คนจนหมดประเทศ แต่ช่องว่าง ถมไม่เต็ม

คนจนหมดประเทศ  แต่ช่องว่าง ถมไม่เต็ม

คำประกาศของ ดร.สมคิด จาตุรศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจเมื่อปลายปีที่แล้วว่า จะทำให้คนจนหมดประเทศถูกโจมตีว่าเป็นวาทกรรมเพื่อหวังผลท

ดร.สมคิด ได้พูดไว้อย่างนี้“ รัฐบาลจะเร่งแก้ปัญหาความยากจนของประเทศ โดยจะประสานหน่วยงานทั้งหลาย เพื่อดำเนินการอย่างบูรณาการ เชื่อว่าปัญหาความยากจนจะหมด”

ลีลาข้างต้นไม่ต่างจากนักดนตรีเล่นผิดแนว เพราะที่ผ่านมาหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล ไม่ค่อยพูดเรื่องความยากจนแต่ เน้นสื่อสารกับสังคมเรื่อง ยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงการปรับโครงสร้างการผลิตยกระดับความสามารถการแข่งขันของประเทศไปสู่ยุค ไทยแลนด์ 4.0 อะไรทำนองนี้ และที่สำคัญมีคำถามตามมาอีกด้วยว่า เป็นไปได้หรือ ที่คนจนจะหมดไปจากประเทศไทย

วิธีที่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ฯ นับจำนวนคนจน คือ ขีดเส้นความยากจน (Poverty line)โดย เส้นดังกล่าวกำหนดรายได้ขั้นต่ำขึ้นมา หากใครมีรายได้ต่ำกว่าที่กำหนดถือว่า "เป็นคนจน

ปี 2559 เส้นความยากจนอยู่ที่ 1,606 บาทต่อเดือน ปีนั้นคนทั้งประเทศมีรายได้ต่ำกว่าเส้นดังกล่าวอยู่ 5.8 ล้านคน

หากดูสถิติย้อนหลัง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาคนที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนลดลงต่อเนื่อง โดยปี 2531 มี 34.1ล้านคน เหลือเพียง 5.8 ล้านคนในปี 2559 ซึ่งสภาพัฒน์ฯ อ้างว่า เป็นผลพวงจากแผนพัฒนาหลายฉบับในช่วงที่ผ่านมา

ปลายปีที่แล้ว รายงานของ เวิลด์แบงก์ เรื่อง แนวโน้มการเติบโตแบบมีส่วนร่วมของภูมิภาคเอเชีย และแปซิฟิกระยะยาว ระบุว่า ไทยอยู่ในกลุ่มเดียวกับมาเลเชีย ที่เริ่มหลุดพ้นจากความยากจน และกำลังก้าวสู่ความมั่งคั่ง

แนวโน้มดังกล่าว ผนวกกับรัฐบาลจัดสวัสดิการดูแลคนจนต่อเนื่อง คำประกาศที่ว่า“ความยากจนจะหมดไป” จึงเป็นไปได้ไม่ใช่แค่วาทกรรมเพื่อหวังผลทางการเมืองของรัฐบาลเท่านั้น แต่เป็นการหายไปของคนจนทางวิชาการ เพราะการลดลงของจำนวนผู้มีรายได้ต่ำกว่าเส้นยากจน ไม่ได้หมายความว่า ประเทศไทยจะไม่มีคนจน หรือ ชีวิตคนส่วนใหญ่ ไม่ต้องดิ้นรน หาเช้ากินค่ำ พึ่งพาหนี้นอกระบบ และฝากความหวังไว้กับโชคเท่านั้น

อย่าลืมว่าโจทย์ที่ใหญ่กว่าการผลักดันให้คนกลุ่มรายได้ต่ำ มีรายได้พ้นเส้นความยากจนคือการยกระดับรายได้กลุ่มคนที่ "เกือบจน“ หรือ กลุ่มเกษตรกร แรงงาน และผู้ประกอบการกิจการเล็กๆที่ สภาพัฒน์ฯเรียกว่ากลุ่ม”ฐานราก"กว่า 29 ล้านคนหรือราว 40% ของประชากรรวมให้สูงขึ้น เพื่อลดช่องว่างกับประชากรส่วนน้อยที่ครอบครองทรัพย์สินส่วนใหญ่ไว้ในมือ

ช่องว่างรายได้ระหว่างคนส่วนน้อยกับคนส่วนมากเป็นโจทย์ของโลกและปัญหาใหญ่ของไทย!

สภาพัฒน์ฯ ระบุความเหลื่อมล้ำในรอบ 50 ปีของไทยไม่เคยลดลง พร้อมแสดงชุดข้อมูลที่ชี้ให้เห็นระดับความรุนแรงของความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น อาทิ บัญชีเงินฝาก 0.1% ของบัญชีทั้งหมด มีเงินฝากสูงถึง 49.2% ของยอดเงินฝากรวม และคนมีรายได้สูงสุด 10 % ถือครองที่ดินมากกว่า 61.5% ขณะที่คนอีก 90% ถือครองที่ดินเพียง 38.5% เท่านั้น สรุปคือคนเพียง 10%ถือครองทรัพย์สินมากกว่าครึ่งหนึ่งของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ 

หากพิจารณาแนวทางแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ตาม แผนยุทธ์ศาสตร์ชาติ 20 ปี ของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มีหลักคิดว่าไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยตั้งเป้า “สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้คนทุกกลุ่มในสังคม” ด้วยการมุ่งเพิ่มรายได้ให้ กลุ่มคนเกือบจน (หรือกลุ่ม 40%)หรือ กระจายการถือครองทรัพย์สินให้มีความเป็นธรรม เพื่อสร้างความมั่งคงให้ประชากรทุกกลุ่ม

 ที่ผ่านมา รัฐบาลประยุทธ์ ดูแลคนจนผ่าน โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โดยพุ่งเป้าไปที่กลุ่มคนที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี (ต่ำกว่าเส้นความยากจน) ซึ่งมีจำนวน 5.8 ล้านคน จากจำนวนผู้ลงทะเบียนคนจน 14.4 ล้านคน (ณ ปี 2560) 

วันที่ 9 ม.ค. ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการลงทะเบียนคนจนเฟสสอง ใช้งบประมาณรวม 3.5 หมื่นล้านบาท งบฯส่วนหนึ่ง นำไปเติมเงินให้ผู้มีรายได้น้อยกว่า 30,000 บาทอีก 200 บาท เป็น 500 บาท และ กลุ่มมีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทอีก 100 บาท เป็น 300 บาท แต่มีเงื่อนไขผู้รับสิทธิต้องเข้ารับการอบรมเพิ่มทักษะใหม่ให้ตัวเอง

แม้รัฐมีนโยบายชัดเจน และมีเป้าหมายระยะยาว แต่โอกาสที่จะลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนมีไม่มากนัก เพราะปัจจัยที่ทำให้ช่องว่างความมั่งคั่งถ่างกว้างขึ้นคือ ความสามารถในการเข้าถึงโอกาส และแต้มต่อจากทุนที่สะสมมา(ตระกูลเจ้าสัวที่ครอบครองที่ดินกว่า 6.3 แสนไร่ อัตราเร่งในการสะสมความมั่งคั่งย่อมมากกว่าครอบครัวที่มีพื้นที่เกษตรแค่1ไร่)

การถาโถมเข้ามาของคลื่นโลกาภิวัตน์เมื่อกว่า30ปีที่แล้ว ก่อให้เกิดพลังทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการเชื่อมโยงสร้าง และเศรษฐีพันล้านไทยจำนวนมาก แม้ชะงักจากวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 แต่ประชากรเศรษฐีพันล้านของไทยคงเพิ่มขึ้นสวนทางกับช่วงว่างรายได้ที่ถ่างออก 

เช่นเดียวกับการปฏิวัติดิจิทัลในปัจจุบัน คนที่มีโอกาสสร้างความมั่งคั่ง คงเป็นกลุ่มธุรกิจ ที่มีความพร้อม คนที่มีทุน คนมีการศึกษาที่สามารถพัฒนาทักษะใหม่ เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้ตัวเองซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่จะทำช่องว่างจะยิ่งถ่างกว้างออกไป

มีข้อเสนอจากนักวิชาการให้รัฐบาลพิจารณาใช้มาตรการทางภาษีต่อกลุ่มทุนมาช่วยลดช่องว่าง

มุมมองของดร.ปรเมธี วิมลศิริ เลขาฯสภาพัฒน์ฯ ่ระบุว่า ต้องมีมาตรการเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ อาทิ ดูแลอย่างจริงจังเวลาที่ธุรกิจขนาดใหญ่ใช้อำนาจทางการตลาดที่ไม่เป็นธรรมข้อเสนอข้างต้นไม่ใช่ของใหม่แต่ยังไม่มีรัฐบาลใดให้ความสำคัญจริงๆจังๆทุกรัฐบาล คงมุ่งเติมเงินให้คนจนผ่านโครงการ เงินผัน ประชานิยม มาถึง ประชาสังคมในปัจจุบันขณะที่ช่องว่างความมั่งคั่ง ถ่าง และกว้าง ขึ้นต่อเนื่อง เพราะลืมดูแลความมั่งคั่งของคนกลุ่ม 10% ให้เพิ่มขึ้น ในลักษณะเป็นธรรมต่อสังคม

อนาคตคนที่มีรายได้เหนือเส้นความยากจนคงลดลง แต่ไม่ได้หมายความว่าคนจนจะหมดประเทศ ตรงกันข้าม ช่องว่างความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มคน 10% กับกลุ่ม 40% จะยิ่งถ่างกว้างออกไป

โดย... ชญานิน ศาลายา