สรุปภาพรวมเศรษฐกิจไทย ตลาดเงิน และตลาดทุน ไตรมาส 3 / 2560

สรุปภาพรวมเศรษฐกิจไทย ตลาดเงิน และตลาดทุน ไตรมาส 3 / 2560

สรุปภาพรวมเศรษฐกิจไทย ตลาดเงิน และตลาดทุน ไตรมาส 3 / 2560

GDP ไทยขยายตัวสูงสุดในรอบ 18 ไตรมาส ส่วนตลาดการเงินคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

เศรษฐกิจไทยใน 3Q17 ขยายตัวกว่า 4.3% เร่งขึ้นจาก 3.8% ในไตรมาสที่แล้ว มีการขยายตัวกว่าหลายฝ่ายประเมินไว้ หากรวม 9M17 จะขยายตัว 3.9% หากพิจารณาองค์ประกอบของ GDP ที่ประกอบไปด้วยการบริโภค การลงทุนเอกชน การใช้จ่ายภาครัฐและการนำเข้าส่งออกนั้น มีรายละเอียดดังนี้

ด้านการใช้จ่ายมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวต่อเนื่องของการบริโภคภาคเอกชน ที่มีการปรับตัวที่ดีขึ้นของฐานรายได้ในระบบเศรษฐกิจ รวมถึงการมีอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ต่ำ โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจอยู่ที่ 62.4% ด้านการลงทุน โดยรวมเพิ่มขึ้น 1.2% ปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 0.4% ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว ในเครื่องมือเครื่องจักร ขณะที่ ด้านการลงทุนภาครัฐบาล ปรับตัวลดลงแต่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณการลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ 19.6% ลดลงกว่า 50bps จากอุปสรรคในการก่อสร้างในช่วงฤดูฝนและปัญหาน้ำท่วม ด้านการส่งออกสินค้า มีมูลค่ารวม 61,633 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวสูงสุดในรอบ 19 ไตรมาส ที่ 12.5% ซึ่งมีการกระจายตัวในแต่ละสินค้ามากขึ้น ทั้งในด้านจำนวนสินค้าและตลาดส่งออก ส่วน ด้านการนำเข้าสินค้า มีมูลค่าโดยรวมอยู่ที่ 51,490 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว 13% จากการเพิ่มขึ้นของราคาและปริมาณนำเข้าในทุกหมวดสินค้า สอดคล้องกับการขยายตัวของสินค้าส่งออก ที่มีการปรับตัวดีขึ้นในการลงทุนของภาคเอกชน และการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของอุปสงค์ภายในประเทศ

สำหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดี มีอัตราว่างงานระดับที่ต่ำ 1.2% อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 0.4% ขณะที่เสถียรภาพของระบบการเงินก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดีเช่นกัน จากสัดส่วนหนี้ภาคครัวเรือนเทียบ GDP มีแนวโน้มที่ลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเป็นการลดลงในสินเชื่อเกือบทุกประเภท และการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% (ประชุมครั้งล่าสุด 22 พ.ย. 2560) ดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนปรนต่อไป

จากปัจจัยข้างต้นส่งผลดีต่อตลาดหุ้นไทยในระยะกลาง และจากผลสำรวจIAA ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อตลาดมากที่สุดคือปัจจัยทางด้านการเมือง โดยเฉพาะแนวโน้มการเลือกตั้งในปี 2561 โดยสถิติที่ผ่านมาโดยส่วนมากระดับดัชนีจะมีกลับตัวขึ้นก่อนและหลังการเลือกตั้ง ดังนั้น และการปรับตัวระยะสั้นลงมาของSETในรอบนี้มีแนวรับสำคํญที่ 1,690-1693 เป็นจุดทดสอบการปรับตัวต่ำกว่าลงมาหากเกิดจากปัจจัยภายนอก คาดจะมีแรงซื้อถือระยะกลางเพิ่มเข้ามา โดยกลยุทธ์จะเป็นการตั้งรับตามระดับแนวรับ 1,693-1,690 แนวรับจุดต่ำรอบก่อนหน้า 1,673-1,670 ตามลำดับ สอดคล้องกับภาพรวมเศรษฐกิจไทย ตลาดเงิน ตลาดทุน ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นปัจจัยบวกสนับสนุนการตั้งรับเมื่อSETมีการปรับตัวลง

เมื่อพิจารณาในรายอุตสาหกรรมระยะสั้นในช่วงนี้คงหนีไม่พ้น Topic ใหญ่ในกลุ่มสื่อสารที่พากันปรับตัวลงตามๆกัน ในช่วงที่ผ่าน ไม่ว่าจะเป็น ADVANC TRUE และ DTAC โดยเราได้แบ่งเป็น 3 ประเด็นใหญ่ไว้ดังนี้

ประเด็นแรก กสทช. พิจารณาคลื่น 2300 MHz ของ TOT กล่าวคือ กสทช. ตั้งอนุกรรมการกลั่นกรองด้านโทรคมนาคมมีข้อสงสัยหลายเรื่องในการคัดเลือกให้ DTAC เป็นคู่ค้าในการให้บริการไร้สายคลื่นความถี่ 2300 MHz แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่สามารถลงนามในการเป็นคู่ค้าการให้บริการดังกล่าวได้ โดยให้ TOT เข้ามาชี้แจงในวันที่ 27 พ.ย. นี้ โดยทีโอทีต้องเตรียมเอกสารและข้อมูลมาชี้แจงเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าจะใช้งานคลื่นความถี่อย่างไร หลังจากนั้นจะสรุปผลการพิจารณาเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ กสทช. ในวันที่ 6 ธ.ค. ซึ่งความเห็นของทางฝ่าย ASL research มองว่าเป็นปัจจัยลบต่อ DTAC เนื่องจากมีความล่าช้าที่จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนและการทำสัญญาภายในปีนี้ ทำให้ DTAC มีความเสี่ยงการจัดหาคลื่นที่จะมาทดแทนคลื่นความถี่ 850 และ 1800 Mhz ที่จะหมดสัมปทานในปีหน้า รวมถึงความรุนแรงในการประมูลคลื่นที่จะเพิ่มขึ้น

กอรปกับ ประเด็นที่สอง LINE Mobile ที่ให้บริการโดยกลุ่มดีแทคนั้น กสทช. ได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการบริการดังกล่าวมีลักษณะการประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ไม่มีโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นของตนเอง (MVNO) และให้ปรับปรุงโดยการลงทะเบียนซิมการ์ด ที่เป็นไปตามมาตรฐานพิสูจน์ตัวตนผู้ใช้บริการ การโอนย้ายหมายเลข และโดยเฉพาะการสร้างความใจแก่ลูกค้าว่าบริการ LINE Mobile เป็นบริการของกลุ่มดีแทค และ ประเด็นสุดท้าย ผู้ถือหน่วยลงทุน DIF อนุมัติเข้าลงทุนในสินทรัพย์กลุ่ม TRUE เพิ่มอีกราว 7 หมื่นล้านบาท ซึ่ง TRUE จะเข้าลงทุนงวดแรก 1.3 หมื่นล้านบาท ส่วนงวดที่สองใน 2Q17 มูลค่าประมาณ 5 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการลงทุนเสาโทรคมนาคม และโครงข่ายไฟเบอร์ ส่งผลต่อสินทรัพย์กองทุน DIF เพิ่มขึ้นมาเป็น 1.6 แสนล้านบาท ซึ่งทางฝ่าย ASL research มองว่าเป็นผลดีต่อทั้ง DIF และ TRUE จากการเพิ่มทุนเพื่อการลงทุนครั้งนี้ เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่สร้างรายได้ทันที และเป็นการสร้างโอกาสในการเติบโตของกองทุนอีกด้วย

ระยะสั้น ASL research แนะนำADVANCทางด้านปัจจัยเทคนิค แท่งเทียนปรับตัวขึ้นจากภาวะซื้อที่เพิ่มเข้ามาในระหว่างวัน ขณะที่ Slow stochastic ตัดขึ้นเป็นบวก รวมถึง RSI ที่มีแนวโน้มดีดตัวออกจากเขต Oversold ระยะสั้น แนวรับ 175.00 / 171.00 บาท แนวต้าน 179.00 / 185.00 บาท ตัดขาดทุนหากราคาปรับตัวลงต่ำกว่า 170.00 บาท