ปรับทัศนคติตลาดหุ้นทั่วโลก ตอบโจทย์‘ความยั่งยืน’

ปรับทัศนคติตลาดหุ้นทั่วโลก ตอบโจทย์‘ความยั่งยืน’

Stock Gossip by Money Wise ติดตาม live จ-ศ 14.00-14.30 น.

ความท้าทายใหม่ที่ภาคเอกชนเผชิญหน้าทุกวันนี้ ไม่ได้อยู่เพียงแค่มองภายในองค์กร หรือภายในประเทศเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งเป็นกระแสที่เข้ามาอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง มุ่งเน้นการเติบโตแบบยั่งยืน การเข้ามาของเทคโนโลยี ที่พลิกโฉมระบบข้อมูลข่าวสาร สิ่งเหล่านี้ทำให้อยู่นิ่งๆ แล้วรอการเปลี่ยนแปลงเข้ามาฝ่ายเดียวคงไม่ได้

ภายในงานประชุมประจำปีของสมาพันธ์ตลาดหลักทรัพย์โลก (WFE General Assembly & Annual Meeting หรือ WFE) ครั้งที่ 57 ได้หยิบยกการปรับมุมมองของตลาดหุ้นทั่วโลกว่าควรมองในคิดทางไหน เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

ด้วยสมาชิกมีมากกว่า 200 องค์กรจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค 41% ตะวันออกกลาง แอฟริกา 40% และอเมริกา 19 % มีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิก WFE เกือบ 45,000 บริษัท มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมกัน 67.9 ล้านล้านดอลลาร์ มีมูลค่าการซื้อขายรวมต่อปีสูงถึง 84.18 ล้านล้านดอลลาร์  (ณ สิ้นปี 2559) สามารถสร้างทัศนคติต่อการขับเคลื่อนองค์กรอย่างตลาดทุนให้ไปในทิศทางเดียวกันได้ เพื่อลดความเลื่อมล้ำ และสามารถผลักดันให้ตลาดทุนเป็นตัวกลางระดมทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ ด้วยความร่วมมือ 3 ประการ

1.ศักยภาพในการป็นมากกว่าตลาดที่มุ่งเน้นการซื้อขายเพียงอย่างเดียว เพราะตลาดทุนทั่วโลกทุกวันนี้ล้วนมีส่วนช่วยพลักดันกิจกรรมและเศรษฐกิจภายในประเทศ แม้จะมีคำพูดโจมตีว่าตลาดทุนเป็นภัยร้ายของระบบทุน แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้เช่นเดียวกันว่ามีส่วนที่ส่งเสริมภาคธุรกิจมหาศาล

2.ยกระดับธรรมภิบาลเห็นชัดเจน โดยทำให้เกิดเป็นวัฎจักร มีผลกระเพื่อมไปยังสังคม จากที่จำกัดมีกฎหมาย กฎเกณฑ์มาดูแลเฉพาะบริษัทจดทะเบียนแต่ยังต้องสามารถทำให้เกิดการตระหนักและเห็นด้วยในสังคม มองว่าการคอร์รัปชั่นเป็นสิ่งที่ไม่สมควรกระทำ

และ 3 .จับมือกับพันธมิตร แน่นอนว่าเมื่อโลกใกล้กันมากขึ้นผ่านเทคโนโลยีที่รวดเร็ว การจะแข็งแกร่งเพียงคนทำไม่ได้ เพราะแต่ละองค์กรมีจุดแข็ง จุดอ่อนที่ไม่เหมือนกัน แต่สามารถนำมาส่งเสริมให้กันได้ สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือการพลักดันกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพ กลุ่มเอสเอ็มอี ให้เข้ามาระดมทุนในตลาดทุน ทำให้เกิดความเข็มแข็งของภาคเอกชนใหม่ๆ

เกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เห็นว่าปรับทัศนคติ ไม่มองว่าตลาดหลักทรัพย์เป็นเพียงแค่ตัวกลางในการซื้อขายเท่านั้น แต่ตลาดต้องมีประสิทธิภาพเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อตลาดหุ้นเติบโตเศรษฐกิจก็จะแข็งแกร่งไปด้วย

ที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยมักถูกมองว่าต่างชาติละเลยไม่เข้ามาลงทุน จนทำให้ดัชนีหุ้นไทยเหมือนไม่ได้ไปไหน เปรียบเทียบกับตลาดอื่นในภูมิภาค เมื่อดูภาวะการซื้อขายก็เห็นว่าทุกตลาดมีมูลค่าซื้อขายลดลงจากปีที่แล้ว มาจากปัจจัยที่ไม่แตกต่างกัน คือความผันผวนของต่างประเทศ 

นอกจากนี้แล้วทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นบริษัทจดทะเบียน, ผู้ถือหุ้น, นักลงทุน และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมาภิบาล ซึ่งจะช่วยให้ตลาดหุ้นมีการเติบโตอย่างยั่งยืน

เช่นเดียวกับ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สมาพันธ์ตลาดหลักทรัพย์โลก นันดินี สุกุมาร์ กล่าวชื่นชมว่า ประเทศไทยที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการผลักดันให้ตลาดหุ้นมีการเติบโตอย่างยั่งยืนและการมีธรรมาภิบาลที่ดีของบริษัทจดทะเบียนไทย โดยปัจจุบันมีบริษัทไทย 14 บริษัทที่ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่ดัชนีแห่งความยั่งยืน หรือ Dow Jones Sustainability Indices

สิ่งที่สำคัญที่ต้องให้ความสำคัญมากขึ้นคือ เทคโนโลยี ที่เข้ามาจนทำให้ต้นทุนของทุกคนในตลาดทุนลดลง  ช่องว่างที่เคยกว้างต้องแคบลง นั่นจะทำให้นักลงทุนสนใจเข้ามาลงทุนมากขึ้น และน่าจะดีไม่น้อยที่ตลาดทุนควรมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นตามไปด้วย