใช้บังคับ และมีการแก้ไขปรับปรุงอีกหลายครั้ง เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 บัญญัติให้วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีบทเฉพาะกาลบัญญัติว่า ระหว่างที่ยังมิได้มีการตรา พ...ว่าด้วยวิธิพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยได้ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้ออกข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ.2550 ออกใช้บังคับ 

เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ก็ได้บัญญัติว่าในส่วนวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ นอกจากที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ โดยมีบทเฉพาะกาล ระหว่างที่ยังไม่มี พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธิพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับอยู่ก่อน ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญก็ได้ออกข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย (ฉบับที่2) พ.ศ.2560 แก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดเดิมให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญปี 2560

บัดนี้มีการตรา พ...ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ..2561 แล้วมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 มี..2561 เป็นต้นไป

สาระสำคัญของ พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 ส่วนที่เกี่ยวกับประชาชนโดยตรง ดังนี้คือ

1.สืบเนื่องจาก บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 51 บัญญัติว่า การใดที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้เป็นหน้าที่รัฐตามหมวดนี้ ถ้าการนั้นเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยตรง ย่อมเป็นสิทธิของประชาชนและชุมชนที่จะติดตามเร่งรัดให้รัฐดำเนินการ รวมตลอดทั้งฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดให้ประชาชนหรือชุมชนได้รับประโยชน์นั้นได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ

คดีที่บุคคลหรือชุมชนจะฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าว อยู่ในอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา7 (4) โดยในมาตรา 45 บัญญัติให้บุคคลหรือชุมชน ซึ่งได้รับความเสียหายจากการไม่ปฏิบัติหน้าที่ของรัฐ หรือปฏิบัติหน้าที่ไม่ครบถ้วนหรือล่าช้า มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคดีได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ ใน(1) (2) และ(3)  

โดยสรุปคือ บุคคลหรือชุมชนที่ได้รับความเสียหาย ได้ร้องขอให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามหน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญ ถ้าหน่วยงานของรัฐไม่ดำเนินการภายใน 30 วัน ให้ยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดินแจ้งปัญหาให้คณะรัฐมนตรีทราบเรื่อง ให้คณะรัฐมนตรีสั่งการ และแจ้งให้บุคคลหรือชุมชนทราบ ถ้าบุคคลหรือชุมชน เห็นว่าการสั่งการของคณะรัฐมนตรียังไม่มีการปฏิบัติ อาจยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ภายใน 30วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง ศาลรัฐธรรมนูญต้องวินิจฉัยคดีให้เสร็จภายใน 1 ปี

2.สืบเนื่องจาก บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 213 บัญญัติว่า บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้มีสิทธิยื่นยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อมีคำวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 กำหนดให้บุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพจากการกระทำของหน่วยงานของรัฐ เจ้าเหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานที่ใช้อำนาจรัฐ รวมทั้งกรณีที่เห็นว่า การละเมิดสิทธิหรือเสรี ภาพนั้นเป็นผลมาจากบทบัญญัติของกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มีสิทธิ ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัย ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด ในมาตรา 46 มาตรา 47 และมาตรา 48

ซึ่งสรุปได้ดังนี้คือ บุคคลที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย จากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพจาก การกระทำของหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานที่ใช้อำนาจรัฐ หรือเห็นว่าการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพนั้นเป็นผลจากบทบัญญัติของกฏหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มีสิทธิยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาและวินิจฉัย ว่าการกระทำ(หรือบทบัญญัติแห่งกฎหมาย)นั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 

โดยจะต้องยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเสียก่อนภายใน 90 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ว่าถูกละเมิด และผู้ตรวจการแผ่นดินต้องพิจารณายื่นคำร้องต่อศาลภายใน 60 วัน นับแต่ได้รับคำร้อง เมื่อพ้นกำหนดเวลา 60 วันแล้ว ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ยื่นคำร้อง ผู้ถูกละเมิดสิทธิมีสิทธิยื่นต่อศาลโดยตรงได้ ทั้งนี้ในกรณีให้พิจารณาว่าการกระทำขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญต้องยื่นคำร้องต่อศาลภายใน 90 วัน ในกรณีให้พิจารณาบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดเงื่อนเวลาไว้

3 การละเมิดอำนาจศาล วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญตามข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ก่อนหน้านี้ ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการละเมิดอำนาจศาล จึงไม่อาจดำเนินการใดๆ กับผู้ที่กระทำการเข้าลักษณะเป็นการละเมิดอำนาจศาล เว้นแต่จะเข้าองค์ประกอบเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ก็ร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี แต่ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 ได้บัญญัติการกระทำที่เป็นการละเมิดอำนาจศาลไว้ตามมาตรา38 และมีโทษ ตามที่บัญญัติไวในมาตรา 39 โทษที่หนักที่สุด คือ จำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ข้อที่ควรทราบ คือ บุคคลสามารถวิจารณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยคดีได้ ถ้าได้กระทำโดยสุจริต และมิได้ใช้ถ้อยคำหรือมีความหมายหยาบคาย เสียดสี หรืออาฆาตมาดร้าย ไม่มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล