การแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

การแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

(กฎหมายระบบ 30 บาท) 2

ก่อนที่จะกล่าวถึงการพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....(1) ที่คณะกรรมการยกร่างขึ้นใหม่นั้น จะขอกล่าวถึง การจ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คือการ จ่ายเงินค่าบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งไม่ได้ให้ “โดยตรง” แก่บุคคล(ตามาตรา 3) โยจ่ายให้แก่ “หน่วยบริการ”(สถานพยาบาลตามกฎหมาย) แต่เอาไปจ่ายให้แก่องค์กรและหน่วยงานอื่นที่ไม่มีสิทธิ์ได้รับตามกฎหมาย(ไม่ใช่สถานบริการ) เช่นกรณี(2) เอาเงินกองทุนไปจ่ายให้แก่มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ มูลนิธิประเมินเทคโนโลยีและนโยบายสุขภาพ (HITAP)

ซึ่งการใช้จ่ายเงินให้แก่หน่วยงานอื่นนอกเหนือหน่วยบริการนี้ อาจจะมีอีกมากมาย แต่ยังไม่มีการตรวจสอบและเปิดเผย เช่นกรณีเอาไปจ่ายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(3) ที่อ้างว่าเพื่อเป็นการ “สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุข” ( ที่ยังไม่มีอปท.ไหนกล้าเอาไปใช้ เนื่องจากกลัวว่าจะผิดกฎหมาย) อยู่ถึง 7.000 ล้านบาท

ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในร่างกฎหมายหลักประกันฉบับแก้ไขนี้ ได้เพิ่มคำจำกัดความของ “การบริการสาธารณสุข” ให้เพิ่มเติมว่า “บริการสาธารณสุขให้หมายความรวมถึงสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขด้วย”

จึงทำให้เกิดคำถามว่า วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติคืออะไรกองทุนนี้ตามหลักการประกันสุขภาพควรมีหน้าที่ “จ่ายค่าบริการสาธารณสุข” แทนประชาชน (เพื่อจะได้ไม่ล้มละลายจากการเจ็บป่วย” ดังที่กล่าวอ้างไว้

หรือกองทุนมีวัตถุประสงค์ที่จะทำงานทับซ้อนกับกระทรวงสาธารณสุข และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการไปสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขด้วย

ฉะนั้น ต้องแยกแยะว่า การจัดบริการสาธารณสุขนั้น เป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่านั้น ไม่ใช่หน้าที่ของผู้บริหารกองทุนประกันสุขภาพ เช่นสปสช.หรือกองทุนประกันสังคม หรือระบบสวัสดิการข้าราชการ ใช่หรือไม่?

และตลอดเวลา 16 ปีที่ผ่านมาสปสช.ได้ก้าวก่าย(ล้ำเส้น) การทำงานกระทรวงสาธารณสุขในการ “สั่งการเกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณสุข” อยู่เสมอมา ใช่หรือไม่?

และสปสช.เอาเงินไปจ่ายนอกเหนือหน่วยบริการ ในขณะที่ “หน่วยบริการ” (ซึ่งมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์เป็นหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข) จนทำให้หน่วยบริการสาธารณศุขขาดเงินงบประมาณที่พัชียงพอต่อการใช้บริการของผู้ป่วยตลอดมา

ฉะนั้น การแก้ไขคำนิยามของ “บริการสาธารณสุข” ในมาตรา 3 ของพ.ร.บ.ที่ยกร่างใหม่นี้ กลับจะเป็นการขยายขอบอำนาจของสปสช. ให้ทำการก้าวก่ายหรือสั่งการกระทรวงสาธารณสุขได้ตามกฎหมาย และจะเป็นการทำงานซ้ำซ้อนกันระหว่างสองหน่วยงานนี้

ผู้เขียนจึงไม่เห็นด้วยกับร่างแก้ไขในมาตรา 3 ดังกล่าว

ยังมีการแก้ไขในมาตรา 3 อีกว่า “สถานบริการ” ให้หมายความรวมถงน่วยงานอื่นของรัฐ ที่สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามที่คณะกรรมการกำหนด

ซึ่งผู้เขียนไม่เห็นด้วย เนื่องจากหน้าที่ในการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นหน้าที่ที่กระทรวงสาธารณศุขและสสส.ทำอยู่แล้ว ส่วนการป้องกันโรคนั้น ถ้าสถานบริการอื่นได้ลงทะเบียนเป็นหน่วยบริการของสปสช. จึงควรจะมีสิทธิ์ได้รับเงินค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคแก่ประชาชน

นอกจากนั้น ร่างกฎหมายใหม่ยังกำหนดว่า “ค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนบริการสาธารณสุข” ให้หมายความรวมถึง เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าจ้างเอกชนดำเนินงาน ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราขการ ค่าสาธารณูปโภค ค่าดำเนินการและค่าพัฒนาศักยภาพบุคคลในการจัดบริการสาธารณสุข” รวมทั้งค่าเสื่อมของสิ่งก่อสร้างและครุภัณฑ์ที่ใช้ในการบริการผู้ป่วยนอก บริการผู้ป่วยใน และบริการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค และค่าใช้จ่ายอื่นในการจัดบริการ

การแก้ไขกฎหมายเช่นนี้ผู้เขียนก็ไม่เห็นด้วย ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายดังกล่าว ถ้าเป็นโรงพยาบาลหรือสถานบริการเอกชน รัฐบาลไม่ควรจ่ายเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดังกล่าว เนื่องจากโรงพยาบาลหรือสถานบริการเอกชนนั้น เขาคิดค่า “บริการสาธารณสุขผู้ป่วย” โยบวกค่าใช้จ่ายเหล่านี้เข้าไปในค่าบริการแล้วทั้งสิ้น และถ้าเป็นโรงพยาบาลหรือสถานบริการของกระทรวงสาธารณสุข ก็ควรที่จะได้รับงบประมาณโดยตรงสำหรับค่าใช้จ่ายเหล่านี้จากรัฐบาล เหมิอนกระทรวงอื่นๆที่ได้รับงบประมาณโยตรงจากรัฐบาลสำหรับการดำเนินการเพื่อให้บริการประชาชนอยู่แล้ว

ถ้าเปรียบเทียบกับการจัดสรรงบประมาณรายหัวสำหรับโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ก็จะได้รับงบประมาณโดยตรงจากรัฐบาล และงบในการซ่อมสร้างหรือพัฒนาโรงเรียบนต่างหาก จากงบเหมาจ่ายรายหัวที่จัดสรรให้แก่โรงเรียนโดยตรง ตามภารกิจหน้าที่ของโรงเรียน

ฉะนั้น กระทรวงสาธารณสุขก็ควรจะได้รับงบประมาณโดดยตงจากรัฐบาล ไม่ควรเอาไปผ่านองค์กรกลางเช่นสปสช.แต่อย่างใด

การจะยกเลิกวิธีการงบประมาณแบบผิดๆเช่นนี้ นั่นคือ ไม่แก้ไขในเรื่อง “ค่าใช้จ่ายเพื่อการสนับสนุนบริการสาธารณสุข” ของกฎหมายหลักประกันสุขภาพตามที่ยกร่างใหม่ดังกล่าวแล้ว และให้คงมาตรา 3 ไว้เช่นเดิม

หมายเหตุ สามารถเข้าไปค้นหาร่างพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ได้ที่ www.lawamendment.go.th

สรุปบทความตอนนี้

เป็นข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาตรา 3 เกี่ยวกับคำจำกัดความของ “บริการสาธารณสุข” และ “สถานบริการสาธารณสุข” และ”การสนับสนุนบริการสาธารณสุข” ตามที่คณะกรรมการยกร่างเพิ่มเติมใหม่นั้น ไม่ควรมี เพราะมันจะไปทับซ้อนกับภารกิจหน้าที่และความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข แต่ควรจะแก้ไขให้กระทรวงสาธารณสุข ได้รับงบประมาณในการทำงานตามภาระหน้าที่ เช่นเดียวกับกระทรวงอื่นๆในราชอาณาจักรไทย

(ยังมีต่อ)

เอกสารอ้างอิง

https://www.prachatai.com/journal/2017/06/71733

http://thaipublica.org/2015/01/public-health-services-52/

http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9600000021716

................................................................................

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา

กรรมการแพทยสภา

ที่ปรึกษาสำนักกฎหมายการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข