“คนมาใหม่” ในสังคมไทย

“คนมาใหม่” ในสังคมไทย

ผมอยากจะพูดสองปัญหาที่สัมพันธ์กันครับ เรื่องแรกเป็นเรื่องที่เราตระหนักกันดีในวันนี้อได้แก่ปัญหาการเคลื่อนเข้าสู่ “สังคมผู้สูงวัย ”

ที่มีเด็ก/คนวัยทำงานน้อยลงไปเรื่อยๆ เรื่องที่สองเป็นประเด็นของการหาแนวทางสร้างความเข้มแข็งให้แก่ “สังคมผู้สูงวัย

ปัญหาการเคลื่อนเข้าสู่ สังคมผู้สูงวัยทำให้กำลังแรงงานที่จะทำงานเลี้ยงคนแก่ในอนาคตมีน้อยลง

เรากำลังจะต้องพึ่งพิงเด็กรุ่นใหม่ๆที่กำลังจะเติบใหญ่ขึ้นมา แต่คำถามก็คือคุณภาพของคนรุ่นใหม่ที่จะเข้ามาแบกรับภาระนี้มีความพร้อมหรือมีศักยภาพเพียงพอหรือไม่

สังคมการศึกษาของไทยไม่ได้สร้างความพร้อมหรือศักยภาพให้แก่คนรุ่นใหม่ในการเข้ามาแบกรับภาระอันหนักหน่วงนี้เลย

คุณภาพทางการศึกษาของไทยถูกตั้งคำถามมานาน ในปัจจุบันปัญหายิ่งทวีขึ้นมาก เพราะเด็กไทยที่เข้าสู่ระบบการศึกษาระดับประถมและมัธยมดูเหมือนจะไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ผมได้พูดคุยกับคนในวงการศึกษามาไม่น้อยไม่ว่าจะเป็นระดับผู้อำนวยการโรงเรียนหรือระดับที่เป็นครูผู้สอน ไม่ว่าเป็นครูประจำที่สอนมานานหรือครูฝึกสอน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนของรัฐบาลหรือเอกชน ต่างก็ต่างก็พูดใครขายกันว่าคุณภาพของการจัดการศึกษาในโรงเรียนโดยทั่วไปแล้วตกต่ำลง ซึ่งปัญหาคุณภาพทางการศึกษานี้แก้ไม่ได้ง่ายๆ คงต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควร หากคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมากับระบบการศึกษาที่ไร้ประสิทธิภาพเช่นนี้ พวกเขาจะเข้ามาช่วยประคับประคองสังคมคนแก่ได้อย่างไรกัน

เราจึงต้องคิดหาแนวทางการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ สังคมผู้สูงวัย ด้วยการเปิดสังคมรับคนรุ่นใหม่ที่อยากจะเป็น “ คนไทย” และอยู่ในสังคมไทยในวันนี้ ผมอยากจะให้ลองมองไปที่ลูกหลานของแรงงานต่างด้าวในสังคมไทย ( ผมหมายรวมถึงลูกหลายคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ตกหล่นในการทำบัตรประชาชนด้วยนะครับ)

สำหรับการจัดการศึกษาของลูกหลานแรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในเมืองไทยนั้น ผมได้ยินได้ฟังมามากจนเห็นว่าเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือ แม้ว่าจะไม่ได้ลงมือทำวิจัยก็ตาม คือลูกหลานของแรงงานชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นพม่า มอญ ไทใหญ่ (รวมทั้งลูกหลานของพี่น้องชนเผ่าจากพื้นที่สูง ทั้งที่มีสัญชาติไทยและไม่มี) ต่างก็มีผลการเรียนดีกว่าลูกหลานคนไทยอย่างเห็นได้ชัด

ผลการเรียนของลูกหลานคนต่างด้าวเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า เด็กๆ เหล่านี้มีความกระตือรือล้นในการ

เรียนหนังสืออย่างมาก พวกเขามีความใฝ่รู้ สามารถเรียนรู้ทุกวิชา รวมทั้งวิชาภาษาไทยด้วยผมจึงคิดว่าจะเป็นผลดีอย่างยิ่งทั้งต่อสังคมไทยและต่อลูกหลานของแรงงานต่างด้าว ถ้าพวกเขาได้รับการส่งเสริมให้เรียนในระดับสูงขึ้นไป

แน่นอนว่า ระบบการศึกษาของที่ไหนๆ ในโลกก็ย่อมมีส่วนอย่างสำคัญในการกล่อมเกลาความรู้สึกนึกคิดของคน ผมเองแม้ว่าไม่เห็นด้วยที่จะใช้ระบบการศึกษาในการเปลี่ยนคนชาติพันธุ์ต่างๆ มห้เข้ามาอยู่ในกรอบของวัฒนธรรมเดียวกัน (และเห็นว่าคนแต่ละชาติพันธุ์ล้วนมีสิทธิที่จะเลือกมี “ตัวตน” แบบที่จะเป็นผลดีที่สุดต่อพสกเขาและต่อโลกโดยรวม) แต่ผมก็เห็นว่า สังคมไทยจะได้รับผลดีจากการมีคนรักสังคมไทยมากขึ้น (แทนที่จะเกลียดสังคมไทย) และการที่มีคนรักเมืองไทยมากขึ้น ก็ย่อมจะเป็นผลดีต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในทุกด้าน รวมทั้งเป็นผลดีต่ออาเซียนด้วย

การส่งเสริมให้ลูกหลานของแรงงานต่างด้าวได้รับการศึกษามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ผมคิดว่ามีผลดีในระยะยาวเช่น พวกเขาจะกลายเป็นคนที่มีทัศนติเชิงบวกต่อคนไทยและสังคมไทย ในฐานะที่พวกเขาเรียนเก่งและรู้ภาษาไทยอย่างดีเลิศ ในอนาคตก็อาจจะกลายเป็นแรงงานมีฝีมือในเมืองไทย หรือถ้ากลายเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจน้อยใหญ่ ก็จะก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจไทย แม้กระทั่งว่าหากพวกเขากลับไปประเทศของตัวเอง ในอนาคตเมื่อมีเงินมีทองมากขึ้น ก็คงอยากมาเที่ยวเมืองไทย อาจจะชอบดูหนังไทย ฟังเพลงไทย และรักคนไทย ฯลฯ

พวกเราจำเป็นต้องคิดกันในมุมที่กว้างขวางออกไปให้มากที่สุดนะครับ ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเผชิญปัญหาสังคมคนแก่มาก่อนเราก็กำลังมีกระบวนการที่จะดึงให้แรงงานต่างชาติอยู่ในประเทศเขาให้นานที่สุด พี่น้องต่างด้าวจำนวนมากที่ทำงานในสังคมไทยวันนี้อยากจะอยู่ประเทศไทย แต่เรากลับไปเน้นเพียงการขูดรีดแรงงานเฉพาะหน้าเท่านั้นและไม่ได้คิดถึงกระบวนการที่ทำให้พวกเขาได้อยู่ในประเทศไทยจริงๆเลย หากเราไม่คิดประเด็นนี้ให้ดี หากบ้านเมืองเขาพัฒนาการศึกษา พัฒนาเศรษฐกิจดีขึ้น พวกเขาไม่อยู่ในสังคมไทยที่ไม่เปิดรับพวกเขาหรอกครับ

เราต้องคิดให้กว้างและไกลมากกว่าตอนนี้ครับ

หากเรามองย้อนกลับไปในช่วงสงครามเย็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศได้ทรงตรากตรำพระวรกายในการทำให้พี่น้องชนเผ่าในภาคเหนือกลายมาเป็นประชากรไทยและพลกนิกรใต้พระบรมโพธิสมภาร ในวันนี้ สังคมไทยต้องคิดและสร้างแนวทางตามพระราชดำริของพระองค์ท่านเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่สังคมไทย

ลองช่วยกันคิดถึงกระบวนการเปิดหัวใจ/เปิดสังคมให้ยอมรับ คนมาใหม่เข้ามาอยู่ร่วมกันเราครับ