มุมองจาก Grameen Bank ในการแก้หนี้นอกระบบ

มุมองจาก Grameen Bank ในการแก้หนี้นอกระบบ

การแก้ไขหนี้นอกระบบแบบองค์กรการกุศลโดยการแจกเงินให้กับชาวบ้านเหมือนกับรัฐบาลในประเทศด้อยพัฒนาหลายประเทศดำเนินการไม่มีวันแก้ไขหนี้นอกระบบได้

นอกจากจะมีสถาบันการเงินที่มีนโยบายธุรกิจเพื่อสังคมที่เห็นศักยภาพของคนจน มารองรับความหวังของผู้ยากไร้ ที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนได้

ระบบธนาคารพาณิชย์เป็นระบบที่เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่ระบบทุนนิยมขาดไม่ได้ แต่ธนาคารพาณิชย์มีวิธีการประเมินความเสี่ยงจากการปล่อยกู้ มีกระบวนการและเทคโนโลยีในการป้องกันและลดความเสี่ยง ที่ทำให้คนจนไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้ ทำให้เงินกู้นอกระบบยังคงมีอยู่เป็นจำนวนมาก 

ยิ่งประเทศมีคนจนมากเท่าไหร่ เงินกู้นอกระบบยิ่งมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่านั้น เพราะคนจนไม่มีทรัพย์สินอะไรที่จะไปเสนอธนาคารได้ จำเป็นต้องพึ่งเงินกู้นอกระบบที่เก็บดอกเบี้ยแพงกว่าธนาคารพาณิชย์หลายเท่าเพื่อแลกกับเงินกู้ไม่มีหลักประกัน และมีความยืดหยุ่นในการชำระคืนเงินต้นมากกว่า

Grameen Bank ก่อตั้งโดย Mohammad Yunus นักเศรษฐศาสตร์ชาวบังคลาเทศในปี 2519 ในช่วงเริ่มต้นมีคำถามมากมายในสิ่งที่ Yunus คิดและเชื่อว่ามันเป็นไปไม่ได้ เพราะเห็นว่าการปล่อยเงินกู้ให้คนจน เป็นเรื่องบ้าบิ่นที่ไร้เหตุผล มีความเสี่ยงสูงที่จะชำระหนี้ไม่ได้แต่ Yunus เชื่อมั่นในศักยภาพของคนจนที่ต้องต่อสู้กับอุปสรรคเพื่อยังชีพวันต่อวัน ฉะนั้นคนจนคนไหน ที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นหลักฐานที่เพียงพอแล้วว่า พวกเขามีความสามารถในการเอาตัวรอดได้

Grameen Bank ดำเนินธุรกิจแบบเอกชน 100% ดำเนินธุรกิจโดยตั้งอยู่ในคุณธรรมไม่ค้ากำไรเกินควร มีเป้าหมายทางสังคมเป็นที่ตั้ง ช่วยเหลือให้คนจนมีโอกาสกู้เงิน โดยคิดดอกเบี้ยตามอัตราตลาด ถ้าใช้ตัววัดที่นักวิเคราะห์ใช้เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ เช่น ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น ขนาดสินทรัพย์ Grameen Bank เทียบไม่ได้เลยกับธนาคารยักษ์ใหญ่ชั้นนำของโลก เช่น ซิตี้กรุ๊ป เจพีมอร์แกน ซูมิโตโม ฯลฯ แต่ถ้าวัดผลด้วยประโยชน์ต่อสังคม Grameen Bank เป็นธนาคารที่ดีที่สุดในโลก เป็นตัวอย่างของพฤติกรรมแบบทุนนิยมที่มีมนุษยธรรม (Human Capitalism)

หลักการของ Grameen Bank  เป็นหลักการที่อยู่ตรงกันข้ามกับหลักการของธนาคารพาณิชย์แบบกระแสหลักที่ตั้งอยู่บนแนวคิดที่ว่า ยิ่งคุณมีเงินเท่าไหร่ คุณยิ่งได้เงินมากเท่านั้น ในขณะที่ระบบGrameenไม่มีหลักประกัน สินเชื่อเป็นสิทธิมนุษย์ชนขั้นพื้นฐาน ไม่ได้ตั้งอยู่บนการตีค่าสินทรัพย์ของผู้กู้ แต่ตั้งอยู่บนศักยภาพของเขา 

เป้าหมายของ Grameen คือการนำบริการของสถาบันการเงินไปสู่คนจน

ความคิดเรื่องไมโครเครดิต ก่อร่างขึ้นขณะที่Yunusเป็นอาจารย์ใหม่ของคณะเศรษฐศาสตร์ ที่ Chittagong Universityซึ่งตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้านยากจนชื่อว่าJobraชาวบ้านส่วนใหญ่ เป็นหนี้นอกระบบ ชาวบ้านจำนวน42คน เป็นหนี้นอกระบบรวม856ทาก้า คิดเป็นหนี้เฉลี่ยคนละ26บาท (ประชากรบังคลาเทศมีรายได้ ต่อหัวเฉลี่ยประมาณ6,300บาทต่อเดือน คือจนกว่าคนไทยประมาณ 4เท่า)

Yunus ให้ชาวบ้านเหล่านั้นยืมเงิน856ทาก้า ไปคืนเจ้าหนี้ โดยไม่คิดดอกเบี้ย ไม่มีหลักประกัน ไม่มีกำหนดชำระ บอกชาวบ้านแต่เพียงว่าเอาเงินมาคืนเมื่อไหร่ก็ได้ที่เขาพร้อม และเขาได้คิดค้นวิธีการที่จะทำให้คนจนหลุดพ้นจากวังวนอุบาทว์ของหนี้นอกระบบอย่างถาวร นั่นคือจะต้องมีธนาคารที่ยอมให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับคนจนโดยไม่เรียกร้องหลักประกัน

Yunus ก่อตั้ง Grameen Bank ด้วยเงินทุนส่วนตัว สรรหาพนักงานธนาคารุ่นแรกจากลูกศิษย์ โดยยึดมั่นในปัจจัยหลัก2ประการ คือการตั้งสมมติฐานที่ถูกต้องเกี่ยวกับศักยภาพของคนจน และการใช้การใช้กระบวนการที่มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างแรงจูงใจให้ชำระหนี้ได้มีกระบวนการให้การศึกษาคนจนเกี่ยวกับวิธีการบริหารเงิน

Grameen Bank ต่างจากธนาคารพาณิชย์ทั่วไปตรงที่ไม่มองคนจนว่าชอบผิดนัดชำระเงิน ไม่มีสมอง กู้เงินไปกินเหล้า เล่นการพนัน 

Yunus เรียกโมเดลธุรกิจของGrameenว่า “Trust-Based Banking” 

เรื่องราวของYunusและGrameen Bankน่าสนใจที่อ่านแล้วซาบซึ้งมากครับ ขอต่อตอนหน้านะครับ....