อำนาจใคร? ตั้งผู้ว่าฯมืออาชีพ

อำนาจใคร? ตั้งผู้ว่าฯมืออาชีพ

วันก่อนเห็น รองนายกฯสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ บอกทำนองรัฐบาลต้องการให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด

 มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระดับจังหวัด และระดับกลุ่มจังหวัดรองรับนโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศ โดยกระจายการพัฒนาไปสู่ส่วนภูมิภาค เพราะรัฐบาลได้เพิ่มงบลงทุนในระดับจังหวัดจำนวน

ฉะนั้นการดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯไม่ใช่อยู่แค่ 1 -2 ปี แต่ต้องอยู่ยาว 4-5 ปี นั่นหมายถึงต้องนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง การแต่งตั้งผู้ว่าฯโดยอาจใช้ วิธีพิเศษ” เพื่อให้ได้ผู้ว่าฯที่เป็นนักบริหารมืออาชีพ  ฟังดูก็มีเจตนาที่ดีเพื่อขับเคลื่อนประเทศทำงานเชิงรุก แต่เสียงต่อต้าน แบบไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน เหมือนกับการปฏิเสธที่รับข้อเสนอแบบกลายๆซะอย่างนั้น

 แนวคิดลักษณะนี้ดูเหมือนคล้ายๆ กับในยุครัฐบาลไทยรักไทยเมื่อปี 2544 ที่พยายามปลุกปั้น ผู้ว่าฯซีอีโอ ขึ้นมาเน้นบริหารราชการระดับจังหวัดรูปแบบใหม่ แต่ผู้ว่าฯซีอีโอสมัยนั้น มาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจบริหารเงิน งาน และคน ได้รับจัดสรรงบพิเศษ หรือ งบผู้ว่าฯซีอีโอ” จำนวนมาก แต่ก็ไม่วายที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นงบในการหาเสียง สุดท้ายเงียบไป

    มายุคนี้แนวที่คิดที่จะใช้วิธีพิเศษ คัดสรรมืออาชีพบริหารเป็นผู้ว่าฯ ในหลักการก็ไม่น่าจะต่างอะไรกันมากนัก จะคัดสรรผู้ว่าฯ มืออาชีพ ด้วยวิธีไหนก็ตาม ทว่าโครงสร้างการแต่งตั้งผู้ว่าฯยังให้อำนาจ ส่วนกลาง” จะทำได้อย่างไร? การแต่งตั้งโยกย้ายแต่ละครั้งก็เห็นๆ กันอยู่ 

จริงๆ ถ้าจะให้ได้ผลจริงจังควรใช้ระบบ การเลือกตั้งผู้ว่าฯ” ไปเลย ผู้ว่าฯจะได้มีอำนาจเต็มในการดำเนินการ ผู้ว่าฯต้องไปหาชาวบ้าน แต่ระบบปัจจุบันชาวบ้านยังต้องมาหาผู้ว่าฯ เพราะการแต่งตั้งผู้ว่าฯมาจาก ส่วนกลาง” ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งของชาวบ้าน 

หากไม่สามารถตั้งผู้ว่าฯมืออาชีพได้ ก็ ใช้มาตรา 44” เข้ามาทลายโครงสร้างอำนาจเสีย ที่สำคัญระบบตรวจสอบต้องก็เข้มแข็งด้วย