ตั้งการ์ด…การลงทุน

ตั้งการ์ด…การลงทุน

หุ้นขึ้นเหมือนขึ้นบันใด หุ้นลงเหมือนลงลิฟท์

ตลาดหุ้นเมื่อไม่กี่วันมานี้ คงทำเอาหลายคนตกอกตกใจกันเป็นแน่ เพราะปรับตัวลดลงกันวันละ 1-2% ยิ่งถ้าต่างประเทศ ลดลงกันวันละ 4-5% ไม่เหมือนตอนขึ้น ที่กว่าจะขึ้นได้ระดับนี้ 'เป็นเดือน' นี่ล่ะน้าที่เขาบอกว่า 'หุ้นขึ้นเหมือนขึ้นบันใด หุ้นลงเหมือนลงลิฟท์' ใจหายใจคว่ำกันไปหมด แต่ไม่ว่าอนาคตจากนี้จะเป็นอย่างไร ผมมีวิธีการเลือกลงทุน ที่ทำให้เราหวาดเสียวน้อยที่สุด หรือถ้าต้องเจ็บตัว ก็จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา เรียกอีกอย่างว่าเป็นการ 'ตั้งการ์ด การลงทุน' ตลาดหุ้นเมื่อไม่กี่วันมานี้ คงทำเอาหลายคนตกอกตกใจกันเป็นแน่ เพราะปรับตัวลดลงกันวันละ 1-2% ยิ่งถ้าต่างประเทศ ลดลงกันวันละ 4-5% ไม่เหมือนตอนขึ้น ที่กว่าจะขึ้นได้ระดับนี้ 'เป็นเดือน' นี่ล่ะน้าที่เขาบอกว่า 'หุ้นขึ้นเหมือนขึ้นบันใด หุ้นลงเหมือนลงลิฟท์' ใจหายใจคว่ำกันไปหมด แต่ไม่ว่าอนาคตจากนี้จะเป็นอย่างไร ผมมีวิธีการเลือกลงทุน ที่ทำให้เราหวาดเสียวน้อยที่สุด หรือถ้าต้องเจ็บตัว ก็จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา เรียกอีกอย่างว่าเป็นการ 'ตั้งการ์ด การลงทุน'

คุณเคยเล่นหุ้นไหม เชื่อว่าหลายคนลงทุนอยู่ ลองนึกย้อนช่วงแรกของการลงทุน กว่าจะเคาะซื้อได้ระมัดระวัง เลือกหุ้นอยู่นานกว่าจะซื้อ แม้ว่าเม็ดเงินในการลงทุนจะเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับทรัพย์สินอื่นๆ แต่เมื่อตลาดเป็นใจหุ้นที่เลือกลงทุนเข้าเป้า เราเริ่มที่จะ 'จัดหนัก' มากขึ้น เพื่อหวังจะเจอหุ้นเด็ด ความกล้ามีมากกว่าความกลัว และความร้อนแรงของตลาดก็เป็นตัวเร่งให้เรากล้าเสี่ยง!! กล้าได้กล้าเสียมากขึ้น ฮึกเหิม 

จนบางครั้งลงทุนด้วยสัดส่วนมากเกินกว่าที่ตัวเองจะรับได้ ความระมัดระวังที่ลดลง ก็เหมือนกับการชกมวยที่มัวแต่รุกจนลืมตั้งรับ การ์ดตก และเมื่อตลาดสวนกลับ เราอาจจะถูกน็อกเองก็ได้ การลงทุนก็เหมือนกับการชกมวย ยิ่งตลาดอยู่สูงเราควรอย่างยิ่งที่ต้องตั้งการ์ดการลงทุน ไม่ใช่เพลิดเพลินกับตลาดจนลืมเรื่องความเสี่ยง 

'เพราะการที่ตลาดปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หมายถึงราคาของหุ้นส่วนใหญ่เข้าไปในโซนที่ค่อนข้างแพง'

มาตั้งการ์ดการลงทุนให้สูงขึ้นดีกว่า ด้วย 5 กลยุทธ์หลัก ดังนี้  

1.เลือกหุ้นคุณภาพดีมีกำไร และมีโอกาสเติบโตไว้ก่อน หลีกเลี่ยงหุ้นที่มีประวัติขาดทุน แล้วหวังว่าจะ Turn Around อันนั้นเสี่ยงเกินไป 

2.พึงระวังหุ้นที่มีราคาร้อนแรง ราคาที่แพง มักจะไม่ค่อยเป็นมิตรในช่วงขาลง ควรตรวจสอบ PE / PBV และ Dividend Yield ดูความถูกแพงก่อนตัดสินใจ หุ้นถูกปลอดภัยกว่าหุ้นแพง (แม้ในช่วงขาลงหุ้นก็ลงทั้งตลาดแต่หุ้นที่ถูกหรือหุ้นปลอดภัยมักจะลงในสัดส่วนที่น้อยกว่า)

3.เจอหุ้นถูกแล้ว ควรเลือกหุ้นที่แข็งแรงมั่นคงด้วย ดูได้จาก D/E Ratio หรืออัตราส่วนหนี้สินต่อทุน บริษัทที่ดี ภาระหนี้ไม่เยอะ ยิ่งเพิ่มความอุ่นใจว่า บริษัทคงจะไม่ล้มหายตายจากไปไหน บริษัทแบบนี้จะอะไรมันก็สบายใจกว่า

4.พึงนึกเสมอว่า  'หุ้น' ไม่ได้มีทางขึ้นอย่างเดียว เผื่อทางลงทางหนีที่ไล่ไว้ด้วย ถ้าผิดทางจากที่คาดจะตัดสินใจอย่างไร การผิดทางในที่นี้ถ้าทางเทคนิคคือเรื่อง Stop loss ตามราคาที่เปลี่ยนแปลงไป (ใช้โปรแกรม  iAlgo ช่วยได้ นักลงทุนสามารถติดตามอ่านบทความได้จาก knowledge.bualuang.co.th) แต่ถ้านักลงทุนทางพื้นฐาน เน้นเรื่องผลประกอบการ ถ้าผลออกมาไม่เป็นอย่างที่คาด หรือราคาหุ้นขึ้นเกินกว่าที่ประมาณราคาไว้ ก็ต้องคิดถอยออกมาก่อนเหมือนกัน 

5.มีการกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ไม่ทุ่มลงทุนตัวใดมากจนเกินไป 

6.ไม่ลงทุนจนเกินตัว เงินที่ลงทุนถ้าเป็นเงินที่เย็น ตัดออกจากชีวิตได้ยิ่งดี!! เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าระยะสั้นๆ หุ้นจะไปในทิศทางใด ลงทุนยาวไว้ก่อนดีกว่า

7. ต่อจากข้อ 5 ยืนระยะให้ได้ คนที่ประสบความสำเร็จในการลงทุน ล้วนผ่านช่วงวิกฤตมาแล้ว ที่รอดมาได้ คือ พยายามยืนระยะ ไม่ล้มแรงหรือถูกน๊อกก่อน ยืนระยะคอยต่อยเก็บคะแนนไปเรื่อยๆ ไม่จำเป็นต้องชนะน๊อก โดยการทุ่มสุดตัว แต่ค่อยๆ เก็บค่อยๆ สะสม ต้องบริหารเงินลงทุน มีเงินสด เก็บแรงชกหรือเหลือกระสุนไว้รอยิงเมื่อจังหวะดี คือ ตลาดกลับมาถูกหรือราคาเหมาะสมมากขึ้น…

ข้อสุดท้าย 8. ทำใจให้นิ่ง ลงทุนต่อ (อย่างระมัดระวัง) แล้วมันจะผ่านไป...