จะเอาอะไรกับคนแก่

จะเอาอะไรกับคนแก่

เวลาเราพูดถึงคำว่าไทยแลนด์ 4.0 มักจะให้ความรู้สึก Bright Future มากๆ และเราก็จะเพ่งเล็งไปที่เด็กๆ หรือคนวัยทำงานที่อายุต่ำกว่า 40 ลงมา

ซึ่งยังมีเวลา และการทำงานที่แข็งขันมากๆ พร้อมจะโตไปกับประเทศชาติในอีก 20 ปีข้างหน้า แต่เราต้องยอมรับความเป็นจริงอย่างหนึ่งคือ ประเทศไทยของเราไม่ได้มีแค่คนที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปีเท่านั้น เรายังมีคนที่มีอายุมากกว่า 40-70 ปีอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งถ้าดูสัดส่วนของประชากรแล้วก็มีจำนวนมากเสียด้วย เพราะเขาเหล่านี้ ประกอบด้วย คนในช่วง Baby Boomer และ Gen Y แล้วทีนี้เขาเหล่านี้จะอยู่ในไทยแลนด์ 4.0 อย่างไร 

เขาจะได้ประโยชน์ หรือจะเสียอะไรในการที่ประเทศจะก้าวไปในอนาคต วันนี้เราลองมาวิเคราะห์กันดูครับ

คนที่อายุ 40-50 ปี คือ กลุ่มคนที่เป็นรอยต่อระหว่าง Baby boomer กับ Gen Y คือมีแนววิถีชีวิตแบบ “Work Hard Play Hard” กำลังเป็นผู้บริหารในองค์กรต่างๆ มีการใช้ชีวิต และใช้เงินทองมากกว่าคนในยุค Baby Boomer แบบที่ว่าใช้เงินเก่ง แต่ก็มีเงินเก็บบ้างนิดหน่อย ครอบครัวคนวัยนี้มีค่าใช้จ่ายสูง มีความคาดหวังว่ารถยนต์ที่ใช้ต้องรุ่นดีขึ้น บ้านต้องหลังใหญ่ขึ้น ต้องส่งลูกเรียนที่สูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็เริ่มที่จะโยกย้ายเปลี่ยนอาชีพยากขึ้น และเมื่อมีคำว่าไทยแลนด์ 4.0 เข้ามา ผมว่าคนกลุ่มนี้จะต้องปรับตัวค่อนข้างเยอะเลย เพราะเขายังมีเวลาต้องทำงานต้องหาเงินอีก 20 ปี และยังต้องการความมั่นคงอยู่ประมาณหนึ่ง แต่จะให้ปรับตัวอะไร หรือไปตะลุยตั้งบริษัทก็บอกเลยว่ายากมากๆ เพราะ Fixed cost สูง 

ผมเห็นคนในช่วงอายุแบบนี้หลายคนที่ตกงานกันเป็นปี เพราะฐานเงินเดือนสูง และเริ่มมี Social Status คือมีหน้ามีตา และมีเพื่อนฝูง การเปลี่ยนงานทั้งทีต้องดูเยอะครับ พอมีไทยแลนด์ 4.0 หลายเรื่องก็กลายเป็นเรื่องใหม่ การปรับตัวเพื่อฉวยโอกาสให้ทันจึงเป็นเรื่องจำเป็นของคนกลุ่มนี้เลย

สำหรับกลุ่ม 50-60 ปี กลุ่มนี้ถ้ามองด้วยตัวเลข และอายุทำงาน ปกติก็ต้องเรียกว่าเตรียมเกษียณแล้วครับ กลุ่มนี้เมื่อเจอไทยแลนด์ 4.0 ไปคงจะมองว่าไม่มีผลอะไรกับตัวเองสักเท่าไร หลายๆ เรื่องกว่าพวกเขาจะทำเสร็จก็อาจจะถึงเวลาเกษียณพอดี หรือไม่ก็อาจจะมองว่าเป็นประโยชน์ระยะสั้นที่รัฐบาลจะลงทุนในด้านต่างๆ ซึ่งถ้าเขาอยู่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็คงได้ประโยชน์ไป ต้องบอกว่าน่าเสียดายที่คนกลุ่มนี้จะคิดแบบนี้เพราะอันที่จริงชีวิตหลังเกษียณยังเหลืออีกตั้ง20-30 ปี เขาควรฉวยโอกาสนี้เพื่อสร้างประโยชน์ในเวลาที่เขาเลิกทำงานแล้ว แต่ทั้งนี้ผมไม่ได้เหมารวมทุกคนหรอกนะครับ นี่เป็นแค่ความคิดส่วนตัวของผมเองว่าเขาจะมีมุมมองแบบนี้

สำหรับกลุ่ม 60 ปีขึ้นไป กลุ่มนี้คงเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องหันมาใส่ใจดูแล และจะต้องวางแผนล่วงหน้าต่อไปถึงคนในกลุ่มที่ 2 หรือกลุ่มที่อายุ 50-60 ปีด้วยว่าชีวิตเขาเหล่านี้จะต้องทำอย่างไรต่อไปบ้าง หลายๆ คนไม่ได้มีเงินเก็บมากพอที่จะมาใช้สำหรับช่วงชีวิตที่เหลือมากนัก ที่พักอาศัยสำหรับคนกลุ่มนี้จะเป็นอย่างไร รวมถึงการรักษาพยาบาลต่างๆ ผมเชื่อว่ารัฐบาลต้องมานั่งถกปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาต่อไปในอนาคตที่ประชากรวัยทำงานเราจะลดลง 

รายได้จากภาษีต่างๆจะเปลี่ยนไปหมด เราจะต้องใช้คนกลุ่มน้อยเลี้ยงคนกลุ่มใหญ่ที่กำลังจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แล้วเสริมเรื่องนี้เข้าไปอยู่ในแผนไทยแลนด์ 4.0 ด้วย

ลองไปดูประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และประเทศในยุโรปที่เขาก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุไปแล้วว่าเขามีวิธีการจัดการ และการเตรียมตัวรับมือกับปัญหาต่างๆ ดังที่ผมกล่าวมาอย่างไร แล้วลองมาปรับใช้ดู เน้นย้ำกันอีกทีนะครับสำหรับงาน  Digital Thailand Big Bang 2017 มหกรรมการแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งผมบอกเลยว่าเป็นวาระแห่งชาติที่คนไทยเราไม่ควรพลาด 

งานเดียวที่ตอบได้ทุกโจทย์สำหรับการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล ไปเตรียมตัวรับมือกับอนาคตประเทศในอีก 20 ปีข้างหน้าด้วยกันนะครับ ไม่ว่าคุณจะอยู่ในวัยไหนก็ตาม แล้วเราจะได้รู้ว่าควรใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ ต่อไปอย่างไรเพื่อให้ก้าวไปสู่การดำเนินธุรกิจ รวมทั้งใช้ชีวิตประจำวันที่ดีกว่าเดิม งานจัดขึ้นที่ศูนย์แสดงสินค้า และการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อาคารชาเลนเจอร์ 1-2 โดยรายละเอียดต่างๆ ท่านสามารถเข้าไปติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.digitalthailandbigbang.com หรือเฟซบุ๊ก Digital Thailand Big Bang แล้วเจอกันครับ