การเมืองไทย สู่การเลือกตั้ง?

การเมืองไทย  สู่การเลือกตั้ง?

ทำไมเราถึงต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น และทำไมต้องคิดถึงความพร้อมก่อนจะให้มีการเลือกตั้ง

 เพราะประเทศไทยมีรัฐประหารบ่อยครั้งเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศอื่นๆ ในโลก 

ตามสถิติคร่าวๆ พบว่าการทำรัฐประหารในบริบทโลก : ศตวรรษที่ 19-21 ในช่วงศตวรรษที่ 19 ระหว่างปี 1800-1899 มีรัฐประหารทั้งที่สำเร็จและล้มเหลวเกิดขึ้นในโลกรวมทั้งสิ้น 23 ครั้ง

เริ่มต้นในปี 1804 นโปเลียน โบนาปาร์ตยึดอำนาจการปกครองในฝรั่งเศส และสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ และความพยายามในการทำรัฐประหารที่ปิดท้ายศตวรรษที่ 19 คือ ในปี 1891 ประธานาธิบดีบราซิล นายมาร์ชัล ดีโอโดโร ดา ฟอนเซกา ยุบสภาแห่งชาติ (the National Congress) และสถาปนาตัวเองเป็นผู้นำเผด็จการ แต่ต่อมาลาออกหลังจากที่กองทัพเรือก่อการกบฏขึ้น

การทำรัฐประหารและความพยายามในการทำรัฐประหารในศตวรรษที่ 19 เกิดขึ้นแทบทุกทวีป ได้แก่ ยุโรป (ฝรั่งเศส (2 ครั้ง) ไอซ์แลนด์ สวีเดน โรมาเนีย สเปน) ออสเตรเลีย เอเชีย (ญี่ปุ่น) อเมริกาเหนือ (สหรัฐและฮาวาย) อเมริกากลางและใต้ (บัวโนสไอเรส เวเนซูเอลา เม็กซิโก (6 ครั้ง) คอสตาริกา (3 ครั้ง) บราซิล (2 ครั้ง))

ส่วนในกรณีประเทศไทย ในช่วงระหว่าง 1800-1899 อันเป็นช่วงต้นรัตนโกสินทร์ระหว่างรัชกาลที่ 1-5 กล่าวได้ว่า ไม่มีรัฐประหารหรือการพยายามทำรัฐประหารที่เป็นปรากฏการณ์ที่ชัดเจน

ในศตวรรษที่ 20 ระหว่างปี 1900-1999  มีรัฐประหารและความพยายามในการทำรัฐประหารเกือบ 300 ครั้ง โดยอันดับประเทศที่มีการรัฐประหารและความพยายามทำรัฐประหารถี่มากที่สุดในศตวรรษที่ 20 ได้แก่ อันดับ 1 คือ อาร์เจนตินาและกรีซ (11 ครั้ง) อันดับที่ 2 คือ บราซิล ไทย และปากีสถาน (8 ครั้ง)

ในกรณีของประเทศไทยในศตวรรษที่ 20 ช่วงระหว่าง พ.ศ. 2443-2542 มีการทำรัฐประหารที่สำเร็จทั้งสิ้น 10 ครั้ง ได้แก่ พ.ศ.2475, 2490, 2491, 2494, 2500, 2501, 2514, 2519, 2520 และ 2534 

ช่วงเริ่มต้นศตวรรษที่ 21 โดยนับตั้งแต่ปี 2000-2015 มีการทำรัฐประหารและความพยายามทำรัฐประหารเกิดขึ้นทั้งสิ้นเกือบ 60 ครั้ง 

ประเทศที่มีการรัฐประหารและความพยายามทำรัฐประหารถี่มากที่สุดในศตวรรษที่ยี่ 20 ได้แก่  อันดับ 1 สูงสุด 4 ครั้ง กินี บิสเซา อันดับที่ 2  3 ครั้ง

เอกวาดอรร์

มอริทาเนีย ฟิลลิปปินส์ คองโก ชาด มาดากัสการ์ 

อันดับที่  2 ครั้ง ฟิจิ โกตดิวัวร์ (Côte d'Ivoire) ไทย อียิปต์ มาลี ลิเบีย

อันดับที่ 4 ครั้งเดียว โซโลมอน เวเนซุเอลา สาธารณรัฐ

แอฟริกันกลาง เซาตูเมและปรินซีปี  (Sao Tome and Principe) อิเควทอเรียลกินี (Equatorial Guinea) โตโก เนปาล ลาว ติมอร์ตะวันออก กีนี ฮอนดูรัส ไนจีเรีย ไนเจอร์ บังคลาเทศ ปาปัวนิวกีนี ไอวอรี ซูดาน เบนิน โคโมรอส อับคาซ (Abkhaz) เลโซโท แกมเบีย เยเมน บุรันดี 

กรณีของไทยในศตวรรษที่ 21 รัฐประหารเกิดขึ้นไปแล้วถึง 2 ครั้ง คือ รัฐประหาร 19 ..2549 และรัฐประหาร 22 .. 2557

อย่างไรก็ตาม มีอีกหลายประเทศที่ไม่ติดอันดับการทำหรือพยายามทำรัฐประหาร แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ประเทศเหล่านั้นจะมีการปกครองในระบอบเสรีประชาธิปไตย อย่างเช่นในกรณีของอินโดนีเซีย ที่มีการทำรัฐประหารเกิดขึ้นเพียงหนเดียวตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 จนปัจจุบัน แต่การเมืองอินโดนีเซียก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองโดยซูฮาร์โตเป็นเวลาถึง 31 ปี ตั้งแต่ 1967-1998 

นอกจากอินโดนีเซีย ก็ยังมีอีกหลายประเทศที่เข้าข่ายมีเสถียรภาพทางการเมืองมั่นคง แต่ไม่เข้าข่ายระบอบเสรีประชาธิปไตย 

แม้ว่าไทยจะต้องประสบกับปัญหาการทำรัฐประหารบ่อยครั้ง เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน แต่ข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ เราเป็นประเทศที่เผด็จการทหารอยู่ได้ไม่นาน เมื่อเทียบกับเมียนมา (ปกครองโดยคณะนายทหารเป็นเวลา 50 ปี) 

ขณะเดียวกันระบอบอำนาจนิยมพลเรือนในไทยก็ไม่สามารถมีอายุยืนยาวได้เมื่อเทียบกับกัมพูชา (ฮุนเซนอยู่ในอำนาจ ตั้งแต่ พ.ศ.2528-ปัจจุบัน ถือเป็นนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในอำนาจยาวนานที่สุดในโลก) สิงคโปร์ (ลี กวน ยู เป็นนายกรัฐมนตรียาวนานถึง 31 ปี) มาเลเซีย (มหาธีร์ เป็นนายกรัฐมนตรียาวนานถึง 22 ปี) อินโดนีเซีย (ซูฮาร์โตเป็นประธานาธิบดี 31 ปี) และฟิลิปปินส์ (มากอสเป็นประธานาธิบดี 21 ปี) 

การปกครองภายใต้เผด็จการทหารของไทยที่มีอายุยืนยาวที่สุดคือ 14 ปี แบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ 4 ปี ช่วงจอมพลถนอม กิตติขจร 8 ปี และช่วงจอมพลถนอม-ประภาส 2 ปี

การปกครองภายใต้รัฐบาลพลเรือนระบอบอำนาจนิยมของไทยที่มีอายุยืนยาวที่สุดคือ 1 ปี ในสมัยที่ ทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ระหว่าง พ.. 2548-2549

ถ้าพิจารณาภายใต้เงื่อนไขของเส้นทางการเมืองในบริบทของประเทศในกลุ่มอาเซียน จะพบว่า การเมืองไทยมีรัฐประหารบ่อยที่สุด แต่ปลอดจากการอยู่ภายใต้การปกครองเผด็จการทหาร-อำนาจนิยมพลเรือนที่ยาวนาน

ดังนั้น ถ้าคิดในมุมกลับ ถ้าเราไม่มีรัฐประหารบ่อยครั้ง การเมืองไทยจะต้องอยู่บนทาง 2 แพร่งที่ต้องเลือกเดินระหว่างอยู่ภายใต้การปกครองเผด็จการทหารหรืออำนาจนิยมพลเรือนที่ยาวนานเท่านั้นหรือ เรามีทางเลือกอื่นหรือไม่ 

ผู้ที่คิดว่า ไม่ต้องเลือกตั้งก็ได้ ให้รัฐบาลนี้อยู่ไปนานๆ คำถามคือ การเปลี่ยนผ่านรัฐบาลต่อไปในอนาคตจะทำอย่างไร ซึ่งก็ไม่พ้นเลือกตั้งอยู่ดี 

ส่วนผู้ที่คิดว่า ต้องรีบเลือกตั้งโดยเร็ว คำถามคือ เมื่อเลือกตั้งแล้ว เราจะสามารถพ้นจากวังวนของวิกฤติการเมืองที่ผ่านมาได้อย่างไร