Organic Tourism โอกาสดียังมีอีกมาก

Organic Tourism โอกาสดียังมีอีกมาก

ความท้าทายของโอกาสธุรกิจส Organic Tourism อยู่ที่ความไม่ชัดเจนว่าใครจะมาเป็นลูกค้า

     สัปดาห์ก่อนชวนกันพิจารณาโอกาส Organic Tourism  การท่องเที่ยวที่เกื้อกูลกับการสร้างความยั่งยืนในระบบอาหาร ธุรกิจที่พบว่ามีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ (ข้อมูล www.organictourismthailand.com) พร้อมกันกับโอกาสที่ Startup จะเข้ามามีบทบาทในห่วงโซ่คุณค่า นอกจากงานการเป็น Platform เชื่อมต่อระหว่างเกษตรกรกับผู้บริโภคที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและ Startup สามารถทำได้ ผ่านการจัดการทั้งแบบ B2B  นำผลิตภัณฑ์ Organic Food มาใช้ในโรงแรม ร้านอาหาร และแบบ B2C  เช่นการทำ Farm Tour จัด Farmer’s Market ยังมีโอกาสอื่นๆ อีก อาทิ

          งานสร้างชุมชนคนที่มีความสนใจร่วมกัน ปัจจุบันทำได้โดยสะดวกผ่าน Online Platform และ Startup สามารถเข้ามาเป็นผู้ขับเคลื่อน โดยเงื่อนไขความสำเร็จของการสร้าง Online Community ไม่ได้อยู่ที่การนำเสนอสินค้าบริการครอบคลุมหลากหลายแบบ Online Retail หรือการให้ข้อมูลสินค้าบริการแบบ Corporate / PR Channel แต่อยู่ที่การนำเสนอ Content สอดประสานเข้ากับวิถีการดำรงชีวิตของคนเป็น Lifestyle และความสามารถในการชวนคนให้เข้ามามีส่วนร่วมในชุมชน ซึ่งสำหรับ Organic Tourism แล้วมีโอกาสจากการใช้ / สร้าง Content ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและกิจกรรมสันทนาการมากมายซึ่งคนจำนวนมากพร้อมให้ความสนใจเป็นทุน 

          ตัวอย่างที่น่าสนใจให้ลองไปดู เช่น Mekongmoments.com โดย Mekong Tourism Coordinating Office (MTCO) ที่ทำหน้าที่เสมือน Travel Guide ของ Greater Mekong Subregion โดยเน้นที่การให้นักท่องเที่ยวเป็นคนมาแชร์ประสบการณ์ เช่น ถ่ายรูปแล้ว #MekongMoments หรือบอกเล่าเรื่องราว (Strories)  โดย User Generated Contents เหล่านี้สามารถเชื่อมต่อไปถึงการทำ Social CRM  และการทำ Social Commerce จาก Platform ที่ทาง Community สร้างไว้ด้วย  ซึ่งเท่ากับว่าชุมชนต้องดึงเอาพันธมิตรผู้ประกอบการให้เข้ามามีบทบาทในการสร้างความสัมพันธ์ไปพร้อมกัน ล่าสุด MTCO ยังเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุน Organic Tourism ด้วยโดยตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง

          เมื่อชุมชนมีความเข้มแข็งแล้วก็ยังมีโอกาสทำงานต่อเนื่องไปอีกมากมาย  อย่างการเชิญชวนผู้บริโภค/นักท่องเที่ยวมามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการค้าที่เคยอยู่ในมือผู้ประกอบการเท่านั้น เรียกว่าเป็นการร่วมสร้างสรรค์ (Co-Creation)  ที่นับว่าเป็นแนวโน้มการทำการตลาดยุคใหม่ โดยผลวิจัยพบแล้วว่าช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ความผูกพัน และความเชื่อมั่นไว้วางใจกันแบบยาวๆ ได้ นอกจากนั้นเมื่อเกิดปัญหาหรือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงก็จะช่วยเป็นภูมิคุ้มกันให้อีกแรง  ตัวอย่างโอกาสที่มี เช่น การทำ Traceability ให้ผู้บริโภคมีส่วนเรียนรู้ติดตามแหล่งที่มาของอาหารออร์แกนิค ซึ่งนอกจากเกิดความเข้าใจกระบวนการแล้วยังไปส่งเสริมความโปร่งใส สร้างความมั่นใจให้เพิ่มขึ้น โดยทำได้ทั้งส่วน Offline  เช่นการชวนเข้ามามีส่วนร่วมสังเกตการทำงานของเกษตรกรว่าเป็นไปตามข้อตกลงที่มีร่วมกันหรือไม่ เรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ Participatory Guarantee System (PGS) โดยสามารถอ้างอิงและเชื่อมต่อไปถึงโอกาสการได้รับรองมาตรฐานจากหน่วยงานกลางได้ต่อไป นอกจากนั้นยังสามารถผนวกเข้ากับกระบวนการ Online ได้  เช่น การทำ Traceability Appซึ่งปัจจุบันพบว่าใน Startup ให้ความสนใจเข้ามาทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ มารองรับอย่างต่อเนื่อง เช่น การทำ Biological Marker  ความก้าวหน้าของ Sensing Technology ที่ช่วย Monitor อุณหภูมิและสิ่งแวดล้อมการจัดเก็บ รวมถึงระบบการรับข้อมูลที่สะดวกขึ้น เช่นการใช้ QR จาก Smartphone และการจัดเก็บเรียกใช้แบบ Cloud-based  และอนาคตมีการมองถึงการนำ Blockchain  เข้ามาสนับสนุนการติดตามตรวจสอบอย่างมีส่วนร่วมอีกด้วย

          อย่างไรก็ดีความท้าทายของโอกาสธุรกิจส่วนนี้อยู่ที่ความไม่ชัดเจนว่าใครจะมาเป็นลูกค้า  เนื่องจากผู้ผลิต / ผู้ประกอบการอาหารเองก็อาจลังเลที่จะผลักดันให้เกิดการเปิดเผยข้อมูลเพราะกลัวว่าจะเป็นการนำไปสู่ความเสี่ยงหรือถือเป็นการกดดัน แรงขับเคลื่อนจึงน่าจะมาจากฝั่งผู้ซื้อ เช่น ร้านค้าปลีกหรือ ใน Organic Tourism ได้แก่ โรงแรม ร้านอาหาร ที่ได้รับประโยชน์ทางตรงจากความสามารถตรวจสอบคุณภาพสินค้าได้ อีกส่วนที่สำคัญมากคือผู้บริโภคเองที่หากสร้างเป็น Social Movement และพฤติกรรมใหม่ในการบริโภคแบบตรวจสอบก่อนซื้อได้ก็จะช่วยเปิดมิติใหม่ในอุตสาหกรรม Organic Food ทั้งนี้เช่นเดียวกับที่เล่าถึงการสร้าง Online Community การมีส่วนร่วมตรวจสอบต้องมาพร้อมประสบการณ์ที่น่าสนใจเพลิดเพลิน เช่น ผสานเรื่องราวการเดินทางของอาหาร From Farm to Table ซึ่งช่วยเพิ่มความหมาย สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้อีก

          จากอนาคตการเติบโตของ Organic Food และ Organic Tourism นำไปสู่โอกาสการทำธุรกิจของผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ Startup ที่สามารถ นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสนับสนุนสร้างการปลี่ยนแปลงได้ ประโยชน์ที่เกิดไม่ได้หยุดอยู่แค่ผู้ประกอบการในห่วงโซ่ แต่ยังสามารถขยายไปสู่สิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตเกษตรกร ความเข้มแข็งของชุมชน และสนับสนุนระบบอาหารที่ยั่งยืนให้เกิดขึ้นได้ต่อไป