นวัตกรรมอย่างเป็นระบบกับ ISO

นวัตกรรมอย่างเป็นระบบกับ ISO

ในปี 2013 เป็นปีที่เกิดการรวมตัวของคนจาก 23 ประเทศทั่วโลกในนาม ISO/TC 279

เพื่อที่จะช่วยกันร่างข้อกำหนดและรายละเอียดอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำมาตรฐานใหม่ โดยผู้ที่เข้าร่วมมาจากหลากหลายองค์กรทั้งภาคอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม รวมถึง SME อาทิโรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการ องค์กรด้านการลงทุน กองทุนร่วมลงทุน บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการนวัตกรรมและหน่วยงานด้านการประเมินมูลค่าและการถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันการศึกษา หน่วยวิจัย


ทุกคนล้วนเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ แต่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดการนวัตกรรมซึ่งเป็นหัวข้อที่สำคัญและเป็นที่สนใจมากหัวข้อหนึ่งในยุคนี้


ทั้งนี้เพราะองค์กรจำนวนไม่น้อยกำลังจะผันตัวเองไปสู่ธุรกิจที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้สูงขึ้น มากกว่าการรับจ้างผลิตที่มุ่งลดต้นทุนหรือขจัดปัญหาเดิมๆ โดยวัตถุประสงค์เพื่อที่จะจัดทำมาตรฐานเครื่องมือต่างๆที่มีการนำมาใช้ในงานนวัตกรรม และวิธีการในทุกจุดที่มีปฎิสัมพันธ์กันระหว่างคนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการนวัตกรรม ครอบคลุมประเด็นเชิงอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม และสังคม 


คณะทำงานด้านเทคนิคนี้ได้แบ่งออกเป็นคณะย่อย อาทิ กลุ่ม IMS ทำหน้าที่กำหนดขอบเขตของระบบการจัดการนวัตกรรม (กระบวนการและองค์กร) กลุ่ม Terminology ทำหน้าที่กำหนดคำที่ต้องใช้ร่วมกันเพื่อให้เข้าใจในทิศทางเดียวกัน กลุ่ม Tools and Methods ทำหน้าที่กำหนดเครื่องมือและวิธีการที่ใช้เพื่อสนับสนุนงานด้านนวัตกรรม (ทรัพย์สินทางปัญญา ความร่วมมือ การบริหารโครงการ) กลุ่ม Assessment ทำหน้าที่กำหนดเกณฑ์การประเมิน 

ซึ่งนี่คือแบบแผนทั่วไปที่ใช้ในการจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการอื่นๆที่เคยประกาศใช้ไปก่อนหน้านี้ที่เราคุ้นเคย อาทิ ISO 9001 ISO 14001 หรือ ISO/IEC 17025 เป็นต้น


เชื่อว่าทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องคุณภาพและมาตรฐานคงปฎิเสธไม่ได้ถึงประโยชน์และความสำคัญ สำหรับบริบทขององค์กรแล้ว มาตรฐานสากลด้านระบบการจัดการนวัตกรรม ISO 50500 ก็เป็นอีกหนึ่งระบบที่จะเข้ามาช่วยให้การผลักดันนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น อย่างน้อยก็เป็นแนวทาง (Guideline) การปฏิบัติที่ดี เพื่อกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมอย่างมีแบบแผน


มาตรฐานดังกล่าวจะช่วยให้องค์กรสามารถสร้างผลงานนวัตกรรมได้อย่างไร มีเหตุผลบางประการที่จะให้เราพิจารณานำเอามาตรฐานดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ อาทิ 

ประโยชน์ทางการตลาด
-ได้ให้แนวทางที่องค์กรสามารถแก้ปัญหาและเติมเต็มความต้องการลูกค้าที่ยังไม่มีใครตอบสนอง
-เพิ่มโอกาสทางธุรกิจและขยายมุมมองในการเปิดตลาดใหม่ๆ
- นำไปสู่การลดทอนกำแพงขวางกั้นทางการค้า
- เป็นคำตอบของทางออกที่ประเทศเกิดใหม่และประเทศพัฒนาแล้วต้องการ


ประโยชน์ในทางวัฒนธรรม
-พัฒนาให้คนในองค์กรเปิดใจกว้างที่จะยอมรับโมเดลหรือวิธีการทำธุรกิจในรูปแบบใหม่ๆ
- ส่งเสริมการเจริญเติบโตของวัฒนธรรมนวัตกรรมที่สอดรับกับแนวโน้มโลก
- อำนวยการให้เกิดการดำเนินการกับพันธมิตรทั้งภายในและภายนอก
- ปรับปรุงสเกลของความร่วมมือและการสื่อสารไปในระดับสากล
- ผนวกรวมเอาความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าไว้ในกระบวนการนวัตกรรมขององค์กร
ประโยชน์ต่อองค์กร

- ประหยัดต้นทุนและลดความเสี่ยง เมื่อเกิดนวัตกรรมและความร่วมมือทำให้เราสามารถก้าวข้ามกำแพงและสิ่งกีดขวาง ด้วยการพัฒนาเครื่องมือที่มีมาตรฐาน
-เพิ่มความสามารถขององค์กรในการตัดสินใจ ทดสอบและทดลอง ไม่ใช่ล้มเหลวแต่ล้มแล้วลุกเร็ว มีความสามารถที่จะจัดการกับความเสี่ยงอย่างมีเหตุผล กล้าเผชิญความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงของโลก
-ปรับปรุงประสิทธิภาพและสมรรถนะขององค์กรในการผลิตนวัตกรรม
-ปรับปรุงผลลัพธ์ของกระบวนการนวัตกรรมและอนุญาตให้มีการตรวจติดตามผลตอบแทนจากการลงทุนที่เกิดขึ้นจากทุกๆกิจกรรมที่เกี่ยวกับนวัตกรรม
-แลกเปลี่ยนภาษาที่เป็นกลางและได้รับการยอมรับทั่วไปในด้านการจัดการนวัตกรรม
-ประเมินความก้าวหน้าขององค์กรและบ่งชี้และแลกเปลี่ยนการปฎิบัติที่ดีในด้านการจัดการนวัตกรรม
เหตุผลบางข้อที่กล่าวมานี้


น่าจะเพียงพอให้เราเริ่มต้นก้าวเดินสู่จุดมุ่งหมายในการสร้างสิ่งใหม่อย่างเป็นระบบ สำหรับองค์กรที่คุ้นเคยกับ ISO 9000 แล้ว ไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะศึกษาและนำมาใช้