เทขายหุ้น ‘ดีแทค’ หลังคืนคลื่นรับรู้ขาดทุน

 เทขายหุ้น ‘ดีแทค’  หลังคืนคลื่นรับรู้ขาดทุน

พิธีกร Stock Gossip by Money Wise ติดตาม live จ-ศ 13.30-14.00 น.

นับตั้งแต่การกลุ่มโทรคมนาคม มีการแข่งขันประมูลคลื่น 4 จี เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มผู้ประกอบการชัดเจน โดยเฉพาะ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC

จากผู้เล่นอันดับ 2 รองจากเอไอเอสร่วงลงมาเป็นผู้เล่นอันดับ 3 หลังส่วนแบ่งการตลาดที่ลดลงตามจำนวนลูกค้า มาอยู่ที่ 23 ล้านเลขหมาย จากเดิม 25 ล้านเลขหมาย โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้ารายใหม่ประเภทเติมเงินที่เห็นการปรับตัวลดลงเกือบตลอดเวลา

ลูกค้า 23 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็นลูกค้า ระบบ รายเดือน 5.5 ล้านเลขหมาย ระบบเติมเงิน 17.5 ล้านเลขหมาย โดยมีลูกค้ารายใหม่ในระบบรายเดือน 1 แสนเลขหมาย แต่ระบบเติมเงินลดลง 6 แสนเลขหมาย เป็นการลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ลดลง 8 แสนเลขหมาย ซึ่งสะท้อนการแข่งขันที่ด้อยลงของดีแทคได้เป็นอย่างดี

จากกำไรใน 9 เดือน ปี 2560 ที่ประกาศออกมาอยู่ที่ 1,572 ล้านบาท ลดลง 23 % จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไร 2,055 ล้านบาท ท่ามกลางการลงทุน 12,500 ล้านบาท จากเป้าหมายทั้งปีที่ 17,000 – 20,000 ล้านบาท

หากดูจากคลื่นในการบริหารแล้วมีความเสี่ยงกว่ารายอื่น เพราะดีแทคไม่ได้คลื่นใหม่มา บริหารในการประมูลรอบที่ผ่านมา ส่วนคลื่นเดิมที่มีอยู่กำลังจะหมดอายุสัปทานลงไปทุกที

ปัจจุบันคลื่นที่มีอยู่มีคือ 850 เมกะเฮิรตซ์ มีความกว้างอยู่ประมาณ 10 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะหมดอายุสัปทานในปี 2561 คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ มีความกว้าง 25 เมกะเฮิรตซ์ จะหมดอายุในปี 2561 เช่นกัน และคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ มีความกว้าง 15 เมกะเฮิรตซ์ หมดอายุในปี 2570

ทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ประกาศเกณฑ์ประมูลคลื่นดังกล่าวออกมาแล้วว่าจะมีการเปิดประมูลในเดือน มิ.ย ปี 2561

สำหรับคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 10 เมกะเฮิรตซ์นำมาปรับให้เป็นคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเหลือจำนวนใช้งานเพียง 5 เมกะเฮิรตซ์ ส่วน 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 45 เมกะเฮิรตซ์ โดยคาดว่าใช้ราคาตั้งต้นสูงเหมือนการประมูล 4 จีรอบหลังสุด คือ 37,900ล้านบาท ต่อ 5 เมกะเฮิรตซ์ ในระยะเวลาใช้คลื่น 15 ปี

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคลื่นที่ดีแทคมีทั้งหมด 50 เมกะเฮิรตซ์ แต่จะหมดอายุลงในปีหน้าพร้อมกันสองคลื่น ทำให้หายไป 35 เมกะเฮิรตซ์ เหลือเพียงให้บริการ 15 เมกะเฮิรตซ์ จึงไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าอย่างแน่นอน

ก่อนหน้านี้ดีแทคได้ปรับการบริหารคลื่นที่หายไปด้วยการทำสัญญาเช่าคลื่น 2300 เมกะเฮิรตซ์ และรับซื้อความจุโครงข่าย 60% จากความจุโครงข่ายทั้งหมด กับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ซึ่งคิดเป็นรายจ่ายต่อปีที่ 4,510 ล้านบาท โดยจะมีการทำสัญญาภายในไตรมาส 4 ปี 2560

บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย ) ประเมินว่าหลังจากคืนคลื่นความ

ถี่ไปดีแทคไม่ต้องมีภาระค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์โครงข่ายที่อยู่ในสัญญากับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (CAT) หลังสิ้นอายุสัมปทานเดือน ก.ย. ปี 2561 แต่คาดว่าดีแทคจะเจรจาทำสัญญาเช่าอุปกรณ์กลับอยู่ดี

ส่วนการประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 45 เมกะเฮิรตซ์ และคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 5 เมกะเฮิรตซ์ ที่ทาง กสทช .จะเปิดประมูลรอบใหม่นั้น เชื่อว่าดีแทคต้องการอยากได้ทั้งสองคลื่น เนื่องจากเป็นความถี่เดิมที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามประมาณการณ์สมมุติฐานว่าหากดีแทคได้มาเพียงคลื่นเดียว น่าจะเป็นคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ เพราะเป็นคลื่นความถี่ต่ำที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานมากกว่า คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่สามารถทดแทนได้จากการมีคลื่น 2300 เมกะเฮิรตซ์

ดังนั้นดีแทคมีความเสี่ยงจากศึกชิงคลื่นความถี่ และการเสียฐานลูกค้า หากได้คลื่น 2300 เมกะเฮิรตซ์ มาบริหารมีโอกาสยกระดับคุณภาพบริการระบบ 4 จี ปรับราคาพื้นฐานปีหน้าอยู่ที่ 56 บาท

บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ (ประเทศไทย) กลับมีมุมมองว่าดีแทคพลิกกลับมามีกำไรได้ในปี 2562 ที่ 2,500 ล้านบาท เพราะไม่มีค่าใช้จ่ายสัปทานที่ต้องจ่ายค่าส่วนแบ่งรายได้และค่าเสื่อมเป็นปีแรก แต่ในปี 2561 จะรับรู้ขาดทุน 2,500 ล้านบาท จากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับการเช่าโครงข่ายกับทีโอที 4,500 ล้านบาท และ CAT ที่ 1,100 ล้านบาท ดังนั้นจึง แนะนำ ‘ขาย’ ที่ 41 บาท