‘ธรรมาภิบาล’กับการวิเคราะห์บริษัท

‘ธรรมาภิบาล’กับการวิเคราะห์บริษัท

‘ธรรมาภิบาล’กับการวิเคราะห์บริษัท

ธรรมาภิบาล (Corporate Governance : CG) คือการบริหารจัดการบริษัทที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย” ถือว่าเป็นส่วนสำคัญต่อการวิเคราะห์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐานมากพอดู ยิ่งถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่า ข้อมูลต่างๆ ในงบการเงินที่เราใช้ในการวิเคราะห์นั้น เป็นข้อมูลที่บริษัทมีโอกาสในการตกแต่ง หรือบิดเบือนข้อมูลได้ง่าย ฉะนั้นแล้วภายใต้งบการเงินที่สวยหรู แท้จริงแล้วอาจจะแฝงไปด้วยเงื่อนงำ ที่จะส่งผลเสียตามมาภายหลังได้อย่างมากมาย ดังที่ผมกำลังจะกล่าวถึงดังต่อไปนี้ ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นบทเรียนที่เกี่ยวกับ CG ได้ชัดเจนมากที่สุด นั่นก็คือ Enron Corporation บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานในสหรัฐฯ ที่ปัจจุบันนี้เหลือเพียงชื่อและประวัติศาสตร์ไว้ให้นักลงทุนรุ่นหลังได้ศึกษาเท่านั้น

Enron Corp คือใคร ?

Enron Corporation คือบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับพลังงาน ของสหรัฐอเมริกา โดยในยุครุ่งเรื่องของบริษัท Enron ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทอันดับ 7 ที่ใหญ่ที่สุดในโลก นักลงทุนในอเมริกา รวมถึงคนธรรมดาทั่วไป ไม่มีใครไม่รู้จักบริษัทแห่งนี้ โดยในช่วงปี 1999 – 2001 เป็นช่วงที่บริษัทดำเนินธุรกิจเชิงรุกมาก ๆ ทั้งการเข้าไปซื้อบริษัทเล็ก บริษัทน้อย ขยายธุรกิจครอบคลุมไปทุกสายพลังงาน พร้อมกับภาพฝันสวยหรูที่ผู้บริหารสร้างไว้ จนราคาหุ้นของ Enron เคยปรับขึ้นจากราคาหุ้นละ 20$ ไปเป็น 90$ ภายในระยะเวลาเพียง 3 ปีเท่านั้น

การตบตานักลงทุนทั่วโลก…ครั้งประวัติศาสตร์

การดำเนินธุรกิจเชิงรุกและมีความเสี่ยงสูงของ Enron เข้าไปช็อปบริษัทนั้น บริษัทนี้ กลายเป็นการลงทุนในบริษัทที่ไม่มีคุณภาพ และการดำเนินธุรกิจซื้อขายไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติก็ทำโดยที่ไม่มีสินทรัพย์อะไรมารองรับ สุดท้ายก็ขาดทุน และเลือกเดินทางสายเดียวกับอนาคิน คือแทนที่จะต่อต้านด้านมืด กลับเลือกที่จะเข้าร่วมซะงั้น เพราะไปแก้ปัญหาด้วยการตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเป็นผู้ถือภาระหนี้สิน และทำให้รายได้ของ Enron สูงเกินความเป็นจริง ไม่ต้องรับรู้ภาระหนี้สิน แถมยังใช้ความสัมพันธ์กับกลุ่มบุคคลภายในรัฐสภาของสหรัฐฯ เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากกลต. อีก

สุดท้ายกว่าที่นักลงทุนจะรู้ความจริง แม่น้ำปิงก็แห้งเหือดเสียแล้ว เพราะหลังจากที่ความลับแตก ราคาหุ้น Enron ก็ร่วงกราวลงมาจาก 90$ เป็น 0.01$ ใครไม่ขาย ไม่ Cut Loss ก็ขาดทุนไปเบา ๆ 99.99% เป็นการสร้างดอยจากการลงทุนที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นอเมริกา แถมทำเอาพนักงานตาดำ ๆ ของ Enron ต้องตกงานกว่า 20,000 คน เพราะถูกศาลสั่งบริษัทล้มละลาย ปิดฉากบริษัทในตำนานด้านมืดอย่าง Enron Corporation ครับ

‘ธรรมาภิบาล’กับการวิเคราะห์บริษัท

(ราคาหุ้นของ Enron หลังจากความลับแตก)

‘ธรรมาภิบาล’กับการวิเคราะห์บริษัท

(ภาพซ้าย Kenneth Lay ผู้ก่อตั้งบริษัท Enron ที่เมื่อปี 2001 เป็นบริษัทที่ถูกเสนอชื่อโดยนิตยาสาร Fortune ให้เป็นบริษัทที่น่าทำงานด้วยที่สุด, ภาพขวา พาดหัวข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ปี 2006 หลังจากศาลตัดสิน 2 ผู้บริหารว่ามีความผิด)

เราได้เรียนรู้อะไรจาก Enron ?

จากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ปลุกกระแสบรรษัทภิบาลแก่หลายประเทศทั่วโลก รวมไปถึงประเทศไทยที่ปัจจุบันนี้ กลต. มีส่วนสำคัญที่เข้ามาตรวจสอบและจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เพื่อให้นักลงทุนใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการลงทุน โดยมีการจัดทำระบบการวัดความมีธรรมาภิบาลของบริษัท ผ่าน CG-Score ที่จะวัดคะแนนจากองค์ประกอบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะชน การกระทำต่าง ๆ ของบรรดาผู้บริหาร การทำธุรกิจโดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท และจัดทำคะแนนออกมาเป็น 5 ระดับ แทนที่ด้วยสัญลักษณ์ CG ครับ

‘ธรรมาภิบาล’กับการวิเคราะห์บริษัท

(ตัวอย่าง การจัด CG-Score ของหุ้น AOT ที่เผยแพร่ในเวปไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ)

นับจากเหตุการณ์ของ Enron นั้น อเมริกาก็ให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมาภิบาลเป็นอย่างมาก ถึงขั้นที่ใครที่มีส่วนเกี่ยวของกับความไม่โปร่งใส ต้องรับโทษถึงขั้นติดคุกติดตารางกันเลยทีเดียว กระทั่งนักลงทุนในตำนานอย่าง Warren Buffett ก็ยังยืนยันหนักแน่นว่าตัวเขาจะไม่ขอยุ่งเกี่ยวกับบริษัทที่มีประวัติไม่ชอบมาพากลเรื่องธรรมภิบาล และถ้าเขาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หรือเจ้าของบริษัทแล้วพบว่าผู้บริหาร  “โกง” เขาก็จะ “บีบ” หรือปลดผู้บริหารรายนั้นให้ออกจากบริษัทไป และเคยกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า… “อนาคตของพวกเรา (นักลงทุน) ขึ้นอยู่กับบริษัทเหล่านี้ และบริษัทที่ว่าก็ควรจะบริหารจัดการให้มันมีประสิทธิภาพ โปร่งใส นั่นทำให้คำว่า ธรรมาภิบาล เป็นเรื่องสำคัญของอเมริกันชนทุกคน”