divergence diversity and convergence สถาบัน รัฐ ตลาด(56)

divergence diversity and convergence สถาบัน รัฐ ตลาด(56)

สไตล์ของทรัมป์ชนกับคนไปทั่วเต็มไปด้วยสีสัน บอกว่าอเมริกายังมีกึ๋นล่าสุดเขาชนกับ

ผู้นำอียู สไตล์ของทรัมป์ชนกับคนไปทั่วเต็มไปด้วยสีสัน บอกว่าอเมริกายังมีกึ๋นล่าสุดเขาชนกับผู้นำอียู Merkel ของเยอรมัน และ Hollande ของฝรั่งเศส ทนไม่ได้อัดทรัมป์ แบบไม่ไว้หน้าเหมือนกัน

หลายอย่างที่ทรัมป์พูดมีส่วนที่เป็นความจริงแต่ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด ทรัมป์ถูกที่บอกว่า NATO ล้าสมัยแล้วหลังสงครามเย็นสิ้นสุดลงแต่ ก็ไม่ควรไปวิจารณ์ Merkel ทำนโยบายอพยพผู้ลี้ภัยจนหายนะ เขาลืมไปว่าเยอรมันมีบาดแผลทางใจที่อเมริกาไม่มี ในระยะยาว Merkel อาจเป็นผู้ชนะและเยอรมันชนะใจผู้อพยพรวมทั้งชาวโลกแค่ Merkel ชนะเลือกตั้งที่กำลังจะมี ทรัมป์ก็จะโดนตบหน้า ดีที่Merkelไม่ตอกกลับแรงๆ ว่า เธอไม่ใช่นักฉวยโอกาส Demagogue Merkel ตอกกลับทรัมป์ว่า “เราชาวยุโรปกำหนดชะตากรรมด้วยตัวเราเอง หน้าที่ของฉันคือ ฉันต้องทำให้เศรษฐกิจอียูแข็งแกร่ง และสู้กับการก่อการร้าย” ประธานาธิปดีฝรั่งเศส Hallande ก็ตอกกลับทรัมป์ว่า อียูไม่มีความจำเป็นต้องไปแสวงหาคำแนะนำในกิจการของอียูจากภายนอกเช่นคุณ

เป็นที่ทราบกันดีว่าโลกตะวันตกที่มีอเมริกาและยุโรปเป็นแกนนำมานานนั้น อยู่ในช่วงขาลงมาพักใหญ่แล้ว ในทางเศรษฐกิจแม้อาจจะไม่ใช่ทางทหารในกรณีของอเมริกา แม้บทบาทในโลกในเชิงเปรียบเทียบจะลดลง แต่ขนาดความสำคัญทางเศรษฐกิจก็ยังสูง ยังไงก็หนึ่งในสามของโลก ความร่วมมือระหว่างยุโรปกับอเมริกาในอนาคตเพื่อเป็นพลังที่สร้างสรรค์แก่ชุมชนโลก เหมือนในอดีตก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นแม้ภัยคุกคามจากโลกคอมมิวนิสต์ ภายใต้การนำของสหภาพโซเวียตรัสเซียได้จบลง แต่อนิจจาแม้ว่าเป้าหมายบางอย่างของทรัมป์เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ โดยเฉพาะการให้พันธมิตรเดิมๆ ทั้งในยุโรปและเอเชีย ช่วยแบกรับภาระที่อเมริกาเคยแบกเองไว้มาก แต่วิธีการของทรัมป์ที่เหมือนจะใช้อำนาจบาตรใหญ่ ทำตัวเป็นนักเลงโตมีแต่จะทำให้ทุกอย่างเลวลงไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงสร้างสรรค์

อย่างไรก็ตาม ในทัศนะของผู้เขียนปรากฏการณ์และปฏิบัติการณ์ของทรัมป์ ในกรณีความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปกับอเมริกา น่าจะเป็นช๊อคใหญ่ในทางบวกที่จะทำให้ยุโรป เลิกวางตัวแบบที่ทำมาในอดีตเกือบหกสิบปีคือ รวมตัวกันทางเศรษฐกิจผ่านอียูแต่พึ่งสหรัฐผ่าน NATO เพราะในที่สุดเป็นไปไม่ได้ที่สหรัฐจะช่วยยุโรปเหมือนที่เคยช่วยในอดีต เพราะอเมริการวันนี้และในอนาคตไม่ได้มี และจะไม่มีพลังเหมือนเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง

ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า ไม่ใช่อเมริกาเท่านั้นที่เป็นฝ่ายให้ในหลายรูปแบบ จนทำให้ยุโรปสามารถเกิดใหม่ในช่วงเวลาไม่กี่ปี การเมืองและเศรษฐกิจเป็นปึกแผ่น จนสามารถสยบ และในที่สุดทำลายระบบคอมมิวนิสต์ได้ ยุโรปตะวันตกฝืนประวัติศาสตร์คือ ไม่ต้องทำสงครามกันอีกเลย แน่นอนความสำเร็จของยุโรปนี้ คงไม่ใช่เป็นเพราะอเมริกาอย่างเดียว แต่มันมาจากปัจจัยหลายอย่างที่เป็นลักษณะเฉพาะของยุโรป ที่คงไม่เกิดขึ้นอีกที่นี่หรือที่อื่นใด ลักษณะพิเศษที่สำคัญนั้นได้แก่

การที่ประเทศทั้งหลายที่ทำสงครามกันทุกคนรู้สึกว่า “เป็นผู้แพ้” อยากลืมอดีต เริ่มทุกอย่างใหม่ สร้างยุโรปใหม่ อยากเป็นสังคมพลเรือน ที่ไม่ต้องติดอาวุธเพื่อรบหรือรุกรานใคร ซึ่งตอนแรกก็ไม่มีใครคิดไปไกลหลายอย่าง เป็นเรื่องสถานการณ์และโชคชะตาพาไป ทีละเรื่องทีละขั้นตอน ผู้ชนะสงคราม เช่น ฝรั่งเศส ต้องพึ่งพาถ่านหินจากเยอรมัน จนเกิดเป็น European Coal Steal Community แต่ฝรั่งเศสจะกดเยอรมันไม่ให้ผุดให้เกิด เยอรมันก็คงรับไม่ได้ และอเมริกาก็ไม่ยอม กลายเป็นว่าต้องทำให้เยอรมันแข็งแกร่ง เพื่อเป็นกันชนกับคอมมิวนิสต์ ไม่นานการจัดสรรอำนาจระหว่างเยอรมันกับฝรั่งเศสก็ลงตัว เยอรมันเด่นทั้งเศรษฐกิจแต่สงบเสงี่ยมให้ฝรั่งเศสนำทางการเมืองมาตลอดแม้จะลดลงเรื่อยมาเพราะความอ่อนแอทางเศรษฐกิจของฝรั่งเศส

ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EC) ที่มากับการเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดดของยุโรปตะวันตก ในช่วงสิบห้าถึงยี่สิบปีแรก อาจสร้างภาพลวงตาว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นเพราะ EC แต่จริงๆ ส่วนสำคัญเป็นเพราะยุโรป หลังสงครามล้าหลังอเมริกามากมีโอกาสไล่กวดสูง ด้วยเหตุนี้เอง โดยเหตุผลทางการเมืองมากกว่าทางเศรษฐกิจ แม้การรวมตัวจะลึกขึ้นๆ เป็นตลาดเดียว เป็นเงินสกุลเดียว สมาชิกเคยสูงสุดถึง 28 ประเทศแต่อียูไม่สามารถเติบโตทางเศรษฐกิจได้ดีเหมือนช่วงแรกๆและได้อย่างที่ผู้นำทางการเมืองสัญญา วิกฤตเล็ก วิกฤตใหญ่เกิดขึ้นถึงขั้นโอกาสการล่มสลายได้ในอนาคต

ที่ทรัมป์กระแนะกระแหนผู้นำ NATO นั้น มีส่วนที่ถูกต้องอียูด้วยกันเองในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ไม่เคยสามารถกำหนดนโยบายด้านต่างประเทศหรือการป้องกันประเทศ การทหารร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ รัฐของอียูกลายเป็นรัฐพลเรือนเป็นแบบอย่างที่ดีของโลกด้านสิทธิเสรีภาพของพลเมือง การเป็นสังคมเปิดและประชาธิปไตย แม้ประเทศสมาชิกจะร่วมค่าใช้จ่ายคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP แต่ไม่มาก กำลังสำคัญทางทหารและค่าใช้จ่ายต้องพึ่งอเมริกา เช่น ทศวรรษ 1990 ยุโรปไม่มีน้ำยาต้องให้อเมริกามาจัดการแก้ปัญหาวิกฤตการแตกสลายของประเทศยูโกสลาเวียร์หรือวิกฤตในบอสเนีย เซอเบีย โคโซโว เป็นต้น

อียูใช้ระบบจ้างเหมาสหรัฐในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนให้มาช่วยปกป้องประเทศ อียูจึงเหมือนดำรงความเป็นรัฐสมัยใหม่ ที่ไม่ได้มีอำนาจผูกขาดความรุนแรงในบริบทของเว็บเบอร์ ทรัมป์คงสะใจที่ได้ด่า Merkel