“เตรียมรับกับเทรนด์รุ่ง เรียนรู้จากสิ่งร่วง”

“เตรียมรับกับเทรนด์รุ่ง เรียนรู้จากสิ่งร่วง”

ช่วงสิ้นปีแบบนี้ถือเป็นเวลาดีในการทบทวนสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในแวดวงธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีตลอดปี 2560 ที่ผ่านมา

สิ่งที่น่าสนใจและเห็นได้ชัดที่สุดจากปีที่ผ่านมาคือ ทุกองค์กรธุรกิจต่างหันมาให้ความสนใจกับเรื่องของ Digital Transformation หรือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเพิ่มศักยภาพในการทำงาน นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่

สำหรับวงการสตาร์ทอัพทั่วโลก ในปี 2560 มีหลายรายที่ต้องปิดตัวลง โดยสื่อเจ้าดังในต่างประเทศอย่าง Forbes และอีกหลายๆสำนัก ได้ออกมาพูดถึงกรณีศึกษาจากความล้มเหลวที่น่าสนใจไว้หลายราย เรียกได้ว่า 90% ของสตาร์ทอัพทั่วโลกมักจะล้มเหลว และมีเพียงไม่กี่รายที่อยู่รอด

สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากความล้มเหลวเหล่านี้ คงหนีไม่พ้นเรื่องของความจริงใจ ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด และอีกเรื่องสำคัญ คือ ถึงแม้เงินทุนจะเป็นปัจจัยที่สำคัญ แต่ก็ไม่ใช่คำตอบของทุกอย่าง หลายรายระดมเงินได้แต่กลับไม่สามารถทำให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการเป็นที่นิยม นอกจากนี้ การมีฐานลูกค้าที่ใหญ่หรือเป็นเจ้าแรกในตลาดไม่ได้การันตีความอยู่รอดเสมอไป 

สำหรับโลกเทคโนโลยีนั้นยิ่งทำได้เร็วยิ่งได้เปรียบ นั่นหมายรวมถึงการนำเสียงตอบรับทั้งดี และไม่ดีไปพัฒนาต่อยอดให้ได้เร็วที่สุดอีกด้วย เพราะสุดท้ายแล้วตลาดจะเป็นผู้เลือกผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการได้ดีที่สุดในราคาที่เหมาะสมที่สุดเสมอ อย่างไรก็ดี เรามี 7 เทรนด์หลัก ที่เชื่อว่าจะประโยชน์ต่อการทำธุรกิจในปี 2561 ดังนี้

1.การยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าด้วยระบบอัจฉริยะ เช่นการนำ เอไอ , แมชชีน เลิร์นนิ่ง เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ 2.ไอโอที จะพาไปสู่ยุคคอมพิวติ้ง และ 5จี ทั้งนี้ : การ์ทเนอร์ ระบุว่า ปัจจุบันมีไอโอที ทั่วโลกแล้วกว่า 8.4 พันล้านเครื่อง และจะสูงถึง 5 หมื่นล้านเครื่องในปี 2563 จนมีข้อมูลอีกมหาศาลให้ประมวลผลเพื่อเพิ่มศักภาพของธุรกิจ จึงต้องมีการจัดการวิเคราะห์ข้อมูลที่ดี ทำให้เกิด Edge Computing หรือการประมวลผลบน LAN (Local Area Network) ขึ้น และไอโอทีเหล่านี้ จะทำงานได้ดีก็ต้องมี 5จีเข้ามาช่วย

3.แบรนด์จะปังต้องอาศัยเรียลไทม์ และ คอมมูนิตี้ การ Live VDO เป็นวิธีที่ได้ผลดีเป็นพิเศษ และช่วยให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย 

4.การตัดตัวกลางและเพิ่มประสิทธิภาพด้วยบล็อกเชน 5.เสริมศักยภาพและความเชื่อมั่นด้วยดาต้า อะนาไลติกส์ และไซเบอร์ ซิเคียวริตี้ จะต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างชาญฉลาดผ่านเอไอ ที่สำคัญต้องมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างปลอดภัยเพื่อให้ความมั่นใจแก่สังคม 6.ประสบการณ์ที่เสมือนจริงยิ่งขึ้น : การผสมผสานวีอาร์ และเออาร์เข้าด้วยกัน ในส่วนของวีอาร์ จะได้เห็นการพัฒนาในฝั่งของอุปกรณ์หรือผู้ให้บริการ แต่บททดสอบที่แท้จริงของความยั่งยืนของเทคโนโลยีนี้ คือ คอนเทนต์และการใช้งานที่ครอบคลุมมากไปกว่าความบันเทิง และ 7. MillennialsกับการรับมือGen Z: ประชากรชาวGen Z จะเริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต และ Millennials จะต้องเป็นผู้รับมือโดยตรงกับคลื่นลูกใหม่นี้ ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่าเราควรรับมือกับประชากรที่โตมากับโลกดิจิทัลอย่างไร เพราะในแง่ของการบริหารทรัพยากรบุคคลรุ่นนี้ ค่าตอบแทนที่สูงอาจไม่ใช่คำตอบอีกต่อไป

ดังนั้น การรักษาความอยู่รอดและเติบโตขององค์กรในโลกยุคดิจิทัลนั้นไม่ง่ายเลย เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่หยุดนิ่งหรือวิ่งช้าลง ก็อาจจะถูกกระแสแห่งเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงพัดพาไปไกลจากจุดหมายได้อย่างไม่ทันรู้ตัว องค์กรจึงจำเป็นต้องเรียนรู้จากความล้มเหลวทั้งของตนเองและผู้อื่น ซึ่งถือเป็นบทเรียนสำคัญต่อการพัฒนาธุรกิจ