คิดอะไรไม่ออก...ตั้งคณะกรรมการ(จบ) เปรียบเทียบ สปสช.กับ สปส.

คิดอะไรไม่ออก...ตั้งคณะกรรมการ(จบ) เปรียบเทียบ สปสช.กับ สปส.

นั่งอ่าน พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กับ พระราชบัญญัติประกันสังคม (สปส.) แล้วรู้สึกแปลกๆกับองค์ประกอบ

ของคณะกรรมการของทั้งสององค์กรที่ว่าแปลก ก็เพราะทั้ง 2 องค์กรเกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพของประเทศชาติ แต่ตัวแทนของภาคส่วนที่มาทำหน้าที่ในคณะกรรมการชุดใหญ่หรือบอร์ดใหญ่ ต่างกันอย่างมาก

มาตรา 13 ของพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คณะกรรมการประกอบด้วย

1. รมต.สาธารณสุข มี 1 คน เป็นประธาน 

2. ปลัดกระทรวง 7 กระทรวง (รวม กระทรวงสาธารณสุข) และ ผอ.สำนักงบประมาณ รวม 8 คน 

3. ผู้แทนองค์กรเอกชน 5 คน 

4. ผู้แทนผู้ประกอบอาชีพสาธารณสุขห้าสาขา 5 คน 

5. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง 7 คน 

6. ผู้แทนเทศบาล อบต. อบจ. อปท. 4 คน รวมทั้งคณะ 30 คน

ขณะที่ พรบ.ประกันสังคม (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมปี 2558) กำหนดว่า มาตรา 8 คณะกรรมการประกอบด้วย 

1. ปลัด กระทรวงแรงงาน 1 คน เป็นประธาน 

2. ผู้แทน กระทรวงสี่กระทรวง รวมผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ รวม 5 คน 

3. ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง 7 คน 

4. ผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน (ลูกจ้าง) 7 คน

รวมทั้งคณะ 20 คน

ที่น่าสังเกตคือคณะกรรมการตาม พ...หลักประกันสุขภาพฯ ไม่มีผู้แทนผู้ให้บริการ ที่เป็นคู่สัญญา แม้แต่คนเดียว แต่ผู้แทนตามข้อ 3, 4, 5, 6 ซึ่งน่าจะเป็นแนวร่วมเดียวกันในฝ่ายผู้ใช้บริการมีถึง 21 คนที่เหลืออีก คนถือเป็นฝ่ายรัฐที่เป็นกลาง (ไม่รวมประธาน) ในขณะที่คณะกรรมการตาม พ...ประกันสังคม(2533) เดิมมีผู้แทนฝ่ายนายจ้าง คน ลูกจ้าง คน ตามข้อ 3, 4 ฝ่ายละเท่าๆกัน โดยอีก คนที่เหลือถือเป็นฝ่ายรัฐ (ไม่รวมประธาน) แต่เมื่อมีการแก้ไขปรับปรุง พ...ประกันสังคมปี 2558 ก็ยังคงไว้ซึ่งจำนวนกรรมการที่เท่าเทียมกันระหว่างสามฝ่ายคือ ฝ่ายนายจ้าง คน ฝ่ายผู้ประกันตน (ลูกจ้าง) 7 คน และฝ่ายรัฐ คน (ไม่รวมประธาน)

ถ้าดูตามนี้ก็จะพบว่าคณะกรรมการ ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯนั้น ความเห็นของฝ่ายผู้ใช้บริการจะชนะตลอด เพราะไม่มีฝ่ายค้านคือผู้ให้บริการ มีแต่ฝ่ายรัฐเป็นกลาง ในขณะที่คณะกรรมการ ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมนั้น ก้ำกึ่งกันระหว่างฝ่ายนายจ้างกับฝ่ายลูกจ้างผู้ประกันตน ไม่ว่าจะตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับเดิม ปี 2533 หรือ...ฉบับแก้ไขปรับปรุงใหม่ ปี 2558 มติ จึงน่าจะออกมาในลักษณะที่ประนีประนอมและเป็นที่ยอมรับของทั้ง 2 ฝ่าย ผิดกับ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ จะไม่มีการประนีประนอม เพราะเสียงส่วนใหญ่เป็นของฝ่ายผู้ใช้บริการ และเป็นมติที่ไม่มีฝ่ายค้าน​​

คณะกรรมการนั้นมีหน้าที่ออกกฎ ระเบียบ ค่ำสั่ง ประกาศ รวมถึงเสนอให้ออกพระราชกฤษฎีกาซึ่งสำคัญมาก มีอำนาจในการตั้งคณะกรรมการอื่นๆรองรับ เช่น คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพก็จะตั้งคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน คณะอนุกรรมการ และคณะกรรมการสอบสวน เมื่อเป็นเช่นนี้ คณะกรรมการอื่นๆ ที่ถูกตั้งด้วยคณะกรรมการชุดใหญ่ จึงต้องปฏิบัติตามความประสงค์ของเสียงส่วนใหญ่ของคณะกรรมการใหญ่เสมอ

เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการตัดสินใจและการออกประกาศคำสั่งหลักเกณฑ์ต่างๆ ให้คู่สัญญาปฏิบัติตาม แต่เมื่อฝ่ายที่เป็นคู่สัญญาไม่มีผู้แทนเสียแล้วจึงเท่ากับถูกปิดปากโดยปริยาย เพราะฝ่ายรัฐที่เป็นกลางก็คงวางตัวเป็นกลางหรืองดออกเสียงมากกว่าจะเห็นต่างจากเสียงส่วนใหญ่

พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับ มีรูปแบบการทำงานเหมือนกัน มีกองทุนที่จะต้องบริหารเหมือนกัน แต่องค์ประกอบของคณะกรรมการกลับต่างกันชนิดหน้ามือกับหลังมือ จึงไม่น่าแปลกใจที่ ฝ่ายผู้ให้บริการในระบบประกันสุขภาพแห่งชาติจึงไม่สามารถต่อรองอะไรได้ ทั้งๆ ที่ได้รับความเสียหายมาตลอด พ.ร.บ.ประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงถือเป็นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมอย่างแท้จริง