ปรองดอง-นิรโทษกรรม

ปรองดอง-นิรโทษกรรม

เริ่มต้นสองสัปดาห์ของปี 2560 อุณภูมิการเมือง ก็ร้อนแรงขึ้นมา ทั้งปมเลื่อนโรดแมพเลือกตั้ง

 และการสร้างความปรองดอง

ประเด็นแรก หัวหน้าคสช. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยืนยันคงโรดแมพเดิม 

เรื่องปรองดอง” ทุกสายตาจดจ้องไปที่ คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) มี เสรี สุวรรณภานนท์ เป็นประธาน โดยจัดทำ “รายงานการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความปรองดอง”

หลักการของรายงานนี้ คือ เหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง 19 ก.ย. 2549 - 22 พ.ค. 2558 มีคดีที่ประชาชนโดนดำเนินคดี เป็นบาดแผลในใจว่าการแสดงออกทางการเมือง แต่กลับต้องคดี

รายงานนี้ แยกแนวทางสร้างความปรองดองออกเป็น 2 ประเภท

  1. ประเภทคดี ได้แก่ คดีที่เกี่ยวกับประชาชน และคดีของแกนนำชุมนุม
  2. ประเภทคดีความผิดร้ายแรง กับไม่ร้ายแรง โดยความผิดไม่ร้ายแรง หลักเกณฑ์คือ คดีประชาชนทั่วไปที่อยู่ในชั้นศาล การบุกรุกสนามบิน บุกสถานที่ราชการ การก่อการร้าย หากจำเลย รับผิดตามฟ้อง จะเสนอให้ศาลจำหน่ายคดีออกไป แต่มี“เงื่อนไข” ระหว่าง5ปี ห้ามไปก่อปัญหาต่อบ้านเมือง และต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าบุคคลนั้นร่วมชุมนุมเพียงอย่างเดียว ไม่ได้สร้างความเสียหายอื่น หรือเผาทรัพย์สินราชการ

ส่วนแกนนำ หากยอมรับว่าได้กระทำความผิด จะเสนอศาลขอให้ใช้ดุลพินิจลงโทษสถานเบา

กรณีนี้ ไม่เหมือนนิรโทษกรรม ที่ทำผิดแล้ว แต่ไม่ต้องรับผิด

ส่วนข้อเสนอให้โอกาสคนอยู่ต่างประเทศ กลับมาสู้คดีโดยได้ประกันตัว นั้น ข้อเท็จจริงคือคนที่หนีคดีอยู่ต่างประเทศ ส่วนใหญ่เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลผ่านอินเทอร์เน็ต จึงไม่กล้าเข้าประเทศ หรือกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาแล้วแต่หนีคดีก็ไม่อยู่ในเงื่อนไข

รวมถึงคดีหมิ่นเบื้องสูง มาตรา112 หรือคดีทุจริต จะไม่อยู่ในข่ายได้พักโทษ