สาขาเทคโนโลยีในอนาคต สำหรับโมเดลไทยแลนด์ 4.0

สาขาเทคโนโลยีในอนาคต สำหรับโมเดลไทยแลนด์ 4.0

ท่านผู้อ่านที่ติดตามบทความคอลัมน์ในสัปดาห์ก่อนหน้า คงพอจะจำได้ถึงการนำเครื่องมือคาดการณ์เทคโนโลยีในอนาคต

ที่เรียกว่า TF (Technology Foresight) มาประยุกต์ใช้ในการทำนายเทคโนโลยีที่มีศักยภาพในการผลักดัน 5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย สู่ความสำหรับตามโมเดลไทยแลนด์ 4.0

ซึ่งเป็นผลงานศึกษาและวิจัยของ ศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค สานักงานคณะกรรมการนโยบายทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ และ สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ เมื่อ กรกฎาคม 2559 (http://www.apecforesight.org/index.php/research/49-key-tech-final-report.html)

เครื่องมือคาดการณ์อนาคตที่คณะผู้วิจัยดังกล่าว นำมาประยุกต์ใช้นี้ นำไปสู่ภาพอนาคตของเทคโนโลยีหลัก 4 สาขา ได้แก่ สาขาเทคโนโลยีชีวภาพสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสาขาเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ พลังงานและสิ่งแวดล้อมและ สาขานาโนเทคโนโลยีที่ได้รับการทำนายว่า จะเป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญและมีศักยภาพในการพัฒนาสำหรับประเทศไทย

และยังได้ขยายภาพให้ชัดเจนลงไปถึง เทคโนโลยียุทธศาสตร์ ระดับย่อย ที่มีความสำคัญที่สุดต่อประเทศไทย 5 อันดับแรก ในเทคโนโลยีแต่ละสาขา

เนื่องจากคณะผู้วิจัย ได้นำเสนอรายชื่อเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นชื่อภาษาอังกฤษล้วนๆ ไม่มีชื่อภาษาไทยกำกับเหมือนกับเทคโนโลยีหลัก 4 สาขาที่ได้กล่าวมา จึงต้องขอนำชื่อภาษาอังกฤษมาเป็นชื่อนำในบทความนี้

เทคโนโลยียุทธศาสตร์ในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ

อันดับที่ 1 เทคโนโลยี System biology เป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับการใช้การคำนวณหรือโมเดลทางคณิตศาสตร์มาอธิบายระบบที่ซับซ้อนของสิ่งมีชีวิตเพื่อประยุกต์ใช้กับงานวิจัยด้านชีวการแพทย์และชีววิทยาในการค้นหาสมบัติใหม่ๆ ของ เซลล์ เนื้อเยื่อ และสิ่งมีชีวิตที่ทำงานร่วมกันเป็นระบบ

อันดับที่ 2 เทคโนโลยี Computer aided surgery เป็นเทคโนโลยีที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยและการผ่าตัดที่มีความแม่นยำสูงเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและช่วยให้คนไข้ฟื้นตัวได้ในเวลาสั้นลง ทำให้การผ่าตัดทางการแพทย์สามารถเข้าถึงได้โดยคนกลุ่มใหญ่ได้มากกว่าที่เป็นอยู่

อันดับที่ 3 เทคโนโลยี Modelling and forecasting for agriculture เป็นเทคโนโลยีที่ใช้แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการผลิตทางการเกษตร และการเพิ่มผลผลิต เช่น การคาดการณ์ผลผลิต การคาดการณ์ผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ การบริหารการเกษตร อาทิ การวางแผนการผลิต การชลประทาน การให้ปุ๋ย ฯลฯ การทำนายผลกระทบจากสภาวะแวดล้อมที่มีต่อพันธุ์พืชต่างๆ

อันดับที่ เทคโนโลยี Next generation sequencing technology เป็นเทคโนโลยีอุบัติใหม่ที่จะทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลพันธุกรรมที่มีความซับซ้อนสูงเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การสร้างความสามารถในการสังเคราะห์จุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่ การพัฒนาพันธุ์พืชเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพ ยารักษาโรค หรือสุขอนามัยที่ดีขึ้นของประชากรโลก

อันดับที่ 5 เทคโนโลยี 3D cell-culture including stem cell เป็นเทคโนโลยีสำหรับการสร้างภาพโครงสร้าง 3 มิติของกลุ่มเซลล์ ทำให้ทราบถึงสภาวะการทำงานของเซลล์ของสิ่งมีชีวิตในสภาพจริงเหมือนสภาวะภายในร่างกาย ซึ่งจะรวมไปถึงการทำงานของเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) และเซลล์สำหรับการฟื้นฟูสภาพ (regenerative cell)

เป็นอย่างไรบ้างครับ สำหรับการใช้เครื่องมือ TF ในการคาดการณ์เทคโนโลยีในอนาคตของไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งยังคงต้องติดตามว่า เทคโนโลยียุทธศาสตร์ สำหรับเทคโนโลยีหลักในอีก 3 สาขาที่เหลือ จะมีอะไรบ้างที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

เหล่าบรรดา “เทคสตาร์ทอัพ” ทั้งหลาย คงไม่คลาดสายตาในเรื่องเหล่านี้ เพื่อเตรียมศึกษาหาความรู้ และติดตามทิศทางการพัฒนาของเทคโนโลยีในอนาคต เสียตั้งแต่วันนี้

เพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการ สร้างกำไรเชิงธุรกิจจากเทคโนโลยีในอนาคตให้ได้ก่อนคนอื่น!