วิเคราะห์เศรษฐกิจอินเดียปี 2017 – 2018

วิเคราะห์เศรษฐกิจอินเดียปี 2017 – 2018

ในการวิเคราะห์เศรษฐกิจอินเดียในปี 2017-2018 โดยเฉพาะ GDP จำเป็นต้องพิจารณาองค์ประกอบของแต่ละอุปสงค์มวลรวมต่อไปนี้:

GDP ที่แท้จริง

การส่งออก การบริโภค การลงทุนภาครัฐและเอกชน

การส่งออกของอินเดียกำลังอยู่ในช่วงฟื้นฟูจากการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับโลก มีการคาดการณ์ว่าการฟื้นฟูดังกล่าวจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องตั้งแต่หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาและการกระตุ้นทางการคลัง (fiscal stimulus) รายงานคาดการณ์เศรษฐกิจ World Economic Outlook ที่จัดทำโดย IMF เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาได้ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโตขึ้นจากร้อยละ 3.1 เมื่อปี 2016 เป็นร้อยละ 3.4 ในปี 2017 โดยมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกันของประเทศพัฒนาแล้ว (advanced economies) จากร้อยละ 1.6 เป็นร้อยละ 1.9 ทั้งนี้ ความยืดหยุ่นของการเติบโตในการส่งออกของอินเดียต่อ GDP ของโลกที่สูงขึ้น ทำให้การส่งออกจะมีส่วนทำให้เศรษฐกิจเติบโตมากขึ้นในปีหน้าที่ร้อยละ 1 จุด

สำหรับการบริโภคภาคเอกชนยังไม่มีความชัดเจนมากนัก มีการคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-15 ในปี 2017 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2016 ซึ่งสามารถฉุดให้การเติบโตลดลงร้อยละ 0.5 จุด อย่างไรก็ตาม คาดกันว่าการบริโภคจะขยายขึ้นด้วยสองปัจจัย ปัจจัยแรกคือการฟื้นฟูจากผลกระทบของนโยบายยกเลิกธนบัตรในช่วงสองไตรมาสสุดท้ายของปี 2016-2017 และอีกปัจจัยหนึ่งคือต้นทุนการกู้ยืมที่ลดลงซึ่งมีแนวโน้มว่าจะลดลงในปี 2017 กว่า 75-100 จุด โดยเปรียบเทียบกับปี 2016 ทั้งสองปัจจัยส่งผลให้การใช้จ่ายไปกับการเคหะและสินค้าประเภทคงทนถาวร (consumer durable) และสินค้ากึ่งคงทนถาวร (semi-durable) เพิ่มขึ้นอย่างดี ทั้งนี้ ยังเร็วเกินไปที่จะคาดการณ์ว่าฤดูมรสุมในปี 2017 จะเป็นไปด้วยดีและช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ถึงแม้ว่าปีนี้จะมีการเติบโตของภาคเกษตรกรรมก็ตาม แต่ก็ไม่มีแนวโน้มว่าจะส่งผลให้ GDP เติบโตขึ้นในปีหน้า

จากการที่ยังไม่มีความคืบหน้าที่ชัดเจนในการรองรับกับปัญหาดุลบัญชีคู่ (the twin balance sheet problem) และการลงทุนภาคเอกชนที่ไม่มีแนวโน้มว่าจะฟื้นตัวจากระดับที่เหมาะสมในปีงบประมาณ 2017 ปัญหาดังกล่าวสามารถชดเชยได้จากการเพิ่มการสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน แต่ก็ขึ้นอยู่กับจุดยืนของนโยบายการคลังในปีหน้าที่ต้องสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจระหว่างการฟื้นฟูจากผลกระทบของนโยบายยกเลิกธนบัตรในระยะสั้นกับความจำเป็นในการยึดมั่นวินัยทางการคลังในระยะกลาง

ด้วยปัจจัยเหล่านี้ คาดการณ์ว่าการเติบโตของ GDP ที่แท้จริงจะอยู่ระหว่างร้อยละ ถึงร้อยละ ในปีงบประมาณ 2018 กระนั้นก็ตาม อินเดียยังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจมากที่สุดในโลกอยู่ดี

มีความเสี่ยงสามประการที่ทำให้เศรษฐกิจอินเดียขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ประการแรกคือผลกระทบของนโยบายยกเลิกธนบัตรอาจยังตกค้างไปจนถึงปีหน้า โดยเฉพาะหากยังไม่มีนโยบายรองรับจากรัฐบาลที่ชัดเจน การขาดแคลนเงินในระบบเศรษฐกิจส่งผลต่ออุปทานในภาคเกษตรกรรมโดยเฉพาะสินค้าประเภทนมจากการซื้อที่ลดลง หรือน้ำตาลจากปริมาณอ้อยและความแห้งแล้งในรัฐทางภาคใต้ทำให้การผลิตมีจำกัด ตลอดจนมันฝรั่งและหัวหอมใหญ่ที่มีการหว่านเมล็ดพืชที่น้อยลง ดังนั้น การเฝ้าระวังถือว่ามีความจำเป็นอย่างมากในการป้องกันสินค้าเกษตรชนิดอื่นๆ

ประการที่สอง ภูมิรัฐศาสตร์อาจทำให้ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ ศักยภาพในการผลิตน้ำมันเพื่อตอบสนองต่อความต้องการอย่างอย่างรวดเร็วจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน แม้ว่าราคาน้ำมันจะขึ้นเพียง 60-65 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรลก็ตาม เศรษฐกิจอินเดียก็ยังคงได้รับผลกระทบอยู่ดีจากการบริโภคที่ลดลง และโอกาสการลงทุนที่น้อยลง เหล่านี้ส่งผลให้ขอบเขตการผ่อนคลายทางการเงินอาจแคบลงหากราคาน้ำมันสูงขึ้นและทำให้เกิดแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ

ประการที่สาม มีความเสี่ยงว่าจะเกิดการปะทุของความตึงเครียดระหว่างประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่จากประเด็นภูมิรัฐศาสตร์และความผันผวนของค่าเงิน ความเสี่ยงดังกล่าวสามารถลดการเติบโตของเศรษฐกิจโลกและทำให้เงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ (emerging markets)

อย่างไรก็ตาม ความเป็นไปได้ในการเติบโตทางเศรษฐกิจยังมีอยู่ นั่นคือการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในตลาดโลกซึ่งส่งผลดีต่อการส่งออกของอินเดีย โดยความเป็นไปได้ดังกล่าวมาจากสัญญาณต่างๆ ในช่วงสองไตรมาสสุดท้าย ซึ่งการส่งออกที่ถูกฟื้นฟูจะช่วยขยายการลงทุนมากขึ้

การคลัง

การคลังของรัฐบาลกลางในปีหน้าขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย ปัจจัยแรก การเพิ่มขึ้นของภาษีต่อสัดส่วน GDP ประมาณร้อยละ 0.5 จุดในช่วงสองปีหลังเนื่องจากผลพลอยได้จากราคาน้ำมันจะหายไป ในความเป็นจริงภาษีสรรพสามิตจะลดลงประมาณร้อยละ 0.1-0.7 จุดของ GDP ซึ่งสัมพัทธ์กับปีงบประมาณ 2017

ปัจจัยที่สองคือ ผลพลอยได้จากจำนวนธนบัตรที่ยังไม่ถูกส่งคืนธนาคารกลางแห่งอินเดีย (RBI) และจากการเก็บภาษีเพิ่มขึ้นอันเป็นผลภายใต้ the Pradhan Mantra Garib Kalyan Yojana (PMGKY) อย่างไรก็ตาม ผลของทั้งสองก็ยังไม่มีความแน่นอน

ปัจจัยที่สามคือ ผลจากการบังคับใช้ภาษีสินค้าและบริการ (GST) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบภาษีนี้มีความซับซ้อนในแง่การจัดการและเทคโนโลยีซึ่งอาจทำให้การจัดเก็บภาษีรูปแบบใหม่นี้ต้องใช้เวลาในการปรับตัว อีกทั้งยังมีประเด็นที่รัฐบาลกลางต้องชดเชยรายได้ที่รัฐบาลท้องถิ่นต้องเสียไปจากการประกาศใช้ภาษี GST อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การคลังของรัฐจะได้รับประโยชน์จากภาษี GST และนโยบายยกเลิกธนบัตรอย่างแน่นอน แต่อาจต้องใช้เวลาในการแสดงให้เห็นเป็นรูปธรรม

นอกจากนี้ รายได้ของรัฐที่ไม่ได้มาจากภาษี (non-tax revenue) ที่น้อยลง ประกอบกับการอนุมัติการใช้เงินให้กับ 7th Pay Commission สามารถสร้างแรงกดดันให้กับการขาดดุลการคลังได้

โปรดติดตามประเด็นที่ 3 ในหัวข้อ “จุดยืนนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในปี 2017-2018” ในบทความเดือนถัดไป

///////

โดย... นายฮากีม ผูหาดา 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงนิวเดลี

หมายเหตุ: แปลและเรียบเรียงจาก The Economic Survey of 2016-2017 (http://indiabudget.nic.in)