“เกมออนไลน์”เครื่องมือฝึกทหารรูปแบบใหม่

“เกมออนไลน์”เครื่องมือฝึกทหารรูปแบบใหม่

เรียกได้ว่าภัยร้ายบนโลกไซเบอร์ นับวันยิ่งสร้างความตระหนกและความกังวลไปทั่วทุกฝ่าย

ไม่เว้นแม้แต่ด้านการทหารที่ต่างต้องเตรียมตัว และตั้งรับสงครามทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางเหล่ารัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมในสหภาพยุโรป ได้มีการทดสอบความสามารถในการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ ผ่านเกมส์สงครามออนไลน์ ซึ่งเป็นครั้งแรกของพวกเค้า โดยรัฐมนตรีแต่ละประเทศจะต้องทำการทดสอบเป็นเวลา 90 นาทีผ่านเกมส์ออนไลน์เสมือนจริง ซึ่งแต่ละคนต้องพยายามแก้วิกฤตต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วง 90 นาที โดยจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆโดยเน้นกลยุทธ์ต่างๆเมื่อเกิดวิกฤต 

การจำลองสถานการณ์ผ่านเกมออนไลน์คล้ายกับหนังเมื่อหลายปีที่แล้ว ที่หลายคนอาจเคยได้ดูหนังเรื่อง Ender’s Game ที่สร้างความน่าสนใจโดยเนื้อเรื่องคือ การเกณฑ์เด็กที่มีความชำนาญด้านต่างๆในการต่อสู้ในเกมส์ เพื่อมาฝึกให้พร้อมสู้รบกับศัตรู โดยเป็นการฝึกผ่านการทำสงครามผ่านเกมส์รูปแบบต่างๆเป็นการจำลองเสมือนจริง

ไม่เพียงแค่สหภาพยุโรปที่ตื่นตัว จริงๆแล้วนานาประเทศต่างเตรียมพร้อมรับมือสงครามไซเบอร์ อาทิ การสร้างหน่วยงานมารองรับหรือรับผิดชอบสงครามไซเบอร์โดยตรง เช่น สหรัฐอเมริการที่ตั้งกองบัญชาการไซเบอร์ (United States Cyber Command หรือ USCYBERCOM) ขึ้นเมื่อปี 2009 ในขณะที่บางประเทศยกระดับความพร้อมของบุคคลากร เช่น ประเทศเดนมาร์ค ประกาศเรื่องการรับเจ้าหน้าที่ที่ต้องผ่านการฝึกอบรบหลักสูตรด้านไซเบอร์อย่างเข้มข้นเป็นเวลาถึง 4 เดือน หรือหลายประเทศที่ต้องจับมือกันเตรียมพร้อมสงครามไซเบอร์ เช่น สหรับอเมริกาและอังกฤษที่จับมือกันซ้อมรบไซเบอร์ โดยทำสงครามไซเบอร์ถล่มอีกฝ่ายเพื่อช่วยกันหาช่องโหว่ของแต่ละฝ่าย เมื่อปี 2015

การตื่นตัวของแต่ละประเทศคงเป็นผลจากข่าวคราวการแฮกระบบของเหล่าแฮกเกอร์ที่นับวันยิ่งเหิมเกริมและมีความสามารถมากขึ้นเรื่อยๆ ที่สามารถเจาะเข้าถึงระบบขององค์กรและบริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น FBI, NASA, The New York Times , Microsoft , Yahoo , Bank of America , Citi Group และ Sony Pictures Entertainment เป็นต้น ต่างตกเป็นเหยื่อของเหล่าแฮกเกอร์วายร้าย สัญญาณเหล่านี้คือจุดบ่งชี้ที่ทำให้ทุกฝ่ายทั่วโลกหันมาให้ความสนใจและความสำคัญเป็นระดับต้นๆ หรืออาจเรียกว่าเป็นวาระแห่งชาติก็ว่าได้ 

ประเทศไทยเองแม้ว่าจะมีการเตรียมความพร้อมอย่างการ จัดตั้งหน่วยงาน ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย หรือ “ไทยเซิร์ต” (Thailand Computer Emergency Response Team หรือ ThaiCERT) แต่เมื่อประเทศไทยเองถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 33 ประเทศที่ตกเป็นเป้าโจมตีทางไซเบอร์จาก 250 ประเทสทั่วโลก นั่นอาจยังเป็นคำถามว่าเพียงพอแล้วหรือไม่เมื่อเทียบกับนานาประเทศที่กำลังตื่นตั