2561 ปีแห่งความผันแปร ที่ SMEs ต้องระมัดระวัง

2561 ปีแห่งความผันแปร ที่ SMEs ต้องระมัดระวัง

คุณกุลยา ตันติเมท โฆษกกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์พิเศษเครือเนชั่น ถึงภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีที่ผ่านมาเชื่อว่าจะเติบโตได้ 4%

และคาดว่าในปี2561จะเติบโตอย่างสดใส 4%โดยมีปัจจัยหลักในการสนับสนุนคือการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก การลงทุนภาครัฐ การลงทุนภาคเอกชน และการท่องเที่ยว โดยจะเดินหน้านโยบายการคลัง ที่จะเน้นไปที่การดูแลระดับรากหญ้า ซึ่งนโยบายช่วยคนจนเฟสสองจะเริ่มเดินหน้าหลังปีใหม่ โดยจะเป็นนโยบายที่ช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านโอกาสต่าง ๆ

หากพิจารณาในแง่ของGDPผมเชื่อว่าน่าจะมีโอกาสเติบโตได้ตามที่คาดหวัง เนื่องจากรัฐบาลได้ทุ่มเม็ดเงินจำนวนมาก ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ในปีงบประมาณ2558-2560การให้ความช่วยเหลือกับผู้มีรายได้น้อย-เกษตรกร-และประชาชนกลุ่มต่าง ๆมีจำนวนสูงถึง1,411,545.2ล้านบาท โดยแยกเป็นมาตรการลดค่าครองชีพประชาชน12,736.4ล้านบาท ด้านการศึกษา381,503.6ล้านบาท การบริการทางสาธารณสุข377,300.9ล้านบาทประกันสังคม94,965.9ล้านบาท เงินอุดหนุนกองทุนช่วยเหลือทางสังคมกลุ่มต่าง ๆ381,073.4ล้านบาท การให้ความช่วยเหลือภาคการเกษตร163,965.0ล้านบาท เม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่บวกกับการลงทุนภาคเอกชนจึงเป็นตัวMultiplierที่ทำให้GDPเพิ่มสูงขึ้น

สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือปัญหาที่คุณกุลยาฯ ตั้งข้อสังเกต ที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้สึกว่าเศรษฐกิจดีซึ่งเป็นเพราะธุรกิจขนาดใหญ่ได้รับผลประโยชน์ โดยจะเห็นว่าภาคอุตสาหกรรมเพียง5%แรกที่ขยายตัวได้ดี กินสัดส่วนการส่งออกไปถึง80% ขณะที่การท่องเที่ยวก็ขยายตัวเฉพาะในเมืองหลักเท่านั้น โดยเฉพาะภาพของธุรกิจSMEsในปีที่ผ่านมา คุณดารณี แซ่จู ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ธปท ได้ประเมิน NPLของธนาคารพาณิชย์ จะปรับขึ้นสูงสุดในไตรมาส 4ของปี2560อยู่ที่ประมาณ3%หรือ4.28ล้านบาท โดยสิ้นไตรมาส 3ของปี2560สัดส่วนNPLต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่2.97 %โดยSMEsมีอัตราส่วนNPLมากที่สุด4.13%ขณะที่สินเชื่อรายย่อยNPLอยู่ที่2.74%รายใหญ่NPLอยู่ที่1.69%

ข้อมูล ณ สิ้นปี2559จำนวนSMEsไทย3,004,679ราย จำนวนการจ้างงาน11,747,093คน เป็นธุรกิจส่วนบุคคลสูงถึง2,285,731ราย ส่วนใหญ่ต้องพึ่งพิงเงินกู้นอกระบบที่อัตราดอกเบี้ยสูงมาก ผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาNPLที่แท้จริงของ SMEsทั้งหมดจึงสูงกว่านี้มาก

การที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะเน้นให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการSMEsเป็นหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยมีการออกมาตรการต่าง ๆ ออกมามากมาย โดยเฉพาะมาตรการทางด้านการเงิน ที่ผ่านธนาคารของรัฐในการสนับสนุนสินเชื่อต่าง ๆ และยังพยายามให้ธนาคารพาณิชย์เอกชนให้ความช่วยเหลือSMEsมากขึ้น จึงควรมีการทบทวนว่าทำไม สถานการณ์SMEsไทยในปัจจุบันจึงไม่ดีขึ้น เม็ดเงินที่ใส่ลงไปทั้งหมด ถึงมือSMEsจริงหรือไม่ การช่วยให้SMEsอยู่รอดได้ก็เท่ากับช่วยให้แรงงานในภาคSMEsกว่า11ล้านคน อยู่รอดได้ ดีกว่าการแจกเงินอย่างแน่นอน

สำหรับท่านผู้ประกอบการSMEs ทุกท่านปี2561เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงผลิกผันที่มีความไม่แน่นอนสูงมาก ทั้งปัจจัยทางด้านการเมือง การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบต่าง ๆ ที่จะทำให้SMEsเข้าถึงแหล่งทุนลำบากยิ่งขึ้น ความเสี่ยงจากความผันผวนในระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก ราคาสินค้า อัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ล้วนเป็นข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงเป็นความผันแปรผิดปกติ ที่พึงระมัดระวัง การมีสติในการดำเนินธุรกิจ ท่ามกลางความเสี่ยงมากมาย ที่ยังคงมีโอกาสเสมอ ทิศทางเทคโนโลยี4.0ที่แพร่ขยายอย่างต่อเนื่องเป็นประโยชน์ต่อSMEsรูปแบบเศรษฐกิจแบ่งปัน หรือSharing Economyการใช้Social Mediaเป็นช่องทางการตลาด การเช่าCloud Serverโดยไม่จำเป็นต้องทุนในServerทำให้ไม่ต้องลงทุนจำนวนมาก เป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการSMEsต้องหาความรู้ครับ

สัจธรรมจาก ชาลส์ ดาร์วิน บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์ ที่กล่าวว่า ไม่ใช่คนที่บึกบึนแข็งแกร่ง หรือชาญฉลาดที่สุดที่จะยังชีพอยู่รอดได้ คนที่อยู่รอดได้ คือคนที่สามารถปรับตนเองได้ในทุกภาวะ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ยังคงเป็นจริงเสมอ

ขอให้ท่านผู้ประกอบการSMEsมีสุขภาพร่างกายที่เข้มแข็ง และรักษาสุขภาพธุรกิจให้อยู่รอดปลอดภัยในปี2561ครับ..