นโยบายนำเข้าข้าวโพดข้าวสาลี ทำลายกลไกตลาด-เกษตรกร

นโยบายนำเข้าข้าวโพดข้าวสาลี  ทำลายกลไกตลาด-เกษตรกร

เศรษฐกิจไทยจะมั่นคงแข็งแรงได้ คนไทยทุกคนทุกอาชีพต้องกินดีอยู่ดี มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ

แต่ความเป็นจริง คนไทยจำนวนมาก จากที่เป็นเกษตรกร 17 ล้านคน ยังประสบกับการมีภาวะหนี้สิน และรายได้ไม่เพียงพอต่อการกินอยู่ โดยเฉพาะ 2-3 ปีที่ผ่านมา รายได้จากเกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ไม่ดีนักเนื่องจาก ราคาผลผลิตที่ขายได้ตกต่ำ

ต้นทุนการผลิตทางการเกษตรในปัจจุบันของเกษตรกรผู้ปลูกพืช และผู้เลี้ยงสัตว์ไทย สูงกว่าบางประเทศที่มีศักยภาพการแข่งขันที่สูงกว่า ด้วยปัจจัยหลายด้าน

รัฐบาลต้องมีมาตรการปกป้องเกษตรกรไทยเพื่อป้องกันการทุ่มตลาดสินค้าเกษตรจากต่างประเทศอย่างเท่าเทียมจากนั้นปล่อยให้เป็นไปตามกลไกการค้าการซื้อขายระหว่างผู้ผลิตผู้ค้า ผู้ใช้ และผลผลิตทางการเกษตรเหล่านั้นภายในปรเทศ เพื่อให้เกษตรกรมีโอกาสและรายได้ที่ดี

แม้ปัจจุบัน โลกจะมีการค้าเสรีมากขึ้น แต่ทุกประเทศในโลกก็ต้องปกป้องผลประโยชน์เพื่อการกินดีอยู่ดีของประชาชนในประเทศ

ขีดจำกัดของตนทั้งที่รู้ว่านั่นคือการบ่อนทำลายโอกาสและความมั่นคงทางอาชพีและรายได้ของเกาตรกรไทยอย่างชัดเจน และเป็นการไม่ปกป้องผู้ปลูกพืชอาหารสัตว์ไทย

ในฤดูกาล 60/61 ของการปลูกพืชไร่ ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 2560  เป็นช่วงที่เกษตรกรขายข้าวโพดขายได้ราคาสูงถึง กิโลกรัมละ กว่า 9 บาท ผลมาจากรัฐบาลมีมาตรการ 3:1 คือโรงงานอาหารสัตว์ต้องใช้ข้าวโพดไทย 3 ส่วน จึงมีสิทธินำเข้าข้าวสาลีมาใช้ได้ 1 ส่วน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 เกษตรกรขายข้าวโพดได้เพีงกิโลกรัมละ 6 บาท ผลกระทบจากการนำเข้าข้าวสาลี ภาษี 0% อย่างไม่จำกัดจำนวน

ทำไมช่วง 3 เดือนหลังปี 2559 หรือต้นฤดูกาล 2559/60 เกษตรกรขายข้าวโพดได้เพียงกิโลกรัมละ 6 บาท ทั้งที่อาหารสัตว์รายใหญ่รับซื้อที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลถึงกิโลกรัมละ 8 บาท อันเป็นที่มาของการกล่าวโทษไปยังพ่อค้าคนกลางว่า กดราคาซื้อข้าวโพดจากเกษตรกร

ความเป็นจริงในสภาวะการณ์ตอนนั้นเกิดกลไกการค้าข้าวโพดเบี่ยงเบน เพราะมีการนำเข้าข้าวโพดมาให้โรงงานอาหารสัตว์ใช้แทนข้าวโพดได้เต็มที่ ทำให้มีการซื้อข้าวโพดไทยกับลดลง จากที่เคยซื้อข้าวโพดต่อวัน 40-50 คิว ลดการซื้อเหลือ 5-20 คิวต่อวันเพราะหันไปใช้ข้าวสาลีแทนมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีข้าวโพดราคา 8 บาทจริง แต่ในช่วงต้นฤดูกาลพ่อค้าก็ซื้อกัน ในราคา 6.80-7.2 0 บาท

ปรากฏว่าช่วงที่ผลผลิตข้าวโพดออกมานำไปขายโรงงานอาหารสัตว์ที่ราคา 8.0 บาท รถบรรทุกข้าวโพดต้องไปนอนรอคิวเพื่อขายราคา 8 บาทต่อกิโลกรัมที่หน้าโรงงาน 8-14 คืนนานเป็นประวัตการณ์

พอถึงวันที่ต้องใช้ข้าวโพดที่ซื้อมา หากคุณภาพเปลี่ยนก็ถูกตีกลับต้องไปขายราคาลดลงเหลือ 6-6.20 บาทต่อกิโลกรัม จนทำให้เกิดการสับสนในระบบซื้อขายอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน นั่นเป็นเพราะในช่วงนั้น พ่อค้าคนกลางกลัวซื้อแล้วไม่มีที่ขาย บางรายกลัวจนต้องหยุดซื้อ เนื่องจากเกรงว่าถ้าซื้อแล้วไม่มีใครกล้าซื้อราคาสูง ส่งผลต่อเกษตรกรกลัวขายข้าวโพดไม่ได้ ต้องวิ่งหาที่ขาย

เหตุนี้เองเห็นได้ชัดว่าการนำข้าวสาลีมาทุ่มตลาดข้าวโพดไทยอย่างชัดเจน ไม่เพียงข้าวสาลีเท่านั้นที่เข้ามา ยังมีกากข้าวโพด(DDGS)ที่มีราคาถูก และรำข้าวสาลีที่เก็บภาษีถูกลงมาใช้แทนวัตถุดิบที่ได้จากเกษตรกรไทยอีกด้วย

พอถึงฤดูกาลนี้ 2560/61 ราคาข้าวโพดมันสำปะหลังราคาดีผลจากรัฐมีมาตรการ 3:1 เพื่อปกป้องเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด ทำให้เกษตรกรที่เก็บเกี่ยวข้าวโพดในช่วงเดือน พ.ย.และ ธ.ค. ขายราคาได้ถึงกิโลกรัมละ 8.5 ถึง 9.10 บาท ขณะที่ฤดูกาลก่อน ขายได้เพียงกิโลกรัมละ 6 บาท

มันสำปะหลังก็ราคาดีขึ้นมาก พ่อค้าคนกลางท้องถิ่นต่างแข่งขันกันซื้อของจากเกษตรกรอย่างรุนแรง ตรงกันข้ามราคาหมูหน้าฟาร์มที่ราคาตกต่ำลง ผลจากการมีการเลี้ยงเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

จุดนี้เอง ทำให้การเรียกร้องจากสมาคมเกี่ยวกับการธุรกิจการเลี้ยงสัตว์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายของธุรกิจขนาดใหญ่ต่างเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรการการนำเข้าข้าวสาลี 3 ต่อ 1 เพื่อลดต้นทุนอาหารสัตว์จะเป็นการแก้ปัญหาถูกทางหรือไม่ เพราะการแก้ไขปัญหาราคาหมูตกต่ำไก่ถูกลงไม่ใช่เป็นเพราะข้าวโพดราคาสูง แต่เป็นเพราะมีการเพิ่มปริมาณเลี้ยงกันมากขึ้นทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน

การเปิดเสรีข้าวโพด และข้าวสาลี ไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาหมู ไก่ ถ้ารัฐบาลแก้ปัญหาหมู ไก่ ขาดทุนไม่ได้ จะกระทบไปถึงเกษตรกรผู้ปลูกพืชวัตถุดิบ เหมือนปีก่อนหน้า ต้องมีหรือไม่

ก่อนที่จะมีการลดภาษีข้าวสาลี เคยมีปรากฏการณ์หมูไก่ราคาตกต่ำมาแล้วตามวงจรชีวิตธุรกิจจัดการที่มีการเลี้ยงที่มากขึ้น ดังนั้น อย่าให้คนไทยนำเข้าข้าวสาลีมาทุ่มตลาดทำลายโอกาสของคนไทยด้วยกันอีกเลย

ถ้าไม่พอใช้ให้มาใช้ปลายข้าวไทยที่ยังมีอยู่ในคลังกลางที่ยังไม่ประมูล มันสำปะหลังไทยผสมกับปลาป่นจากถั่วเหลืองเหมือนที่เคยเป็นมาไม่ดีกว่าหรือแล้วนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศทดแทนส่วนที่ขาดเท่านั้น

จากที่ผ่านมา ในวงการค้าข้าวโพดต้องไม่ลืมว่าสภาวะราคาตลาดข้าวโพดไทย ซึ่งอำนาจการกำหนดราคาและเงื่อนไขการซื้อขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ที่โรงงานอาหารสัตว์รายใหญ่มากกว่าไม่ใช่พ่อค้าคนกลางพ่อค้าคนกลางเป็นเพียงผู้ซื้อดูตามราคาโรงงานอาหารสัตว์กำหนด ส่วนเกษตรกรยิ่งไม่สามารถกำหนดราคาขายเองได้ เป็นเพียงผู้รอดูว่าราคาที่กำหนดมาจะขายได้ราคาเท่าไหร่

อย่างไรก็ตามทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องไม่อคติไม่โยนบาปควรหันหน้าเข้าหากันเพื่อช่วยกันหาพัฒนาโอกาสทางอาชีพให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้กับทุกฝ่ายอย่างสมดุล

โดย... สมาคมการค้าพืชไร่