แลนด์มาร์คของเมืองกับการตลาดท่องเที่ยว

แลนด์มาร์คของเมืองกับการตลาดท่องเที่ยว

จุดที่เป็นสัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานครคือที่ไหน?บางคนอาจตอบว่าวัดพระแก้วอีกไม่น้อยก็คิดเป็นตึกใบหยก2บองคนตอบว่าสยามพารากอนก็มีตกลงที่ไหนกันแน่?

เวลาที่เราเดินทางไปต่างประเทศมักมีจุดหมายปลายทาง(Destination)ในใจเสมอว่าจะต้องไปสถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญ เพื่อให้โลกได้รู้ว่าเราได้ผ่านมาที่แห่งนี้แล้ว ยิ่งโลกของโซเชียลมีเดียครอบงำมวลมนุษย์ การแชร์ภาพหรือเช็คอินว่ามาเที่ยวที่'แลนด์มาร์ค'ของประเทศนั้นก็ดูเป็นเรื่องที่จำเป็นเสียเหลือเกิน

ถ้านึกถึงประเทศญี่ปุ่น เราก็อาจคิดถึงภูเขาไฟฟูจิที่ตั้งตระหง่านสวยงามและปรากฏในทุกสื่อที่พูดถึงแดนซามูไรนี้ โลโก้ของสินค้าหลายแบรนด์ก็นำภาพภูเขาไฟฟูจิมาเป็นตัวชูโรงเพื่อสะท้อนคุณค่าของความเป็นประเทศญี่ปุ่น ส่วนประเทศฝรั่งเศสภาพของหอไอเฟลก็ผุดขึ้นมาแทบจะทันทีที่นึกถึงและคงไม่มีสิ่งไหนที่จะเป็นที่สุดในใจ(Top Of Mind)ได้เท่ากับสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่นี้ เมื่อมองย้อนกลับมาที่ประเทศไทย คำถามที่สำคัญคือแลนด์มาร์คของประเทศไทยที่เราควรจะเล่าให้คนต่างชาติฟังในทิศทางเดียวกันควรเป็นสถานที่ใด?

การตลาดโดยใช้จุดสัญลักษณ์เป็นจุดขายนั้นใช้กันมานานแล้ว ส่วนใหญ่จะใช้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งต้องสื่อสารการตลาดออกไปผ่านทุกช่องทางเพื่อให้เกิดการรับรู้(Awareness)ในวงกว้าง ในทุกประเทศมีองค์กรประเภทDestination Marketing Organization(DMO)ซึ่งมีหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์เรื่องราวของเมืองจังหวัดหรือประเทศใดประเทศหนึ่งให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเยี่ยมชมให้มากขึ้น ซึ่งวิธีที่มักใช้กันคือการขายบริการด้านการจัดประชุม(Convention Sales) ในประเทศไทยเราอาจนึกถึงสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการหรือทีเส็บ ซึ่งช่วยสผลักดันให้ธุรกิจไมซ์เติบโตนั่นคือได้เดินทางมาประชุมแล้วยังได้ท่องเที่ยวอีกด้วยเป็นการขายประสบการณ์พร้อมกับได้ทำงานไปพร้อมๆกัน นอกจากนี้ ยังช่วยบอกเล่าเรื่องของสินค้าและบริการท้องถิ่นเพื่อสร้างเสน่ห์และความสงสัยใคร่รู้ให้นักท่องเที่ยวอยากไปเปิดโลกอีกด้วย องค์กรดีเอ็มโอสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางนับพันล้านเหรียญสหรัฐ

นอกจากความพยายามในการดึงนักท่องเที่ยวให้มาประเทศไทยเยอะๆแล้วในมุมของ'อลิวัสสา พัฒนถาบุตร'กรรมการผู้จัดการบริษัทซีบีอาร์อี (ประเทศไทย)จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการอสังหาริมทรัพย์ให้ความเห็นว่าการสร้างแลนด์มาร์คให้กับกรุงเทพมหานครเป็นเรื่องที่สำคัญ ในมุมของซีบีอาร์มองว่าพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเป็นแลนด์มาร์คน่าจะอยู่ใจกลางเมือง อย่างพื้นที่โดยรอบสวนลุมพินีซึ่งมีโครงการก่อสร้างอภิมหาโปรเจคต์ใหญ่ๆสามโครงการ ทั้งเดอะวันแบงคอคของกลุ่มทีซีซี โครงการของกลุ่มสินธรที่พัฒนามิกซ์ยูสขนาดใหญ่ หรือจะเป็นหัวถนนสีลมที่เป็นการร่วมมือของเครือเซ็นทรัลและโรงแรมดุสิต ทั้งสามแห่งนี้จะประสานพลังกันและขีดเส้นขอบฟ้าใหม่(Skyline)ของกรุงเทพมหานคร ประกอบกับศักยภาพของพื้นที่ที่อยู่ใจกลางเมือง(Prime Location)ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางที่นักธุรกิจจากทั่วทุกมุมโลกจะต้องมาให้ได้

นอกจากจุดที่มีศักยภาพใจกลางเมืองแล้วอีกแห่งที่น่าจะเป็นแลนด์มาร์คได้ดีไม่แพ้กันคือริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นวิวที่ไม่มีใครเหมือนและสะท้อนวิถีความเป็นอยู่ของคนไทยได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งขณะนี้โครงการดิไอคอนสยามถูกจับตามองอย่างยิ่งว่าจะเนรมิตพื้นที่ตรงนี้ให้เป็นที่พูดถึงของคนทั้งโลกได้หรือไม่ การกำหนดแลนด์มาร์คไม่ใช่สิ่งที่รัฐบาลหรือคนกลุ่มไหนจะทำได้ตามอำเภอใจ หากแต่คนทั้งโลกรวมถึงช่องทางอันทรงพลังอย่างโลกออนไลน์ต่างหากที่จะเป็นคนกำหนดเพราะต้องได้รับการยอมรับและผู้คนต้องได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการเดินทางและเยี่ยมชม ถ้ามีจุดขายก็จะเกิดการจดจำ พอจดจำก็จะติดใจ ทีนี้นักท่องเที่ยวก็จับจ่ายแถมยังชวนคนมาเที่ยวอีกด้วย