“กฤษณ์โมเดล”

“กฤษณ์โมเดล”

พลิกหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย เวลาพูดถึง “พรรคทหาร” ก็หนีไม่พ้นต้องไปขุดประวัติพรรคเสรีมนังคศิลา ที่มีจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นหัวหน้าพรรค

และพรรคชาติสังคม นำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

อันที่จริง มีอีกโมเดลหนึ่งที่คนไม่ค่อยพูดถึง นั่นคือ กรณี กฤษณ์โมเดล

ปี 2512 จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีสมัยนั้นได้ก่อตั้ง “พรรคสหประชาไทย” ซึ่งมีจอมพลประภาส จารุเสถียร ,พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์เป็นรองหัวหน้าพรรค และ พล.อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์ เป็นเลขาธิการพรรค

หลังเลือกตั้งคราวนั้น พล..กฤษณ์ สีวะรา ผู้บัญชาการทหารบก มอบหมายให้ ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ส.ส.ฉะเชิงเทรา รวบรวม ส.ส.ที่ไม่สังกัดพรรคมาตั้งเป็นกลุ่มการเมืองแบบลับๆ ประมาณ 30 คน ไว้สนับสนุนรัฐบาลถนอม ซึ่งสื่อมวลชนยุคโน้นเรียก ส.ส.กลุ่มนี้ว่า “พรรคผี”

ต่อมา “พรรคผี” สร้างความปั่นป่วนในสภาฯ เล่นเกมต่อรองเอาผลประโยชน์จอมพลถนอมจึงตัดสินใจทำรัฐประหารตัวเอง ในวันที่ 17 พ.ย.2514ซึ่งผลจากการรัฐประหาร เป็นชนวนเหตุของการชุมนุมใหญ่ และเกิดเหตุนองเลือดในวันที่ 14-15 ต.ค.2516

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 “จอมพลถนอม-จอมพลประภาส” ลี้ภัยไปอยู่ต่างแดน จึงเกิด “ศูนย์อำนาจใหม่” อยู่ในมือ พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา ผู้บัญชาการทหารบก

เวลานั้น พล..กฤษณ์ สีวะรา เป็นผู้กำกับการแสดงทั้งในกลุ่มการเมืองปีกขวา และปีกซ้าย

ในสมรภูมิเลือกตั้ง 2518 พล.อ.กฤษณ์ หนุนช่วยพรรคธรรมสังคม ของทวิช กลิ่นประทุม ,พรรคสังคมชาตินิยม ของประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ และพรรคการเมืองเล็กๆ อีก 5-6 พรรค

หลังเลือกตั้ง ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ หัวหน้าพรรคสังคมชาตินิยม รวบรวมเสียงพรรคเล็กพรรคน้อย ตั้งเป็น “กลุ่มร่วมชาติ” เตรียมจัดตั้งรัฐบาลตามแผนการของ พล.อ.กฤษณ์

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคม จึงได้เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีเสียงสนับสนุนจากกลุ่มร่วมชาติ (11 พรรค) และพรรคชาติไทย

โมเดลพรรคทหาร จึงไม่ได้มีรูปแบบเดียว กรณี กลุ่มร่วมชาติอาจเป็นโมเดลพรรคนอมินีที่ บิ๊ก คสช.” แอบคิดอยู่ลึกๆในใจ