อย่าให้ ‘ปรากฏการณ์ตูน’ เป็นแค่กระแส

อย่าให้ ‘ปรากฏการณ์ตูน’ เป็นแค่กระแส

กระแสแห่งความชื่นชมของคนไทยต่อ “ตูน บอดี้สแลม” หรืออาทิวราห์ คงมาลัย ที่ออกวิ่งจากใต้สุดถึงเหนือสุดเพื่อระดมเงินให้กับโรงพยาบาล 11 แห่ง

เป็นปรากฏการณ์ที่ควรแก่การศึกษาและทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งดีงามอีกมากมายในสังคมไทย

อย่าให้ ‘ปรากฏการณ์ตูน’ เป็นแค่กระแส

ความจริงหากฟัง พี่ตูน (ซึ่งกลายเป็นชื่อที่คนทุกวัยเรียกขานแล้ว) พูดไว้หลายประโยค ก็น่าจะที่เข้าใจถึงความมุ่งมั่น ถ่อมตนและทุ่มเทของการทำความดีเพื่อคนอื่นที่ไม่ได้หวังจะได้ประโยชน์กับตน

เพราะนั่นคือการ ทำความดี ของสามัญชนในความหมายที่แท้จริง

ข้อแรก คุณตูนบอกว่าเขาไม่ใช่ ฮีโร่ เพราะวีรบุรุษและวีรสตรีที่แท้จริงนั้นคือคุณหมอและพยาบาลในโรงพยาบาลทั่วประเทศที่ต้องทำงานตรากตรำเหนื่อยยากท่ามกลางความขาดแคลนมากมายทุกชั่วโมงทุกวัน

คุณตูนบอกว่า ผมเป็นเพียงสะพาน ระหว่างประชาชนกับคุณหมอและพยาบาลเท่านั้น

เมื่อประชาชนตะโกน พี่ตูนสู้ๆ เขาก็ขอทำความเข้าใจอีกว่าอย่าได้เชียร์ให้เขาสู้ๆ แต่ควรจะส่งกำลังใจสู้ๆ ไปถึงหมอและพยาบาลที่ทำงานเพื่อดูแลรักษาคนไข้ทุกวัน

อีกวันหนึ่ง คุณตูนบอกว่าประชาชนไม่จำเป็นต้องบริจาคเงินทุกคน ขอให้ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีก็จะเป็นการช่วยกันทำความดีแล้ว

คุณตูนอธิบายว่าหากทุกคนมีสุขภาพดี ไม่ต้องไปใช้บริการโรงพยาบาลที่แออัดยัดเยียดและขาดแคลนทรัพยากรก็เท่ากับเป็นการทำให้คนอื่นที่ป่วยจริงได้ใช้บริการของหมอและพยาบาลอย่างคล่องตัวกว่าที่เป็นอยู่

พอเกิดกระแส “พี่ตูน” ไปทั่วประเทศในระดับที่คาดไม่ถึง ก็มีคนวิเคราะห์ว่าเป็นคนไทยโหยหาวีรบุรุษในยามที่บ้านเมืองขาดแคลนคนทำความดีความงามที่สร้างความอบอุ่นและปลาบปลื้มได้อย่างเต็มภาคภูมิ

นั่นก็อาจจะเป็นหนึ่งในเหตุผลของความความรู้สึก ตื่นตูน แต่เหตุผลอื่นๆ ที่ควรจะนำมาประกอบการพิเคราะห์เรื่องนี้ก็น่าจะเกี่ยวกับการแสดงออกของคุณตูนเองที่มาในรูปของความจริงใจ, อ่อนน้อมถ่อมตนและยื่นมือออกไปหาทุกผู้ทุกนามอย่างเปิดกว้าง

คุณตูนได้กลายเป็นตัวแทนของ สะพาน ที่เชื่อมคนไทยในภาคส่วนต่างๆ ได้อย่างสนิทใจ ทำให้สังคมที่เคยแตกแยกกันหันมาตระหนักว่าเราต่างก็เป็นคนไทยที่มีจิตใจพร้อมจะร่วมกันทำในสิ่งที่ถูกต้องเหมือนๆ กัน

อีกนัยหนึ่งก็คือว่าการกระทำของคุณตูนได้พิสูจน์ว่าหากตัดผลประโยชน์แห่งตนและพวกตนออกไป เลิกคิดแบ่งพวกแบ่งเหล่าตามแนวทางทางการเมืองแล้ว คนไทยทุกหมู่เหล่าก็สามารถเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อย่างไม่มีข้อสงสัยคลางแคลงใด

แต่ที่สำคัญคือเมื่อจบ ปรากฏการณ์ตูน ครั้งนี้แล้ว สังคมไทยจะสามารถต่อยอดความเอื้ออาทรต่อกันให้ยั่งยืนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนไทยได้หรือไม่

คนไทยจะแสดงออกซึ่งความเมตตากรุณาต่อกันโดยไม่ต้องรอให้มี ฮีโร่เกิดขึ้นได้หรือไม่?

ทำอย่างไรเราจึงจะเห็นคล้อยกับคุณตูนว่า “ฮีโร่” ที่แท้จริงคือคนไทยทั้งหลายที่ตั้งหน้าตั้งตาทำหน้าที่ของตนอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อยทั้งๆ ที่ยังขาดแคลนทรัพยากรและงบประมาณ

ปัญหาเรื่องความขาดแคลนงบประมาณและทรัพยากรนั้นไม่ได้มีเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น หากแต่ยังเป็นปัญหาเรื้อรังในหลายๆ จุดของสังคมไทย

อีกด้านหนึ่งของกระแสนี้คือการสะท้อนถึงปัญหาการบริหารงบประมาณของรัฐบาลและระบบราชการที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนและจริงใจ มิใช่หวังจะแก้ปัญหาด้วยเงินบริจาคในลักษณะนี้แต่เพียงอย่างเดียว

กระแส “ตื่นตูน” ครั้งนี้ยังเป็นการส่งสารไปถึงการที่สังคมไทยจำเป็นจะต้องปลุกสำนึกแห่งความเป็น “จิตอาสา” ของทุกหมู่เหล่าที่จะช่วยเหลือกันและกันในชีวิตประจำวันโดยไม่ต้องรอให้มี ปรากฏการณ์ ระดับชาติเช่นนี้แล้วจึงเกิดความตื่นตัวที่จะช่วยเหลือเพื่อนร่วมชาติ

อีกทั้งยังทำให้มีคำถามว่าผู้เป็นเจ้าของความมั่งคั่งในสังคมไทยทั้งห