“เอส เอ็ม อี” ทำได้ กรณีศึกษา“ไทยเท็คโนกลาส” (จบ)

“เอส เอ็ม อี” ทำได้ กรณีศึกษา“ไทยเท็คโนกลาส” (จบ)

BSGGLASS ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมมาก เศษแก้วเหลือทิ้งในกระบวนการผลิตเดือนละเกือบ 40 ตัน

และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากกระบวนการผลิตสินค้าในหลายผลิตภัณฑ์ เป็นภาระในการขนส่งและใช้สถานที่ในการฝังกลบ ได้ถูกนำมามาทำการวิจัยและพัฒนาอย่างจริงจัง 

การทำธุรกิจของ BSGGLASS ไม่ได้มุ่งเน้นแต่เพียงการแสวงหากำไรสูงสุดเท่านั้น แต่ต้องการที่จะแสวงหาความเป็นเลิศขององค์กรด้วย งานวิจัยบ้านปะการังจากเศษแก้วเหลือทิ้ง เป็นอีกผลงานหนึ่ง ที่ประสบความสำเร็จ ในการที่จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะเศษแก้วทำมาจากทราย เมื่อนำกลับสู่ท้องทะเล จะถูกแปรรูปเป็นหินที่จะกลายเป็นบ้านหลังใหม่ของปะการัง และอาจเป็นความหวังในการแก้และหยุดยั้งปัญหาปะการังฟอกขาวได้ในอนาคต

Bugbeat หินดูดซึมน้ำสูง ที่ทำจากเศษกระจกเหลือทิ้งเป็นอีกผลงานหนึ่ง ที่ใช้นวัตกรรม ในการต่อยอดให้เกิดมูลค่าเพิ่มจากเศษกระจกเหลือทิ้ง ด้วยการนำมาอัดขึ้นลูกด้วยความร้อน มีคุณสมบัติในการดูดซึมน้ำ หยดด้วยน้ำมันระเหย 12 กลิ่น บรรจุในเครื่องจักสานเป็นการนำงานนวัตกรรมมาผสมผสานกับวัฒนธรรมจักสานของไทย เป็นเครื่องหอมรูปแบบใหม่ ที่ไม่เคยมีมาก่อน จนได้รับรางวัลการออกแบบผลิตภัณฑ์ระดับโลก G-Mark จากประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบัน Bugbeat มีจำหน่ายในห้งสรรพสินค้าชั้นนำ อาทิเช่น Kingpower, Siam Discovery, Siam Paragon และ Central Embassy เป็นต้น

สำหรับสินค้าใหม่ในหมวดต่าง ๆ ที่กำลังจะออกวางจำหน่ายที่ BSGGLASS มุ่งหวังว่าจะเป็นสินค้าระดับโลก เป็นผลิตภัณฑ์นวัตรกรมที่เกิดจากฝีมือของคนไทย คือ 3D-Foldable Glass แผงกระจก 3 มิติ เป็นผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นขึ้น โดยร่วมมือกับสถาปนิกชื่อดัง All (Zones) ผ่าน TCDC ที่ได้รับการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์แล้ว และยังได้วางเป้าหมายในการพัฒนากระจกให้เป็นกระจกอัจฉริยะที่สามารถเชื่อมโยงวิถีชีวิตไว้บนผิวสัมผัสกระจก สามารถเปลี่ยนสภาพได้ตามอารมณ์ความรู้สึกของผู้ใช้ เป็นส่วนหนึ่งในการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในบ้านได้

BSGGLASS เป็นหนึ่งในต้นแบบขององค์การนวัตกรรมที่เป็นของคนไทย เป็นกรณีศึกษาที่ผมนำเสนอเพื่อให้ท่านผู้ประกอบการเกิดแรงบันดาลใจในการให้ความสำคัญกับนวัตกรรม

อย่างจริงจัง ซึ่งในทุกอุตสาหกรรมสามารถประสบความสำเร็จได้ จากรางวัลนวัตกรรมที่ชนะเลิศด้านเศรษฐกิจ ประจำปี 2559 บริษัท คลีน กรีนเทค จำกัด ที่ทำธุรกิจเกษตรและอาหาร ได้เสนอผลิตภัณฑ์ไข่ออกแบบได้เป็นนวัตกรรมระดับโลกที่สร้างระบบ (System) และการปฎิรูป (Revolution)ที่ทำให้ธุรกิจเกษตรและอาหารเปลี่ยนแปลงอย่างน่าสนใจ ซึ่งท่านผู้ประกอบการสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจของท่านได้

การที่จะขับเคลื่อนภาคอุตสากรรมไทยให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรม จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน รัฐบาลควรมีมาตรการช่วยเหลือในรูปแบบของเงินทุนสนับสนุนและมาตรการทางด้านภาษีที่มากกว่าเดิมสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทุกแห่งที่กระจายอยู่ทัวประเทศ ควรให้ความร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมในทุกจังหวัด เพื่อผลักดันให้มีบริษัทนวัตรกรมในทุกพื้นที่

สวัสดีปีใหม่ 2561 ท่านผู้ประกอบการ SMEs ทุกท่าน ขอให้ประสบความสำเร็จในการใช้นวัตกรรมในการดำเนินธุรกิจครับ...