ศาสตร์พระราชา : ความยุติธรรมมาก่อนกฎหมาย

ศาสตร์พระราชา : ความยุติธรรมมาก่อนกฎหมาย

ในหลวงรัชกาลที่ 9 พ่อหลวงของชาวไทย ทรงพระอัจฉริยภาพในศาสตร์แขนงต่างฯมากมายหลายด้าน ยากที่จะหาบุคคลใดฯมาเทียบได้

พระอัจฉริยภาพอีกด้านหนึ่งคือด้านกฎหมาย ซึ่งเห็นประจักได้จาก พระบรมราโชวาทที่เกี่ยวกับกฎหมายที่พระราชทานในโอกาสต่างมากมาย 

พระบรมราโชวาทหนึ่งในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตร แก่เนติบัณฑิต เมื่องันที่ 7 สิงหาคม2515 มีความตอนหนึ่ง คือ โดยที่กฎหมายเป็นแต่เพียงเครื่องมือในการรักษาความยุติธรรม จึงไม่ควรจะถือว่ามีความสำคัญยิ่งไปกว่าความยุติธรรม หากควรจะต้องถือว่า ความยุติธรรมมาก่อนกฎหมาย และอยู่เหนือกฎหมาย การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีโดนสมบูรณ์ ถือความถูกผิดตามกฎหมายเท่านั้น ดูจะไม่เพียงพอ ต้องคำนึงถึงความยุติธรรมด้วย ซึ่งเป็นจุดประสงค์ด้วยเสมอ การใช้กฎหมายจึงจะมีความหมายและได้ผลที่ควรจะได้

จากพระบรมราโชวาทดังกล่าวข้างต้น ปรมาจารย์ด้านกฎหมายของไทยหลายท่าน ถือว่าเป็นปรัชญากฎหมายที่วงการกฎหมายควรยึดถือ และดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป ช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาก็ปรากฏให้เห็น จากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 มาตรา 197 วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่า “การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาล ซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไปโดยยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์”

สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับปี2560 บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษา อรรถคดี บัญญัติไว้ในมาตรา 188 แต่ก็มีความแตกต่างจากมาตรา 197วรรคแรกของรัฐธรรมนูญปี2550 โดยไม่มีข้อความ “ซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไปโดยยุติธรรม” แต่ในวรรคสอง มีบทบัญญัติเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญปี2550 ที่บัญญัติว่า “ผู้พิพากษาและตุลากรย่อมมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายให้เป็นไปโดยรวดเร็ว เป็นธรรม และปราศจากอคติทั้งปวง” ซึ่งอาจแปลความได้ว่าในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี มิได้พิจารณาเพียงตัวบทกฎหมายเท่านั้น ต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมความยติธรรมด้วย

สำหรับกฎหมายอื่นนอกจากรัฐธรรมนูญ ที่มีบทบัญญัติเรื่องความยุติธรรมเป็นองค์ประกอบไว้ด้วย คือกฎหมายวิธีพิจารณาคดีต่างฯ โดยมีบทบัญญัติ ให้ศาลมีอำนาจในการผ่อนคลายเงื่อนไข ข้อกำหนดต่างฯ จากบทบัญญัติที่กำหนดไว้ ถ้าเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เช่นประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความแพ่ง ซึ่งมีบัญญัติไว้หลายมาตรา เช่น มาตรา 56 เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมไม่ให้คดีล่าช้าศาล มีอำนาจให้คู่ความที่มีปัญหาบกพร่องในความสามารถ ดำเนินคดีไปก่อนชั่วคราว โดยให้แก้ไขความบกพร่องก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา มาตรา93 เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลแทนต้นฉบับเอกสารได้ มาตรา222/20 (2) วรรคสี่ เพื่อประโยชน์แห่งตวามยุติธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้

ในส่วนที่เป็นกฎหมายสารบัญญัติ เช่นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เนื่องจากระบบกฎหมายไทยเป็นระบบประมวลกฎหมาย การพิจารณาพิพากษาคดี จึงต้องเป็นไปตามลายลักษณ์อักษรที่บัญญํติไว้ บทบัญญัติที่มิได้มีถ้อยคำให้คำนึงถึงความยุติธรรมบัญญัติไว้ หากตีความโดยเคร่งครัดก็ไม่อาจนำประเด็นเรื่องความยุติธรรมมาพิจารณาได้ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาศาลไทยก็เคยพิจารณาพิพากษาคดีโดยนำหลักแห่งความเป็นธรรมมาใช้ในการพิจารณาวินิจฉัยคดีอยู่บ้าง ที่ปรากฎล่าสุดคือคดีตามคำพิพากษษฎีกาที่8244/2542

คดีตามคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวมีข้อเท็จจริงโดยสรุปคือ คู่กรณีมีหลายคน มีข้อพิพาทกันเรื่องมรดกที่เกี่ยวพันกันหลายส่วน ได้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการ ขึ้นพิจารณาข้อพิพาท และมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันสำเร็จไปส่วนหนึ่ง คณะอนุญาโตตุลาการได้แต่งตั้งคณะกรรมการเจรจาระงับข้อพิพาท โดยเฉพาะมรดกอีกส่วนหนึ่งที่ยังพิพาทกันอยู่ ในที่สุดมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความจัดการแบ่งทรัพย์มรดกในส่วนนี้เป็นที่เรียบร้อย คณะอนุญาโตตุลาการได้แจ้งคำชี้ขาดให้คู่กรณีทราบแล้ว แต่คู่กรณีคนหนึ่งไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาด คู่กรณี

อีกกลุ่มหนึ่ง จึงยื่นคำร้แองขอให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ คู่กรณ๊ที่ไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดยื่นคัดค้าน

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกคำร้องขอของผู้ร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผู้ร้องฎีกา ศาลฎีกาพิจาณาแล้ว มีคำวินิจฉัยตอนหนึ่งว่า “การที่อนุญาโตตุลาการได้ทำคำชี้ขาดโดยถือตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างคู่กรณีทั้งสองฝ่าย จึงถือว่าได้กระทำไปโดยอาศัยหลักแห่งความยุติธรรมและชอบด้วยพระราชบัญญํติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530มาตรา17แล้ว คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงชอบด้วยกฎหมายและย่อมมีผลบังคับต่อผู้ร้องและผู้คัดค้าน พิพากษากลับ ให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ

ข้อสังเกตุ หากมีปัญหาว่าบทบัญญัติของกฎหมายเมื่อพิจารณาตามตัวอักษร จะขัดแย้งกับความเป็นจริงของบริบทของสังคมและขัดแย้งกับความยุติธรรม ก็น่าจะต้องพิจารณาจากเจตนารมณ ของกฎหมายที่บัญญํติติขึ้นไว้เพื่อความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงของสังคม เพื่อระงับข้อพิพาทให้เกิดความยุติธรรมแก่บุคคล ก็ควรที่จะนำหลักแห่งความยุติธรรมมาใช้ประกหอบการพิจารณาในการระงับข้อพิพาทหรือวินิจฉัยคดีได้