จดหมายจาก หวาง นัน

จดหมายจาก หวาง นัน

สวัสดีค่ะ ดร.ธัญ My name is Wang Nan หนูชื่อ หวาง นัน ที่มาถามคำถามอาจารย์หลังเลิกเรียนไงคะ

ก่อนอื่นหนูขอบคุณอาจารย์มากนะคะ สำหรับเทคนิคการตัดสินใจแบบโยนเหรียญ มันมีประโยชน์มากๆ เพราะหลายครั้ง หนูมักจะลังเล ยามต้องตัดสินใจอะไรบางอย่าง ใจหนึ่งก็อยากจะลุยไปอย่างที่คิดที่ฝัน แต่อีกใจก็กังวลว่าจะพลาดล้มเหลวผิดหวัง วิธีของอาจารย์ดีจริงๆ ในการช่วยให้เข้าใจสมองตนเอง หนูจะจำไว้ใช้ต่อๆไปค่ะ 

สิ่งที่หนูจับได้จากการแชร์สั้นๆ ของอาจารย์วันนี้คือ The Journey หนูทึ่งกับการมองเห็นชีวิตอย่างมีทิศทางตามแผนที่ที่อาจารย์เล่า เราต้องฝึกใช้สติและสมองในการขับเคลื่อนตนเองไปข้างหน้า We need to lead our brain 

แม้ว่าหนูจะยังไม่เข้าใจละเอียดนักแต่ก็รู้สึกได้ว่านี่คือสิ่งที่มีประโยชน์จริงๆ อ้อ I am from China currently studying Foundation Year อายุ 18 ปีค่ะ 

หนูสนใจจุดที่อาจารย์เล่าถึง “สมองอันเกียจคร้าน”  The brain is lazy และเรื่องการเอาชนะกำแพงวัดใจ Activation Barrier ศิลปะแห่งผู้นำเมื่อมองผ่านเลนส์ของวิทยาศาสตร์ช่างน่าศึกษามากๆ แต่ที่หนูหลงรักเลยคือเรื่องของ Flow ความสุขแท้จริง เกิดจากการต่อสู้เพื่อเป้าหมายอันยากยิ่ง I hope one day I can perceive the power of wonderful enjoy after I stretched to the limits of my ability with a completed result. 

นี่เพิ่งเข้าสู่สัปดาห์ที่ 5 ของการจากบ้านมาของหนู แม้จะเป็นเวลาสั้นๆ แต่หนูก็ได้คิดอะไรมากมาย Thank you again for the nice presentation which inspired me a lot about what I should know at the age of 18. I’d like to exchange ideas more after I finish the book you recommended เพื่อค้นหาตนเองและสร้างอนาคตของหนูต่อไป Leadership is such a important existence in this century.

ราตรีสวัสดิ์ค่ะ Have a wonderful tonight!

Wang Nan

ข้อคิดของผู้นำสมอง

1. The Brain-Based Journey หัวข้อที่ผมไปแชร์กับนักเรียนมหาวิทยาลัยกว่าร้อยชีวิตในวันนั้นคือ The Journey อันเป็นแผนที่การ ‘นำสมอง’

เริ่มชั่วโมงด้วยการเปิดกราฟ Man vs. Machine ให้ดูว่า อีกยี่สิบปีข้างหน้า หรือเมื่อเขาอายุ 38 ปี งานกว่าครึ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันจะถูกทดแทนด้วยคอมพิวเตอร์ แล้วจะ Survive ในโลกนั้นได้อย่างไร 

 คำตอบคือเราต้องเลิกทำตัวแข่งกับหุ่นยนต์ เปลี่ยนมาเรียนรู้ศักยภาพของมนุษย์ ฝึกฝนวิธีใช้สมองค้นหาตนเอง ตั้งคำถามท้าทายปัจจุบัน ขับเคลื่อนเพื่อสร้างสิ่งที่โลกบอกว่าเป็นไปไม่ได้ Challenge the convention

2. ROI ของการเรียน ตัวอย่างเช่น เวลาประเมินหลักสูตร ทุกองค์กรใช้วิธีเหมือนกันหมดคือหารค่าความพึงพอใจผู้เรียนแบบ GPA

แต่จดหมายของหวางนันทำให้ผมกลับมาคิดใหม่ หากวัดผลแบบค่าเฉลี่ย น้องๆ ในห้องทั้งที่หลับ และตื่นระหว่างเซสชั่นให้เพียง 3.5 จาก 5 ซึ่ง HR คงไม่จ้างกลับไปใหม่ แต่ไม่รู้ทำไมหลังอ่านอีเมลจบ ผมกลับรู้สึกว่าตนประสบความสำเร็จยิ่งนักกับหลักสูตรนี้ 

ใครจะรู้ว่าวันหน้า เด็กสาวจากเมืองจีนตัวเล็กๆ ผู้นี้อาจเป็น Jack Ma คนต่อไป  ผมสร้างผู้นำได้หนึ่งจากร้อยคนในห้องไม่เรียกว่าประสบความสำเร็จหรอกหรือ เราคงไม่ได้หวังให้ทุกคนในห้องเดินออกไปเป็นผู้นำทุกคนไม่ใช่หรือ  เรากำลังเรียนหลักสูตรผู้นำ ไฉนเราจึงใช้วิธีของผู้ตามเป็นตัวชี้วัด  คำถามกวนโลกแบบนี้คือสิ่งที่คอมพิวเตอร์ทำไม่ได้

3. Start Now! ประสบความสำเร็จหรือไม่ อย่างน้อยกราฟที่ผมทำประกอบในวันนั้น ก็ถูกพี่ชายจิ๊กเอาไปสร้างแรงบันดาลใจให้กับ ‘เพื่อนธรณ์’ อีกหลายพันคน

“เบื่อจัง เด็กไม่อยากเรียน เด็กขาดความกระตือรือร้น เป็นถ้อยคำที่อาจารย์แทบทุกคนบ่น คือเด็กไม่รู้จะเรียนไปทำไม สิ่งที่เรียนไปไม่เห็นเกี่ยวกับชีวิตตรงหน้า ขอให้ได้เกรด ได้ทรานสคริปต์ดีๆ ก็สมัครงานได้แล้ว เทอมหนึ่งจะทุ่มเทจริงก็เฉพาะก่อนสอบเพียงไม่กี่วัน ในห้องเรียนจะทำอะไรก็ได้ ชีวิตของเด็กยุคนี้มีเรื่องเฉพาะหน้ามากระตุ้นความสนใจมากกว่าที่จะไปสนใจอนาคตอันไกลโพ้น”

คนที่จะอยู่รอดคือคนที่กระตือรือร้นอยากเรียนรู้เมื่อมีโอกาส การเรียนรู้เพื่อได้ความรู้เป็นสิ่งตอบแทน และการรู้เพื่อสักวันจะนำมาใช้ได้ในชีวิต

หากน้องคนใดไม่เข้าใจ ผมแนะนำให้กลับไปอ่านจดหมายของหวาง นัน อีกครั้ง เพราะนั่นคือวิธีคิดของเพื่อนร่วมโลก ที่จะมาแย่งงานซี่งเหลือเพียง 40% ในอนาคตของคุณ

หรือหากใครยังบ่นว่า ไร้สาระ น่าเบื่อ ไม่เห็นเกี่ยวกับชีวิตเฉพาะหน้า งั้นผมขอยืมประโยคอาจารย์ธรณ์มาใช้บ้าง

“ก็จงเดี้ยงไปซะ” ครับ!