ถ่ายทอดเทคโนโลยี รถไฟ'ไทย-จีน' อาจไร้ประโยชน์

ถ่ายทอดเทคโนโลยี  รถไฟ'ไทย-จีน'  อาจไร้ประโยชน์

หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศใช้คำสั่งตามอำนาจมาตรา 44

 ผ่าทางตันการเดินหน้ารถไฟไทย-จีน ประเด็นสำคัญประการหนึ่งของการทักท้วงก็คือ ควรเปิดทางให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี

เพราะจีนเองก็ดำเนินการแบบนี้มาก่อน จึงน่าจะเปิดโอกาสให้กับวิศวกรไทยด้วยเช่นกัน

ซึ่งล่าสุดที่ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เชิญธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) และ อมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิชาชีพวิศวกร หารือร่วมกัน

ได้ข้อสรุปว่าจะกำหนดให้ชัดเจนในสัญญาการก่อสร้าง ว่าจะต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับไทย

แต่เรื่องนี้มีมุมมองน่าสนใจจากการพูดคุยกับ อาคม มาลีสี ประธานสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย ที่กำลังจะมีการประชุมกันในวันนี้ (21มิ.ย.) 

ที่มองกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี ว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะที่ผ่านมาการถ่ายทอดเทคโนโลยีในโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้ความรู้ใหม่ๆ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอยู่แล้ว 

เพียงแต่ว่าไม่เคยประสบความสำเร็จ เพราะการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ดี จำเป็นต้องมีการลงทุนในเรื่องของห้องปฏิบัติการ นี้ต้องมีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาทำงานร่วม 

ที่สำคัญความรู้จากผู้เชี่ยวชาญควรได้รับการถ่ายทอดไปสู่บุคลากรของชาติจากรุ่นสู่รุ่นอย่างแท้จริง 

แต่ส่งที่เกิดขึ้นกระบวนการต่างๆ ของถ่ายทอดเทคโนโลยี ไม่ได้เกิดขึ้นผ่านสถาบันการศึกษา 

แม้กระทั่งการพัฒนารถไฟฟ้าความเร็วสูงในประเทศจีนเอง ก็ยังใช้รูปแบบการกระจายเทคโนโลยีให้กับคนในชาติ รัฐบาลจีนลงทุน สร้างหน่วยวิจัย หน่วยทดสอบในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ 

ด้วยแนวคิดที่ว่า การลงทุนดังกล่าวจะเกิดการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย ซึ่งความรู้ทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในห้องปฏิบัติ การจะถูกถ่ายทอดจากวิศวกรรายหนึ่ง ก้าวไปสู่การเป็นอาจารย์ เข้ากระบวนทางการศึกษา ไปสู่นักศึกษา จนจบออกมาไปทำงานเป็นวิศวกร 

รวมทั้งอาจค้นพบองค์ความรู้ใหม่ถ่ายทอดวนเวียนไม่รู้จบ 

สิ่งนี้ต่างหากที่จะสามารถเรียกได้ว่าเป็นการ ทรานเฟอร์ทางเทคโนโลยีอย่างแท้จริง !!!