กลุ่มการเงินฟื้น ตามวัฎรจักรเศรษฐกิจโลก

กลุ่มการเงินฟื้น ตามวัฎรจักรเศรษฐกิจโลก

กลุ่มการเงินฟื้น ตามวัฎรจักรเศรษฐกิจโลก

ตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศออกมาหลายตัว อาทิ ตัวเลข PMI ภาคอุตสาหกรรมของทั่วโลกเติบโตเกินระดับ 50 ประเทศสหรัฐฯ เติบโต 55.1. ยุโรป 60.6 ญี่ปุ่น 54.2 รวมถึงประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Market) 52.2  สะท้อนว่า  เศรษฐกิจประเทศต่างๆยังมีโอกาสขยายตัวต่อเนื่อง นอกจากนี้ IMF มีการประเมินของเศรษฐกิจทั่วโลกดีขึ้นแบบทั่วถึงครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา ซึ่งคาดการณ์การเติบโตของตัวเลข GDP ของโลกปีนี้อยู่ที่ระดับ 3.7% จากปีก่อน 3.6%

เมื่อเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวจะส่งผลต่อทิศทางเงินเฟ้อให้ปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามการเติบโตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ตึงตัวทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกเริ่มมีการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้เริ่มปรับนโยบายการเงินสู่ภาวะปกติอย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยคาดการณ์การปรับตัวขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้อยู่ที่ 2-4 ครั้ง ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป ได้เริ่มทยอยลดปริมาณเงินในระบบและคาดว่าน่าจะถอนมาตรการQE สิ้นปีนี้ ในด้านการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศแถบเอเชียเหนือ อาทิ ญี่ปุ่น ยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายและกระตุ้นทางด้านการคลัง  ในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทยปีนี้ คาดการณ์ว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) มีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีหลัง

จากมุมมองเศรษฐกิจดังกล่าว คาดว่าในปีนี้ อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเอื้อให้รายรับของหุ้นกลุ่มการเงินทั่วโลกจะมีโอกาสการเติบโตตามการอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยเชิงมหภาค อาทิ ค่าธรรมเนียม ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย(Net Interest rate) จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนในหุ้นกลุ่มการเงินในปีนี้ นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงทางนโยบายทางตลาดการเงินโดยเฉพาะสหรัฐฯ ได้ส่งผลให้ต้นทุนด้านกฎหมายและภาษีนิติบุคคลของกลุ่มสถาบันการเงินลดลง ซึ่งจะส่งผลดีต่อโอกาสในการขยายตัวของธุรกิจ

บลจ.วรรณ มีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนในหุ้นกลุ่มการเงินทั่วโลก ปัจจุบันหุ้นกลุ่มการเงินมีสภาพคล่องสูงและสามารถกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงของกระจุกตัวใน SECTOR ได้ จากจำนวนหุ้นทั้งหมดและธุรกิจที่หลากหลาย ซึ่งมีมากกว่า 250 บริษัททั่วโลกใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมย่อย โดยหากเปรียบเทียบสัดส่วนของหุ้นกลุ่มการเงินในดัชนี MSCI All Country World Index ที่เป็นตัวแทนตลาดหุ้นโลกกลุ่มการเงินมีสัดส่วนถึง19% และถือเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในดัชนี MSCI  ทั้งนี้ หากพิจารณาค่า PE ของหุ้นกลุ่มการเงินอยู่ที่ประมาณ 13-14 เท่า โดยคาดการณ์การเติบโตของหุ้นในกลุ่มการเงินและปัจจัยมหภาคทางเศรษฐกิจ หุ้นกลุ่มการเงินยังมีความน่าสนใจจากระดับราคาที่ยังไม่สูงมากเทียบกับโอกาสการเติบโตจากรายได้ยังมีค่อนข้างสูงจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

สำหรับหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินทั่วโลก บลจ.วรรณประเมินแนวโน้มการเติบโตของหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์มีความโดดเด่นจากอัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น(ROE) ที่ฟื้นตัว ส่งผลให้ประมาณการค่า PE มีแนวโน้มปรับตัวลงจาก Earning ที่มีการเติบโต โดยทาง UBS Evidence Lab คาดการณ์ค่า PE ปีนี้ของหุ้นธนาคารพาณิชย์ทั่วโลก สหรัฐฯ ยูโรโซน กลุ่มประเทศเกิดใหม่ทั่วโลก (ยกเว้นจีน) อยู่ที่ระดับ 10.3 เท่า 12.6 เท่า 11.8 เท่า 13.2 เท่า ลดลงจากปีก่อน 11.4 เท่า 16 เท่า 12.7 เท่า 13.9 เท่า ตามลำดับ  หากมองในแง่การเติบโตของรายได้และกำไรของกลุ่มอุตสาหกรรมยังแข็งแกรง โดยประเมินการขยายตัวของ EPS ทั้งภูมิภาคยุโรป เอเชีย(ยกเว้นญี่ปุ่น จีน) การเติบโตอยู่ในระดับ 10.13% อาทิ EPS ของหุ้นธนาคารพาณิชย์ทั่วโลก กลุ่มธนาคารพาณิชย์ของสหรัฐฯ ยูโรโซน(กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว) และกลุ่มประเทศเกิดใหม่ทั่วโลก (ยกเว้นจีน) อยูที่ 11.3% 10.5% 15.4% 18.5% ตามลำดับ

ในแง่ของความเสี่ยงปัจจุบัน ธนาคารพาณิชย์มีทุนสำรองที่คาดว่าสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนจากตลาดการเงินในระดับสูง รวมถึงมีขนาดสินทรัพย์ที่เติบโตขึ้น ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องได้หากเกิดวิกฤตการณ์ต่างๆ โดยมีการเติบโตของ Asset Value อยู่ในระดับที่ดี ซึ่งในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา Asset Value ของธนาคารพาณิชย์กลุ่มยูโรโซนอยู่ที่ระดับ 7-8% ขณะที่ Asset Value ของสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับ 4-5%  

สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจกระจายการลงทุนในตลาดต่างประเทศ บลจ.วรรณแนะนำการลงทุนในหุ้นกลุ่มสถาบันการเงินทั่วโลกที่คาดว่าจะได้ประโยชน์ในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นทั้งหุ้นขนาดใหญ่ กลางและเล็ก เน้นกองทุนรวมที่มีนโยบายกระจายการลงทุน (Diversify) ในธุรกิจการเงินที่หลากหลาย เพื่อลดความเสี่ยงจากผลกระทบของปัจจัยเชิงมหภาคอื่นๆ เป็นต้น

“ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน”