ปรากฏการณ์ กระแสเปรี้ยว FOMO

ปรากฏการณ์ กระแสเปรี้ยว  FOMO

ทำไมไปตามกระแสฆาตกร ทำไมไปยกย่องจนดูเหมือนเป็นเน็ตไอดอล

เป็นเรื่องน่าตกใจมากมาย ที่มีคนให้ความสนใจสินค้าทุกสิ่งอย่างที่ฆาตกรกลุ่มสามสาว เปรี้ยว เอริ์น แจ้ ใช้ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าหมอนผ้าห่มการ์ตูนลายขวาง ขนมตุ๊บตั๊บ ครีมทาหน้า หรือทำพวงกุญแจเลื่อยออกมาขาย เป็นกระแสที่แพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็วไปทั่วประเทศ ซึ่งนำมาซึ่งความตกใจกับกระแสที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปได้อย่างไร 

ทำไมไปตามกระแสฆาตกร ทำไมไปยกย่องจนดูเหมือนเป็นเน็ตไอดอล      

คำตอบอย่างง่ายที่สุดก็คือ กิจกรรมการตลาดของลูกค้าที่ทำตามกัน ซื้อตามคนดัง เพราะเห็นเค้าทำก็เลยเอาบ้างเพราะทุกครั้งที่ใช้สินค้าแบบนี้คนก็จะเข้ามาพูดคุย เพราะทุกคนในประเทศไทยไม่มีใครไม่รู้จักเปรี้ยว เห็นคนดังใช้ไม่ว่าจะดังทางบวกหรือลบก็พร้อมจะทำตามได้โดยง่าย เมื่อคนหนึ่งทำแล้วคนอื่นๆก็ทำตามกัน ผู้บริโภคดูเสมือนจะว่านอนสอนง่าย มีคนมาท้าทายให้ทำก็ทำตามกันอย่างง่ายดาย และยินยอมที่จะรับเงื่อนไขไปบอกต่อถ้าจะมองย้อนกลับไป

กิจกรรมดังกล่าวนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับในอดีตกาลที่มีจดหมายลูกโซ่ (Chain letter) ที่เนื้อความในจดหมายบังคับให้ผู้รับส่งต่อไปอีกหลายคน ถ้าทำตามก็จะอวยพรให้มีความสุข ถ้าไม่ทำก็ขอประสบกับหายนะ เมื่อคนเราถึงจุดที่ถูกกระตุ้นถึง Pressure point จุดกดดันโดยเฉพาะเกิดความกลัว ก็จะยอมทำตามที่ได้รับคำสั่งมา แต่รูปแบบในปัจจุบัน ดูเสมือนว่าได้ก่อเกิดปรากฏการณ์รูปแบบคล้ายคลึงกันแต่ต่างกันไปเพราะมีเทคโนโลยีการสื่อสารมาเกี่ยวข้อง จึงขอบัญญัติศัพท์ที่น่าจะเรียกได้ว่า Chain Viral โดยอาศัยกิจกรรมที่ทำใส่ในยูทูปและบอกต่อไปยังคนอื่นๆคนที่ถูกเอ่ยถึงก็จะทำต่อไป จนกลายเป็นกระแสที่ฉันต้องทำ ไม่ทำไม่ได้แล้ว

คำถามคือ ทำไมต้องทำ ไม่ทำไม่ได้หรือ 

คำตอบก็คือ มนุษย์เรามีความอ่อนแอทางจิตใจและมีความต้องการภายในที่เป็นเรื่องของปัจจัยทางจิตวิทยาภายใน ที่เป็น Human Insight ในกรณีดังกล่าวนี้ปัจจัยอินไซท์ ในกิจกรรมอันนี้ก็คือ การชอบทำตามกระแสความดังความมีชื่อเสียงและกลัวตกกระแส (Fear of missing out: FOMO) ต้องทำตามสถานการณ์ความดัง แล้วทำตามกันไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นเรื่องมนุษย์ที่กลัวที่จะตกกระแสสังคม ไม่ต้องการพลาดโอกาสที่จะทำตามคนอื่นๆและสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นในสังคม 

นอกจากนี้ กระแสที่เกิดขึ้นในปัจจุบันสามารถทำได้โดยอาศัยเทคโนโลยี่การสื่อสาร มีโซเชียลเน็ตเวริ์คที่เอื้ออำนวยต่อการเปรียบเทียบตนเองกับกิจกรรมของคนอื่นๆในสังคม ปัจจัยทางจิตวิทยาในมิติอื่นก็คือ โจทย์ด้านสภาวะทางอารมณ์ในเรื่องของการยกย่องทางสังคม (Esteem and social need) ถ้าได้ทำตามก็จะมีคนมายกย่อง มากดไลค์จำนวนมาที่ภาพของเราที่ถ่ายกับเสื้อผ้าหมอนผ้าห่ม ทำให้เกิดแพร่ระบาดได้โดยง่าย 

ปัจจัยอื่นที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ เนื้อหาในการสื่อสาร (content) ที่ต้องมีเรื่องราวที่โดนใจ

เหตุไฉนจึงยกย่องให้เปรี้ยวเป็นเตไอดอลทั้งๆที่ไม่ควร คำตอบคือ บุคลิกภาพที่ขัดแย้งกับ พฤติกรรมการฆาตกรรม ถ้าไม่ได้เป็นผู้หญิง หน้าตาไม่สะสวย ไม่ทำศัลยกรรมหน้าอกโต แต่เป็นคนหน้าตาธรรมดาทั่วๆไป คงไม่เกิดกระแสการแฮชแทค #ทีมเปรี้ยว

นอกจากนี้มนุษย์เราเองก็มีมุมด้านมืดที่ต้องการได้รับการตอบสนองเช่นกัน บ่อยครั้งที่คนเราต้องการแสดงออกถึงสันดานดิบ (Instinct) ภายใน

ซึ่งจะว่าไปก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ควรน่ายกย่องเชิดชูกับพฤติกรรมด้านมืด แต่มนุษย์เราก็ชอบที่จะทำตามกระแสความดังของบุคคลและทำตามได้โดยปราศจากความยั้งคิด ซึ่งเป็นการยืนยันว่าพฤติกรรมของคนเราเกิดจากอารมณ์มากกว่าเหตุผล และเมื่อไหร่ก็ตามที่คนซื้อสินค้าโดยใช้อารมณ์ไม่ใช้ความคิดมักจะซื้อเยอะ ซื้อมาก

สรุปปัจจัยทางด้านอินไซท์ของลูกค้าที่ก็คือ การสร้างให้เกิดความรู้สึกทันสมัย ทำตามกระแสสังคม มีสินค้าตามความดังของผู้ที่มีชื่อเสียง ยิ่งเป็นมีชื่อเสียงมากเท่าไหร่ก็มักจะทำตามๆกัน โยไม่ได้ไตร่ตรองพิจารณาถึงจริยธรรม มโนธรรม ว่าคนดังนั้นมีพฤติกรรมไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบตามความรู้สึกของญาติของผู้เสียชีวิต

ดังนั้นการรนณรงค์ให้เลิกมีพฤติกรรมเอาเยี่ยงอย่างของคนดัง (Influencer) นั้นควรจะเป็นคนดังด้านบวกไม่ใช่คนดังด้านลบ การสร้างให้คนอย่าทำตามกระแสความดังด้านลบต้องใช้การเตือนความคิดเชิงตรรกะ แต่ไม่ว่าจะเป็นเพราะทำตามกันไปด้วยเหตุผลทางอารมณ์ใดๆก็ตาม การแชร์ การบอกต่อการกระทำความไม่ดี การเลียนแบบไม่ใช่เพียงแค่พฤติกรรมการฆาตกรรมที่ไม่ควรทำ แต่ การเลียนแบบพฤติกรรมการซื้อของฆาตกรก็ไม่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง 

มาเลิกความรู้สึกของการเป็น FOMO (Fear of missing out) ด้านลบ แต่มากลัวที่จะไม่ได้ทำตามกระแสของการทำความดีให้มากขึ้นกันดีกว่าครับ

Fear of missing out doing good.