“กินบนเรือน (อย่า) ขี้บนหลังคา”

“กินบนเรือน (อย่า) ขี้บนหลังคา”

สัปดาห์ที่แล้ว ผู้เขียนเข้าร่วมประชุมบอร์ดของสมาคมนักบริหารอาคารชุด - หมู่บ้านจัดสรรไทย เป็นการประชุมคณะกรรมการ ตามรอบปกติของปี 2560

ตามที่กำหนดไว้ ภายหลังเสร็จสิ้น การประชุมดังกล่าว ผู้เขียนได้มีโอกาสพูดคุย สอบถามสารทุกข์ สุกดิบ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับบรรดาพรรคพวก เพื่อนฝูง ซึ่งประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องอสังหาริมทรัพย์ ทั้งในฐานะ ผู้ประกอบการโครงการ หรือ Developers และบริการอสังหาริมทรัพย์ 

เรื่องหนึ่ง ซึ่งทุกคนส่วนใหญ่ มอง และเห็นคล้ายคลึงกัน ได้แก่ การประกอบธุรกิจการให้บริการอสังหาริมทรัพย์ในระบบอาคารชุด คอนโดมิเนียม และโครงการหมู่บ้านจัดสรร สามารถดำเนินการได้ง่าย พบว่ามีบุคคล หรือนิติบุคคลจำนวนไม่น้อย ซึ่งมิได้สังกัด จดทะเบียน เป็นสมาชิกของสมาคมนักบริหารอาคารชุด - หมู่บ้านจัดสรรไทย เสนออัตราค่าบริการ รองรับการบริหารจัดการทรัพย์สินดังกล่าวในราคาที่ต่ำเกินจริง ทำให้ขาดมาตรฐาน ขาดประสิทธิภาพการบริหาร และ การให้บริการต่อ ผู้ว่าจ้าง หวังเพียง เพื่อให้ได้ยอดขาย หรืองานเข้าสู่องค์กร ธุรกิจของตน ซึ่งสร้าง ความเสียหายต่อ “ผู้ว่าจ้าง”

ต้องยอมรับว่าในสังคม มีทั้งคนดี และคนไม่ดีปะปนกัน อาจแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นลำบาก แต่ไม่แก้ไข ก็ไม่ได้ ทางสมาคมฯ ไม่ประสงค์ให้ธุรกิจการให้บริการอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้บริโภค ผู้ซื้อทรัพย์สิน ผู้ใช้บริการ ตลอดจน ”ผู้ว่าจ้าง“ ได้รับงานบริการที่ด้อยคุณภาพ และขาดประสิทธิภาพ ซึ่งอาจเกิดผลเสียต่อ ”ผู้ว่าจ้าง“ ผู้รับบริการในระยะยาวได้ ทั้งนี้ ขอให้ ”ผู้ว่าจ้าง“ ได้ตรวจสอบประวัติ ผลงาน ภูมิหลังของบุคคล นิติบุคคลที่เสนอราคาอย่างระมัดระวัง อีกทั้งพิจารณาเรื่องดังกล่าวให้รอบคอบด้วย” ท่านอุปนายกสมาคมฯ ด้านวิชาการ กล่าว

อย่างไรก็ดี นิติบุคคล ประเภทบริษัทจำกัด จำนวนไม่น้อย ซึ่งจดทะเบียนนิติบุคคล ประกอบธุรกิจการให้บริการอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะการบริหารอาคารชุด คอนโดมิเนียม (Condominium - Facilities Management Services) ซึ่งยังด้อยประสบการณ์ ขาดประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญ เมื่อเสนอราคาค่าบริการในราคาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ตามที่สมาคมฯ วางข้อกำหนด 

บางราย มีการยื่นข้อเสนออื่นๆ ล่อใจ ผู้ว่าจ้างลูกค้า หวังเพียง เพื่อให้ได้งาน จริงอยู่ การเสนอราคาที่ต่ำ ราคาถูก อาจเป็น กลยุทธ์การแข่งขันการประกอบธุรกิจ แต่อาจไม่ใช่ธุรกิจบริการอสังหาริมทรัพย์ ประเภท คอนโดมิเนียม อาคารชุด เพราะความเสี่ยงของการบริหาร และการให้บริการที่ไม่ได้คุณภาพ ขาดมาตรฐาน อาจส่งผลเสียต่อ “ผู้ว่าจ้าง” ในระยะยาวได้

นอกจากการเสนออัตราค่าบริการที่ถูกเกินจริง ต่ำกว่ามาตรฐาน ตามที่สมาคมฯ กำหนดแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจบริการอสังหาริมทรัพย์ ยังอาจพบปัญหา และอุปสรรค เมื่อบุคลากร ลูกจ้างบางราย ทั้งการจ้างตรง หรือจ้างทางอ้อม สร้างความเสียหาย ความเดือดร้อนแก่องค์กร หรือ “นายจ้าง” หรือ “ผู้ว่าจ้าง” หรืออาจเปรียบเทียบกับสุภาษิตไทย กินบนเรือน ขี้บนหลังคา ได้แก่เรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. ลูกจ้างเปิดธุรกิจแข่งขันกับ นายจ้าง

ประเด็นข้างต้น มิได้ห้าม “ลูกจ้าง” เปิดธุรกิจบริการอสังหาริมทรัพย์แข่งขันกับ “นายจ้าง” ไม่ได้ แต่ “ลูกจ้าง” ไม่ควรนำเสนอข้อเสนอการบริการอสังหาริมทรัพย์แห่งเดียวกับ “นายจ้าง” ซึ่ง “ลูกจ้าง” ควรนำเสนอข้อเสนอบริการงานดังกล่าว ณ สถานที่แห่งอื่น

  1. ลูกจ้างขาดความซื่อสัตย์ สุจริตต่อ นายจ้าง

กรณีข้างต้น อาจมีจำนวนน้อย หรือมาก มิอาจทราบได้สุดแล้วแต่ แต่หากองค์กรใด มี “ลูกจ้าง” ซึ่งขาดความซื่อสัตย์ สุจริต ย่อมส่งผลเสียหายต่อ “นายจ้าง” ไม่มาก ก็น้อย

  1. ลูกจ้าง” ปฏิบัติตนเป็นนกสองหัวต่อ นายจ้าง

เมื่อ “ลูกจ้าง” อยู่ต่อหน้า “นายจ้าง” อาจประพฤติตนอีกแบบ และเมื่ออยู่ต่อหน้า “ผู้ว่าจ้าง” ก็อาจประพฤติตนไปอีกแบบ พฤติกรรมดังกล่าว เรียกว่าเป็นนกสองหัว การกระทำดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่

  1. ลูกจ้างขายความลับองค์กรของ นายจ้าง

เมื่อ “ลูกจ้าง” ขาดความซื่อสัตย์ สุจริต “ลูกจ้าง” ก็อาจสามารถขายความลับทางธุรกิจขององค์กร “นายจ้าง” ให้แก่บุคคล หรือนิติบุคคลอื่นได้เช่นกัน และ

  1. ลูกจ้างดึงคน (เก่ง) ของ นายจ้าง

“ลูกจ้าง” ที่ดี มีความภักดีต่อองค์กร “นายจ้าง” จะไม่กระทำเรื่องดังกล่าว เว้นแต่เป็นความสมัครใจของบุคคล การกระทำการด้วยการดึงบุคลากร “นายจ้าง” เดิมเข้าสังกัด ร่วมงานกับองค์กรตน อาจถือว่าเป็นการตีท้ายครัว “นายจ้าง”

ทั้งหลาย ทั้งปวงที่ผู้เขียนนำเสนอ บอกกล่าว หวังเพียงให้ “ลูกจ้าง” ได้เข้าใจ “นายจ้าง” แต่หากการปรับความเข้าใจร่วมระหว่างทั้งสองฝ่าย ได้กระทำแล้ว แต่ไม่สามารถยอมรับกันได้ เสนอแนะ ทั้ง “ลูกจ้าง” และ “นายจ้าง” จากกันด้วยดี อย่าสร้างความเสียหายให้แก่กัน

*****

นายพิสิฐ ชูประสิทธิ์

นายกสมาคมนักบริหารอาคารชุด – หมู่บ้านจัดสรรไทย