กัมปง ไอเยอร์: หมู่บ้านน้ำแหล่งกำเนิดของประเทศบรูไน (ตอนจบ)

กัมปง ไอเยอร์: หมู่บ้านน้ำแหล่งกำเนิดของประเทศบรูไน (ตอนจบ)

กัมปงไอเยอร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 ในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 กัมปงไอเยอร์ได้รับการคุกคามจากเจ้าอาณานิคมตะวันตกมากขึ้น

ระหว่างการขึ้นครองราชย์ของสุลต่าน ได้ใช้กัมปงไอเยอร์เป็นศูนย์กลางการบริหารหรือที่ทำการรัฐบาล มีบทบาทด้านพาณิชย์นาวี และศูนย์ติดต่อระหว่างบรูไนกับจีน อินเดียและอาหรับ

Edward Belcher นักเดินทางชาวตะวันตกซึ่งเคยมาบรูไนใน ปี ค.ศ. 1843-1846 ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นเมืองที่ตั้งบนน้ำ ตามเรื่องเล่าของนักเดินทางมายังกัมปงไอเยอร์ระบุไว้ว่าตั้งอยู่รอบๆ ตลิ่งแม่น้ำบรูไน มีถนนทอดขนานไปกับแนวแม่น้ำที่เต็มไปด้วยบ้านยกสูงที่วางแผนไว้อย่างดี ก่อนมีการก่อสร้างบ้านขยายตลอดแนวแม่น้ำ แบ่งเป็น 3 แนวกลางแม่น้ำที่ตื้นเขิน แนวริมฝั่งทั้งสองของแม่น้ำ

ตามรายงานการสำรวจครั้งแรกของ M.S.H. McArthur ในปี ค.ศ. 1911 ระบุว่าบรูไนมีประชากรประมาณ 21,718 คน ซึ่ง 3 ใน 4 อาศัยอยู่ในเมืองหลวง ในจำนวนนี้ราว 10,000 คน อาศัยอยู่ในกัมปงไอเยอร์

กัมปง ไอเยอร์: หมู่บ้านน้ำแหล่งกำเนิดของประเทศบรูไน (ตอนจบ)

รูปที่ 1: สภาพหมู่บ้านน้ำที่ยังคงสภาพดั้งเดิม

แม่น้ำเป็นเส้นทางคมนาคมหลักของกัมปงไอเยอร์ การติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียงหรือหมู่บ้านตอนในใช้เรือขนาดเล็กซึ่งเรียกชื่อต่างกัน มีเรือลันจัง (Lancang) หรือกาไร (Garai) เจอกันดง (Gegandong) จัมปง(Jumpung) บีดาร์กูบัง (Bidar Gubang) ตูกัง (Tungkang) หรือ เปอราฮูลาเยอร์ (Perahu Layer) อย่างไรก็ตามการเดินทางระยะไกล ใช้เรืออีกแบบที่เรียกว่า บาฮ์เตอรา (Bahtera) ซีกุนเยอร์ (Sikunyir) และกาปัน ลาเยอร์ (Kapal Layer) 

สุลต่านใช้เรือเจอกันดง ลันจัง กาไร ซีกุนเยอร์ และบาฮ์เตอรา ข้าราชการชั้นสูงใช้เรือเจอกันดง หรือลันจัง สามัญชนทั่วไปใช้เรือชนิดที่เรียกว่า จัมปัง (Jumpung) บีดาร์ (Bidar) กูบัง (Gubang) ตุงกัง (Tungkang) ลาเยอร์ (Layer) และ เปอมูกาตัน (Pemukatan) บ้านสร้างแยกเป็นหลังๆ การไปมาหาสู่กันใช้สะพานไม้เชื่อมต่อแต่ละบ้าน ทางเดินจัดสร้างเป็นช่วงๆ

กัมปง ไอเยอร์: หมู่บ้านน้ำแหล่งกำเนิดของประเทศบรูไน (ตอนจบ)

รูปที่ 2: สภาพหมู่บ้านน้ำที่ยังคงสภาพดั้งเดิม

กัมปงไอเยอร์เป็นที่ทำการรัฐบาล เป็นที่ตั้งของวังสุลต่าน นับตั้งแต่การถือครองตำแหน่งสุลต่านจนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระองค์ให้ข้าราชบริพารตลอดถึงประชาชนเข้าเฝ้าภายในวังในกัมปงไอเยอร์ และให้สร้างบ้านได้ในบริเวณโดยรอบวัง 

จนกระทั่งการขึ้นครองราชย์ของสุลต่านองค์ที่ 6 วังได้ถูกย้ายออกมาตั้งอยู่บริเวณสถานที่ปัจจุบัน เกี่ยวกับพระราชวังโบราณ Edward Belcher ยังบันทึกอีกด้วยว่า..พระราชวังบอเนียว (บรูไน) รวมถึงสิ่งใหญ่โตของเมือง...สร้างอยู่บนโคลนตม ทั้งสองข้างของฝั่งน้ำ  ห้องพระราชบัลลังก์ภายในวังจัดเป็นพื้นที่บัญชาการ การบริหารราชการแผ่นดิน เป็นที่ออกกฎระเบียบ หรือทำสัญญาต่างๆ มีพื้นที่สำหรับให้ประชาชนเข้าเฝ้า

กัมปงไอเยอร์ยังดูคล้ายกับแหล่งอาศัยอื่นๆ ที่มีระบบนิเวศเดียวกัน ดังเช่น หมู่บ้านน้ำ Ganvie ที่ Benin ในแอฟริกาตะวันตก หมู่บ้าน Bajaos ของ Sibutu ในฟิลิปปินส์ และบ้านเสาแน่นใน Banjarmasin ในกาลิมันตัน อินโดนีเซีย 

อย่างไรก็ดีหมู่บ้านเหล่านั้นแตกต่างกับกัมปงไอเยอร์ของบรูไน ซึ่งหลายๆ อย่างยังรักษาลักษณะท้องถิ่นเอาไว้ ในช่วงจักรวรรดิอังกฤษ ปี ค.ศ. 1908 กัมปงไอเยอร์เป็นศูนย์กลางปกครองของบรูไนจนประชากรอยู่กันอย่างหนาแน่น การโยกย้ายแหล่งอาศัยบางส่วนมาตั้งอยู่บนแผ่นดิน 

ปัจจุบันกัมปงไอเยอร์อาจจัดเป็นหมู่บ้านน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก บรูไนเริ่มตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ในปี ค.ศ.1888 ในฐานะรัฐอารักขาด้วยความเต็มใจของสุลต่าน ขุดพบแหล่งน้ำมันเมื่อราว ปี ค.ศ. 1920 จนปี ค.ศ. 1984 บรูไนได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์ จากผลพวงนโยบายพัฒนาตามแนวตะวันตกหลังจากได้รับเอกราช ส่งผลให้ชุมชนกัมปงไอเยอร์มีสภาพบางอย่างแปรเปลี่ยนไป

กัมปง ไอเยอร์: หมู่บ้านน้ำแหล่งกำเนิดของประเทศบรูไน (ตอนจบ)

รูปที่ 3: สภาพหมู่บ้านน้ำที่มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

สภาพกัมปงไอเยอร์เปลี่ยนไปมาจากกระแสการพัฒนา อันเป็นผลจากการขุดพบน้ำมันดิบและแก็สธรรมชาติ นับแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 การเติบโตด้านอุตสาหกรรมของบรูไนนับแต่นั้นมาส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม งานช่างฝีมือลดลง ประชาชนต้องตั้งรับกับวิทยาการใหม่ๆ ทั้งการผลิตและการบริการ ทำให้คนจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่เข้าถึงภาคอุตสาหกรรม 

David Mc Garrigle นักวางผังเมืองที่เคยทำงานด้านสังหาริมทรัพย์บรูไนได้ให้ทัศนะว่า โลกตะวันตกทำให้เกิดแนวคิดน้ำมันนำหน้าเศรษฐกิจ และได้ผลักไปสู่นโยบายระดับชาติที่เรียกว่า “สัญญาแผ่นดินในหมู่สังคมบริโภคนิยม” 

วิสัยทัศน์นี้ถูกสร้างภายใต้วาทกรรมที่ว่าบรูไนร่ำรวยด้วยน้ำมัน และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีรายได้สูงสุดในโลก สภาพชีวิตคนบรูไนและรูปแบบอาศัยที่อยู่ในน้ำเปลี่ยนไปอย่างไม่ทันตั้งตัว เขายังตั้งข้อสังเกตว่าอิทธิพลจากการพัฒนา การรื้อแหล่งที่อยู่อาศัยซึ่งนำไปสู่นโยบายระดับชาติส่งผลต่อคนเก่าที่สูงอายุ เกิดสภาพการช็อกทางวัฒนธรรม (Culture Shock) เพราะแนวทางพัฒนานี้เป็นการเปลี่ยนแปลงสู่การปิดชุมชนน้ำ มีความพยายามจัดการแหล่งอาศัยรูปแบบใหม่ที่อยู่บนดิน ซึ่งได้ทำให้ห่างไกลรูปแบบและประเพณีดั้งเดิม 

การเปลี่ยนแปลงแหล่งที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่เกิดจากสภาพปัญหาการจัดการบนดิน การเปลี่ยนแปลงประชากร จนถึงค่านิยมสมัยใหม่ ที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบทางสถาปัตยกรรม มีการใช้รูปแบบ เทคนิค คอนกรีต เหล็ก อิฐ ไม้เทียม วัสดุใหม่ๆ แทนวัสดุเดิมๆ

 โดย...

ปัญญา เทพสิงห์. เก็ตถวา บุญปราการ. เกษตรชัย และหีม. เจตน์สฤษฏิ์ สังขพันธ์

นักวิจัย ฝ่าย 1 สกว.