วิเคราะห์เศรษฐกิจอินเดียปี 2559 – 2560 (ตอนจบ)

วิเคราะห์เศรษฐกิจอินเดียปี 2559 – 2560 (ตอนจบ)

ต่อเนื่องจากตอนแรกของการวิเคราะห์เศรษฐกิจอินเดีย ปี 2558–2560 ตีพิมพ์เมื่อ 1 พ.ย. 2560ที่พูดถึงประเด็น “GDP ที่แท้จริง” และ “การคลัง"อินเดีย

  1. จุดยืนนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในปี 2017-2018

การทำให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวหลังจากนโยบายยกเลิกธนบัตรจำเป็นต้องอาศัยการสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ เนื่องจากการบริโภคที่ภาวะสมดุลของเงินสดกับอัตราส่วนของ GDP จะลดลงจากก่อนวันที่ 8 พ.ย.2558  อันจะทำให้ธนาคารได้รับประโยชน์จากการที่ผู้คนถูกบังคับให้ต้องฝากเงินผ่านระบบธนาคาร

ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยตลาดในปี 2559-2560 ควรจะลดลงกว่าในปี 2559-2560 ซึ่งจะส่งผลให้มีการขยายการเติบโตของเศรษฐกิจ ผลที่ตามมาคือดอกเบี้ยนโยบาย (policy rate) สามารถลดลงได้โดยไม่จำเป็นต้องผลักดันดอกเบี้ยตลาด 

แน่นอนว่าการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยของราคาน้ำมันและสินค้าเกษตรกรรมจะจำกัดการผ่อนคลายทางการเงิน (monetary easing)

นโยบายการคลังเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจ 

ในปีนี้นโยบายการคลังของรัฐแตกต่างจากเมื่อปีที่แล้วใน 2 มิติ 

มิติแรกคือวงจรเศรษฐกิจที่อ่อนแอจากนโยบายยกเลิกธนบัตร อีกมิติหนึ่งคือ การที่รัฐบาลได้รับความน่าเชื่อถือมากขึ้น เนื่องจากแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการที่มั่นคงของสถานการณ์ทางการคลังใน 3 ปีติดต่อกัน 

การขาดทุนทางการคลังของรัฐบาลอินเดียลดลงจาก 4.5% ของ GDP ในปี 2556-2557 เหลือ 4.1% 3.9% และ 3.5% ใน 3 ปีหลังที่ผ่านมา แต่นโยบายการคลังต้องสร้างสมดุลของวงจรที่จำเป็นอย่างรอบคอบและน่าเชื่อถือในระยะกลาง

การปฏิรูปที่สำคัญที่สุดคือการปฏิรูปโครงสร้าง นอกเหนือจากยุทธศาสตร์ disinvestment หรือการปฏิรูปโครงสร้างภาษี และการอุดหนุนจากภาครัฐอย่างสมเหตุสมผลแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐต้องให้ความสำคัญกับปัญหาดุลบัญชีคู่ (the twin balance sheet problem) เนื่องจากปัญหาดังกล่าวค่อนข้างกว้าง เรื้อรัง และยากจะแก้ไข แม้เศรษฐกิจจะเติบโตและอัตราดอกเบี้ยจะลดลงก็ตาม รัฐบาลอาจต้องพิจารณาถึงภาคเอกชนอย่าง asset reconstruction company เป็นส่วนหนึ่งของการหนึ่งแก้ปัญหา

นอกจากนี้ยังต้องปฏิรูปโครงสร้างแรงงาน จากความยากลำบากในการแก้ไขกฎหมายแรงงาน การให้ความสนใจในการสร้างทางเลือกอื่นสำหรับแรงงานจะช่วยส่งเสริมการแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการด้านแรงงาน 

ทางเลือกดังกล่าวคือการให้แรงงานตัดสินใจว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของ the Employees’ Provident Fund Organisation (EPFO) หรือนายจ้างที่จะเข้าร่วมกับ EPFO หรือ the National Pension Scheme หรือจะเข้าร่วมกับ the Employee State Insurance (ESI) หรือให้ทางเลือกในการประกันสุขภาพอื่นๆ ขณะเดียวกัน ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปในการสร้างหลักประกันว่าทั้งนายจ้างและแรงงานจะปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน

ในส่วนของการใช้จ่ายภาครัฐได้แสดงให้เห็นแล้วว่าโครงการต่างๆ ที่มีอยู่ของรัฐไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้หรือเป้าหมายที่วางไว้นั้นยังไม่เหมาะสม 

รัฐบาลต้องสร้างสรรค์โครงการใหม่ๆ และจะต้องประเมินผลทุกๆ โครงการ อีกทั้งจะต้องยกเลิกโครงการที่ประเมินแล้วว่าไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์

 ////

แปลและเรียบเรียงจาก The Economic Survey of 2016-2017 (http://indiabudget.nic.in)

โดยนายฮากีม ผูหาดา สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงนิวเดลี