โรงพยาบาลผู้สูงอายุุ บ้านหลังสุดท้ายของชีวิตอาวุโส

โรงพยาบาลผู้สูงอายุุ บ้านหลังสุดท้ายของชีวิตอาวุโส

ทุกคนต้องแก่ นี่เป็นสัจธรรมที่ต้องเจอตามหลักไตรลักษณ์  ที่ผ่านมาเราพูดกันตลอดว่าวัยเกษียณ ควรจะมีเงินเก็บกี่บาทสำหรับการดำรงชีวิตในบั้นปลาย

คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงวัย จึงยังเป็นคำถามใหญ่ แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ แล้วบ้านเราเมืองเรามีสถานที่รองรับผู้สูงวัยเพียงพอแล้วหรือไม่

ปัจจุบันเราอาจคุ้นเคยกับบ้านพักคนชราที่มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่คุณย่าคุณยายที่ถููกลูกหลานทอดทิ้ง ไม่มีเงินติดตัวต้องพึ่งพาเงินสังคมสงเคราะห์ หรือคนสูงวัยผู้มีอันจะกินที่พอจะลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์ไว้พักอาศัยยามแก่เฒ่า

อย่าง สวางคนิเวศ และหมู่บ้านผู้สูงวัยอื่นๆ ในกรณีที่อยู่ในความดูแลของลูกหลาน ก็ต้องไปใช้ชีวิตระหว่างวันในสถานรับเลี้ยงคนชรา(Day Care) ตกเย็นลูกหลานก็จะะมารับกลับบ้าน ตื่นเช้าก็จะเลยมาส่งใหม่ วนเวียนแบบนี้เรื่อยไป 

เมื่อคิดถึงการรักษาพยาบาล ซึ่งอยู่คู่กับผู้สูงวัยที่มีสุขภาพโรยราแล้ว โอกาสทางธุรกิจของโรงพยาบาลผู้สูงอายุจึงเกิดขึ้น 

..เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลผู้สูงอายุเชอเซอรี่โฮม(Chersery Home) พูดคุยกับรายการ Business101 ช่วง Biz Connect  เล่าว่า ในประเทศไทยโดยมากจะมีสถานประกอบการเพื่อผู้สูงอายุในลักษณะของเดย์แคร์เสียมาก 

หากต้องการดูแลรักษาสุขภาพ ทางเลือกของผู้ป่วย ก็คือโรงพยาบาลเอกกชนทั่วไป ที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก ความเชี่ยวชาญของบุคลากรในการรับมือกับผู้สูงอายุยังไม่เพียงพอท่าใดนัก 

โรงพยาบาลผู้สููงอายุ จึงเปิดรับเฉพาะคนไข้ที่เป็นผู้สูงอายุเท่านั้น ทั้งผู้ป่วยที่ต้องพักรักษาตัวระยะยาว ผู้ป่วยที่ต้องพักฟื้นจากการผ่าตัด หรือ ผู้สูงวัยที่ต้องทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องเป็นต้น 

โดยที่อุปกรณ์ต่างๆมีครบครันเหมือนโรงพยาบาลทั่วไปและให้บริการด้านอายุรกรรมตลอด 24 ชั่วโมง แม้เราจะทราบกันดีว่าโครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงไปมาก ผู้สูงอายุขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกับอัตราการเกิด แต่โรงพยาบาลผู้สูงอายุในไทยยังถือว่ามีน้อยมาก กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่บางแห่งเท่านั้น 

ผู้สูงอายุที่มีเงินต้องการรับบริการมีมาก แต่กลายเป็นว่าสถานที่รองรับไม่เพียงพออย่างชัดเจน 

ประกอบกับข้อกฎหมาย ข้อบังคับ กฎกระทรวงที่ดูแลสถานพยาบาลเหล่านี้ ยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ในการกำกับดูและตลอดจนการให้การสนับสนุน กลายเป็นตอนนี้แยกเป็นเพียงคลินิคและโรงพยาบาลเพียงเท่านั้น ทำให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่อยากจะเข้ามาทำยังน้อยอยู่ นี่จึงเป็นปัญหาที่ น.พ.เก่งพงศ์ ชี้ให้เห็นว่าต้องรีบแก้ไขโดยเร็ว 

สำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษามักจะเป็นผู้ที่ป่วยหนักต้องได้รับการดูแลตลอดเวลา ขณะที่ผู้ที่ผ่านการผ่าตัดจุดสำคัญอย่างผ่าหัวเข่าหรือผ่าหลัง ก็เข้ามารับการรักษาจำนวนมาก เพราะไม่สามารถเดินทางไปกลับบ้านเพื่อไปทำกายภาพบำบัดได้ทุกวัน

ในต่างประเทศ บริการทางการแพทย์สำหรับผู้สูงอายุจะเชื่อมโยงหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าไว้ด้วยกัน กระบวนการการดูแลคนไข้จึงมีประสิทธิภาพ 

นอกจากนี้ชุมชนยังมีบทบาทออย่างยิ่งในการช่วยดูแลผู้สูงวัยในชุมชน ส่วนตรงนี้ก็จำเป็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้าไปในพื้นที่เพื่อให้ความรู้ที่ถูกต้องด้วด้วย ปัญหาสำคัญคือผู้ป่วยที่สูงอายุมักจะรับประทานยาจำนวนมาก เป็นเรื่องสำคัญที่ลูกหลานต้องคอยดูแลให้กินยาครบตามที่หมอสั่ง มิเช่นนั้นอาการป่วยก็จะแย่ลงหรือว่ามีอาการแทรกซ้อนกำเริบได้ การดูแลคนสูงวัยในลักษณะของโรงพยาบาลผู้สูงอายุจึงตอบโจทย์ส่วนนี้ด้วย 

นี่ล่ะครับเรื่องราวของธุรกิจสุขภาพของผู้สูงอายุ ที่ยังน่าเป็นห่วง และคงต้องช่วยกันเร่งเครื่องให้เกิดผู้ประกอบการรรายใหม่ๆ ให้เติบโตตามประชากรสูงวัยที่เพิ่มจำนวนขึ้นเร็วแบบติดจรวดขนาดนี้