6 ก.ย.วันต่อต้านคอร์รัปชั่นแห่งชาติ กับศาลคดีคอร์รัปชั่น

6 ก.ย.วันต่อต้านคอร์รัปชั่นแห่งชาติ กับศาลคดีคอร์รัปชั่น

ปัญหาซื้อขายตำแหน่งในวงราชการตำรวจ ปัญหาซื้อขายตำแหน่งในวงราชการอื่นๆ ปัญหาฮั้วประมูลงานในวงราชการระดับสูง ใน อบจ. และอบต.

ปัญหาทุจริต คอร์รัปชัน ในรูปแบบอื่นๆ ทั้งหลาย

ล้วนเป็นปัญหาสังคมสูงสุดในสังคมไทย ต้องได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องและเร่งด่วนเป็นที่สุดเพราะทำให้สังคมไทยอ่อนแออย่างหนัก เป็นต้นเหตุให้สังคมไทยแตกความสามัคคี แยกพวก แยกสี แยกถิ่น แยกภาค เนื่องจากผลประโยชน์ขัดแย้งไม่ลงตัว ทั้งทำลายขวัญและกำลังใจของสุจริตชนในการประกอบสัมมาอาชีพอย่างรุนแรง เป็นอุปสรรคในทางธุรกิจการค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง

กล่าวกันว่า “ถ้าต้องซื้อตำแหน่งด้วยเงิน 3 ล้านบาท ต้องโกงให้ได้อย่างน้อย 30 ล้านบาท” เป็นเรื่องที่น่ากลัวเป็นที่สุด น่าประวั่นพรั้นพรึงเป็นอย่างยิ่ง

ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ

หรือศาลคดีคอร์รัปชั่น(CORRUPTION COURT) ได้จัดตั้งขึ้นแล้วตามเสียงเรียกร้องของมวลมหาชน รัฐบาลนี้ โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ เห็นความจำเป็น จงดำเนินการให้ นับว่าเป็นเรื่องที่ดี เป็นการยากยิ่งที่จะที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง จะจัดตั้งให้ได้ เพราะเป็นองค์กรตรวจอบและลงโทษผู้ทุจริตคอร์รัปชั่น รวมถึงนักการเมืองทั้งหลาย ทั้งระดับท้องถิ่น อบจ. และอบต. และทุกองค์กรให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างโปร่งใสและมีคุณธรรม

แม้ว่ามีการจัดตั้งศาลคดีคอร์รัปชั่น(CORRUPTION COURT) รวมถึงมีการออกกฎหมายในรูปแบบต่างๆ หรือแม้ใช้มาตรการทางกฎหมายให้ฟ้องจำเลยและสืบพยานลับหลัง ในดคีอาญาของนักการเมือง หรือบัญญัติกฎหมายให้ไม่ขาดอายุความ หรือไม่มีอายุความ และลงโทษผู้ทุจริตอย่างรุนแรง แม้ห้ามสมัครรับเลือกตั้งเป็นตัวแทนประชาชนตลอดชีวิต ก็ตาม ก็หาเป็นการแก้ไขปัญหาทุจริตซื้อขายตำแหน่งในวงราชการ หรือการทุจริตในกรณีอื่นๆ ได้หมดสิ้น หรือทุเลาเบาบางลงไม่ ตราบเท่าที่ยังไมได้พิจารณาแก้ไขปัญหาข้อกฎหมาย หรือจุดอ่อน หรือช่องว่างของกฎหมายต่อไปนี้

  ประการหนึ่ง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 บัญญัติให้ เจ้าพนักงาน เรียก รับ หรือยอมจะรับสินบน มีความผิด มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงประหารชีวิต และมาตรา 144 บัญญัติให้ผู้ใด ให้ ขอให้หรือรับว่าจะให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน มีความผิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี กล่าวคือ มีความผิดและต้องรับโทษทั้งเจ้าพนักงานผู้รับสินบนและประชาชนผู้ติดสินบน คือเป็นความผิดและลงโทษ ทั้งหนู ทั้งแมวจึงร่วมกันปกปิด ปิดบัง ซ่อนเร้นวิธีดำเนินการ เพื่อ หลบหนีความผิดทั้งคู่ เป็นจุดอ่อนของประมวลกฎหมายอาญาอย่างชัดแจ้ง ต้องได้รับการศึกษาวิเคราะห์และแก้ไขโดยเร่งด่วนที่สุด

หลักการสำคัญในการแก้ไขปัญหาสำคญด้งกล่าว มีหลายวิธี เช่น

1.บัญญัติกฎหมาย หรือแก้ไขกฎหมายให้เอาโทษเฉพาะเจ้าพนักงานผู้รับสินบนฝ่ายเดียว เพราะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องรักษากฎหมายอย่างเคร่งครัด และกำหนดให้ฝ่ายผู้ดิตสินบนก็เป็นความผิด แต่ไม่เอาโทษ ตามทฤษฎี เจ้าพนักงาน มีหน้าที่รักษากฎหมายยิ่งกว่าประชาชนทั่วไป หรือ

2.บัญญัติกฎหมาย หรือแก้ไขกฎหมาย ให้กันผู้ติดสินบนไว้เป็นพยาน ไม่ต้องถูกดำเนินคดี ดดยถือว่ายังเป็นผู้กระทำความผิด เพราะเป้นการกระทำมิชอบและผิดศีลธรรม ตามทฤษฎี การกันผู้ร่วมกระทำความผิดไว้เป็นพยานเพื่อปราบปรามลงโทษผู้กระทำความผิดแท้จริง หรือ

3.บัญญัติกฎหมาย หรือแก้ไขกฎหมายให้ฝ่ายเจ้าพนักงานที่รับสินบน หรือฝ่ายผู้ติดสินบน ที่เปิดเผยเสนอข้อมูลหลักฐานการทุจริตต่อเจ้าพนักงานก่อน ให้ไม่ต้องรับโทษ ตามทฤษฎี ผู้เปิดเผยความผิดก่อน สมควรได้รับการยกเว้นโทษ ซึ่งป็นทิ่นิยมในหลายประเทศ และ

4.บัญญัติกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมาย ให้ประชาชนผู้มีหลักฐานการชำระภาษีประจำปี เป็นผู้เสียหาย ตามกฎหมาย ให้มีอำนาจฟ้อง หรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ในคดีที่มีการทุจริตงบประมาณแผ่นดิน ตามทฤษฎีประชาชนมีหน้าที่เฝ้าระวังงบประมาณแผ่นดิน

  หลักการเหล่านี้ เป็นการถ่วงดุลอำนาจตัดสิน ในการกระทำความผิดระหว่างเจ้าพนักงานผู้รับสินบน หรือรับซื้อตำแหน่ง หรือรับวิ่งเต้นซื้อตำแหน่ง กับฝ่ายผู้ติดสินบนใหต้องยั้งคิดมากขึ้น เพราะอาจถูกเปิดเผบข้อมูลง่ายขึ้น และอาจถูกดำเนินคดีง่ายขึ้น ทำให้ทั้งหนูทั้งแมว ต้องยับยั่งชั่งใจ ในการกระทำความผิดมากขึ้น เป็นผลให้การปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่น ได้ผลในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้น จึงสมควรเพิ่มหลักการดังกล่าวบางข้อ ไว้ในพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจิตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 เพื่อใช้พิจารณาคดีในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบตามที่จัดตั้งไว้แล้ว เช่นนี้ การป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นจะไดผลสมบูรณ์และเด็ดขาดอย่างที่สุด

ประการหนึ่ง เดิมเมื่อหลายปีก่อนมีการดำริห์ให้บุคคลผู้เข้ารับราชการใหม่ในชั้นต้น รวมทั้งนักการเมือง ทั้งระดับชาติและท้องถิ่นที่เข้ามาใหม่ ต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สินเบื้องต้นทันทีไว้ก่อน และปีใดได้ทรัยพ์สินพิเศษ มากกว่ารายได้รวมประจำปี ต้องแจ้งเพิ่มเติมทันที แต่ขณะนั้นเห็นว่ายุ่งยากในการจัดเก็บเอกสารจำนวนมาก ปัจจุบัน การเก็บเอกสารในรูปแบบดิจิทัล ทำได้โดยง่ายแล้ว สมควรมีระเบียบ ข้อบังคับ หรือบัญญัติกฎหมายให้มีการแจ้งบัญชีทรัพย์สินครั้งแรกหรือชั้นต้น จะเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง และได้ผลในทางปฏิบัติอย่างเด็ดขาด

ท่านทั้งหลายครับ ถึงเวลาแล้วที่ทุกท่านผู้มีความรู้ดีและห่วงใยสังคม จะต้องช่วยกันคิด ช่วยกันเสนอแนะ ช่วยกันทำ เพื่อแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในรูปแบบต่างๆ ให้หมดสิ้นไปจากสังคมไทย และประเทศไทยโดยเร็วที่สุด เพื่อลูกหลาน และคนไทยทั้งมวลครับ

 ******

โดย ฐนยศ คีรีนารถ