สร้างสุขภาพทางการเงินที่ดี สู่ความมั่งคั่งที่ยั่งยืน

สร้างสุขภาพทางการเงินที่ดี สู่ความมั่งคั่งที่ยั่งยืน

สร้างสุขภาพทางการเงินที่ดี สู่ความมั่งคั่งที่ยั่งยืน

หากถามถึงสุขภาพทางกายที่ดีเป็นอย่างไร ? หลายคนคงตอบได้ แทบไม่ต้องคิด “ก็ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บไม่ป่วย โรคภัยไม่เบียดเบียน และมีอายุยืนยาวสิ” ครับคำตอบของหลาย ๆ ท่านคงออกมาทำนองนี้ แต่ถ้าถามว่าแล้วสุขภาพทางการเงินที่ดี (Credit: Fixed income & Unit trust trading division) เป็นอย่างไร? หลายท่านเริ่มคิด “เอ..การเงินมีสุขภาพด้วยหรือ?”

สุขภาพทางการเงินที่ดีคืออะไร?

สุขภาพทางการเงินที่ดีคือ สภาวะทางการเงินที่เหมาะสม พอเพียง ไม่ติดขัดในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะทำให้สามารถต่อยอดเพิ่มความมั่งคั่งได้ในอนาคต หรือเอาให้ง่ายคือมีเงินพอใช้จ่ายในทุกช่วงของชีวิต และมีโอกาสสร้างความร่ำรวยต่อไปได้ ที่ต้องบอกว่าทุกช่วงของชีวิต เพราะหลายคนมองว่าวันนี้ยังทำงาน มีรายได้เพียงพอ อย่างนี้ก็ต้องเรียกว่าสุขภาพทางการเงินดีสิ แต่อย่าลืมในแต่ละช่วงชีวิตเราอาจมีค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ ๆ ที่ต้องเตรียมไม่ว่าจะการส่งบุตรหลานเข้าเรียนหรือแม้กระทั่งค่าใช้จ่ายเมื่อยามเกษียณ คนเราไม่สามารถทำงานได้จนถึงวันสุดท้ายของชีวิต ซึ่งเมื่อเกษียณนั้นหมายความว่ารายได้อันเกิดจากแรงงานเราเริ่มหมดไป แต่รายจ่ายเพื่อการดำรงชีพมันยังอยู่ หากเราไม่วางแผนเกษียณ ไม่มีสินทรัพย์ที่เพียงพอต่อการดำรงค์ชีวิต บั้นปลายของชีวิตอาจไม่น่าภิรมย์เท่าไหร่

แล้วสุขภาพทางการเงินที่ดีเริ่มอย่างไร ?

ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพการเงินจะให้มันแข็งแรง มันเริ่มเหมือนกัน คือ “สร้างวินัย” สุขภาพกายจะดีได้เราก็ต้องมีวินัย ไม่ว่าจะเรื่องการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ สร้างกล้ามเนื้อ หัวใจ หลอดเลือดให้แข็งแรง รับประทานอาหารทีดีมีประโยชน์ ส่วนทางการเงินก็เหมือนกัน สร้างวินัย สร้างนิสัยการออม จากเดิมที่เมื่อเรารับรายได้มา หักค่าใช้จ่าย ที่เหลือแล้วเราจึงเอาไปออม ซึ่งเชื่อว่าเหลือบ้างขาดบ้างก็ต้องเปลี่ยนครับ เมื่อมีรายได้เข้าต้องกันส่วนหนึ่งเพื่อออมเลย ที่เหลือจึงค่อยเอาไปใช้ ทำอย่างนี้บ่อย ๆ เข้าจนเป็นนิสัยการออม จนเป็นการเสพติดการออม เหมือนคนออกกำลังกาย ก็เสพติดเอ็นโดรฟิน คือเดือนไหนไม่ได้ออมจะรู้สึกหงุดหงิด ครั่นเนื้อครั่นตัว แต่ถ้าเห็นบัญชีเงินออมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จะรู้สึกปิติ สบายใจ

เมื่อออมได้แล้วต้องเริ่มรู้จักลงทุน

ปัจจุบันมีช่องทางมากมายที่ให้ผลตอบแทนที่ดีและคุ้มค่ากว่าการฝากเงินไว้เฉย ๆ ถ้ายังไม่ชำนาญ อาจเริ่มจากการลงทุนผ่านกองทุนรวมก่อน ซึ่งข้อดีคือใช้เงินลงทุนน้อย แถมมีคนเก่ง ๆ มาบริหารเงินให้ ระหว่างนั้นก็เริ่มศึกษาหาความรู้จากการลงทุน ซึ่งทางหลักทรัพย์บัวหลวงเราเองก็มีคอร์สสัมมนาดี ๆ ฟรี ๆ มากมาย แล้วค่อยเริ่มขยับไปลงทุนในหุ้นโดยตรง แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือเมื่อได้ดอกผลจากการลงทุนมาแล้ว อย่าลืมนำดอกผลไป Re-Invest เพื่อให้เกิดการทบต้นของผลตอบแทน อันจะเป็นตัวช่วยในการเพิ่มมูลค่าของเงินออมเราครับ

เงินสำรองฉุกเฉิน

สองก๊อก ย่อมดีกว่าก๊อกเดียว นี่เงินอีกก้อนหนึ่งที่จะดึงมาใช้เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันต่าง ๆ เงินช็อต ตกงาน ฯลฯ เพื่อให้ยังสามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องไปกู้หนี้ยืมสินใครมาให้ปวดหัว

โดยจำนวนเงินสำรองจะขึ้นอยู่กับรูปแบบรายได้ และพฤติกรรมการใช้จ่ายของแต่ละคน ถ้าเป็นมนุษย์เงินเดือน มีรายได้ประจำ ควรมีเงินก้อนนี้อย่างน้อย 3 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เพราะหากเกิดอะไรขึ้น คุณยังสามารถใช้ชีวิตในระดับปกติได้อีก 3 เดือนนั่นเอง ในขณะที่คนที่มีรายได้ไม่แน่นอน หรือเป็น Freelance ก็ควรจะมีอย่างต่ำ 6 เท่าขึ้นไป

ท้ายที่สุดแล้วสิ่งสำคัญของการสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดีนั้น คือ ความเข้าใจ และวินัยในการออม การใช้จ่าย และการลงทุน หากคุณเริ่มฝึกเริ่มออมตั้งแต่วันนี้ ทำให้ติดเป็นนิสัย อิสระภาพทางการเงินก็อยู่ไม่ไกลแล้วครับ และที่หลักทรัพย์บัวหลวงเองเราก็มีตัวช่วยดี ๆ อีกมากมาย ทั้งออมในหุ้น ออมในกองทุน มีพร้อมรอให้ท่านโทรเข้ามาสอบถามอยู่แล้วที่ 02-618-1111 ครับ