กำจัดสินบน PTTGC

กำจัดสินบน PTTGC

สัปดาห์ที่แล้วเขียนถึงข้อร้องเรียน ให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่

 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC ช่วงเวลาเดียวกับเรื่องสินบนข้ามชาติ ที่บริษัทโรลส์-รอยซ์ จ่ายสินบนให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ ของไทย ทั้งบริษัทการบินไทย บริษัท ปตท. กลายเป็นข่าวใหญ่แห่งปี

กลบข่าว PTTGC จัดซื้ออุปกรณ์โรงกลั่น ในราคาแพงแต่ไม่มีประสิทธิภาพ

ประเด็นร้องเรียน คือ มีเจ้าหน้าที่ PTTGC อย่างน้อย 2 คน ชื่อย่อ “ส” ร่วมกันเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้องของตนเอง

กระทั่งฝ่ายสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร PTTGC ทำหนังสือชี้แจง ว่า เมื่อบริษัทได้รับเรื่องร้องเรียน ได้นำเข้าสู่ระบบรับข้อร้องเรียน รวบรวมข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการทางวินัย โดยได้มีการแก้ไขในประเด็นที่มีหลักฐานชัดเจนไปแล้ว โดยยึดมั่นดำเนินธุรกิจที่โปร่งใสเป็นธรรม คำนึงถึงความซื่อสัตย์ในการดำเนินธุรกิจ

จากเอกสารชี้แจง ทำให้เห็นว่า PTTGC ให้ความสำคัญในเรื่องนี้จริง

ผมอยากยกเอากฎหมาย ป.ป.ช.ใหม่ ขึ้นมา เพื่อย้ำว่าปัญหาทุจริตต้องจัดการเด็ดขาด ด้วยการกำหนดฐานความผิดสำหรับนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการให้สินบนเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 123/5 วรรค 2 กำหนดให้มีฐานความผิดเฉพาะสำหรับนิติบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับการให้สินบนเจ้าหน้าที่ เนื่องจากผลโยชน์ที่เกิดจากการให้สินบน เช่น การได้รับสัมปทาน หรือโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ ฯลฯ

บทกำหนดโทษมาตรา 123/2 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือประหารชีวิต

จากกฎหมาย ป.ป.ช.นี้ จะเห็นได้ว่า การร้องเรียนใน PTTGC เนื่องจากเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ยอดขาย2-3แสนล้านบาท จากการรวมโรงกลั่น ขนาดใหญ่ไว้ ถึง 4-5แสนบาเรลต่อวัน เมื่อรวมโรงงานอื่นๆ ตีมูลค่าเป็นทรัพย์สินหลายแสนล้านบาท  PTTGC ต้องไม่ปล่อยให้มีการยกเลิก AVL เดิม ต้องไม่ให้เกิดการตั้งพวกพ้อง แล้วกำจัดผู้จำหน่ายสินค้าเดิม ไม่ให้ได้ขายต่อไป

มีป.อาญา มาตรา 95 กำหนดอายุความ 20 ปี สำหรับความผิดต้องโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปีโดย นับแต่วันทำผิด

นับเป็นเรื่องดีที่ PTTGC เอาจริงเรื่องนี้