เศรษฐกิจพอเพียง : บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติ

เศรษฐกิจพอเพียง : บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติ

“เศรษฐกิจพอเพียง” จากเอกสารของมูลนิธิชัยพัฒนา สรุปได้ว่า เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จ

พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พ่อหลวงของปวงชนชาวไทย พระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า หลายสิบปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ 

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก

ประเทศไทยตระหนักถึงประโยชน์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่จะช่วยให้ชาวบ้านระดับฐานราก พอมีพอกิน สามารถยังชีพอยู่อย่างมีความสุข หากได้ยึดถือและเดินตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แม้แต่การประกอบกิจการหรือการดำเนินการใดฯไม่ว่าจะเป็นกิจการเล็กหรือใหญ่หากได้ยึดถือตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก็จะช่วยให้กิจการหรือการดำเนินการนั้นนั้นเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนมั่นคง

ในปี2549 ประเทศไทยเริ่มบัญญัติให้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางในการดำเนินนโยบายในรัฐธรรมนูญ ดังนี้

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2559 ส่วนหนึ่งของคำปรารภที่กล่าวถึงความจำเป็น ในการตรารัฐธรรมนูญออกใช้บังคับ จำเป็นต้องกำหนดกลไกทางปกครองที่เหมาะสมแก่สถานการณ์ เพื่อใช้ไปพลางก่อน โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านการปกครอง และปัจจัยด้านอื่นฯอีกหลายด้าน โดยด้านการดำรงชีวิตของประชาชน เน้นการดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่3 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 78 (1) ที่บัญญัติว่า “มาตรา 73 รัฐต้องดำเนินการตามนโยบายด้านบริหารราชการแผ่นดินดังต่อไปนี้

(1) บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศอย่างยางยืน โดยต้องส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ” และในส่วนที่ 7 แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ มาตรา83บัญญัติว่า "มาตรา 83 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"

สำหรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่เรียกกันว่า ฉบับอาจารย์มีชัย ที่ผ่านการทำประชามติเรียบร้อยแล้ว และรัฐบาลได้นำทูลเกล้า เพื่อทรงลงพระปรามาภิไธย เพื่อประกาศใช้บังคับต่อไป ก็มีบทบัญญัติอันเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บัญญัติไว้คือ หมวด6 แนวนโยบายแก่งรัฐ มาตรา 75 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า 

มาตรา 75 รัฐพึงจัดระบบเศรษฐกิจให้ประชาชนมีโอกาสได้รับประโยชน์จากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมกันอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และยั่งยืน สามารถพึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขจัดการผูกขาดทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม และพัฒนาความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประชาชนและประเทศ” และในหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ มาตรา 257 (1) ที่บัญญัติว่า “มาตรา 257 การปฏิรูปประเทศตามหมวดนี้ต้องดาเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้

(1) ประเทศชาติมีความสงบเรียบร้อย มีความสามัคคีปรองดอง มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุกับการพัฒนาด้านจิตใจ”

นอกจากที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญแล้ว มีพระราชบัญญัติบางฉบับ กำหนดวัตถุประสงค์ประการหนึ่งในการดำเนินกิจการตามที่กำหนดไว้ให้เป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง คือพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 11 (4) ที่บัญญัติว่า

มาตรา 11 ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า “กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ” โดยเป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

(4) สนับสนุนการเสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านหรือชุมชนเมืองทั้งในด้านการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาความคิดริเริ่มเพื่อการแก้ไขปัญหา และเสริมสร้างศักยภาพและส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง

พระราชบัญญัติสภาการเกษตรแห่งชาติ พ.ศ.2553 มาตรา 11(1) ที่บัญญัติว่า

มาตรา 11 สภาเกษตรกรแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งแก่เกษตรกร และองค์กรเกษตรกร ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การผลิต การแปรรูป การตลาด และการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม”

ตามรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติบางฉบับดังที่กล่าวมาข้างต้น เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงบัญญัติให้เป็นแนวนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินและกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของวัตถุประสงค์ในการดำเนินการงานขององค์กรตามที่กำหนดขึ้นในพระราชบัญญัตินั้นฯ แต่มีข้อน่าสังเกตว่า การบริหารราชการทางเศรษฐกิจ และกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของทีมเศรษฐกิจในรัฐบาลปัจจุบัน ไม่มีกิจกรรมที่เน้นการดำเนินการหรือส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เห็นเด่นชัดเลย แต่เน้นและให้ความสำคัญกับตัวเลข จี ดี พี และตัวเลข 4.0 ซึ่งก็เชื่อว่าผู้คนส่วนมากยังไม่เข้าใจและสงสัยว่าตัวเลข 4.0 คืออะไร และก็มีนักเขียนนักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นว่า ไม่ช่วยให้ชาวบ้านอิ่มท้องหรือพอมีพอกินยังชีพอยู่อย่างมีความสุข