เลือก 'กองทุน' อย่างไรให้เหมาะกับตัวเอง

เลือก 'กองทุน' อย่างไรให้เหมาะกับตัวเอง

การเลือกกองทุนที่เหมาะสม อาจมีบางประเด็นที่แตกต่างกันได้ ควรปัจจัยอะไรบ้างที่เราควรพิจารณา

ช่วงนี้ นักลงทุนหลายท่านอาจกำลังมองหากองทุนเพื่อการออม และบางท่านอาจมองหากองทุน LTF เพื่อประโยชน์ด้านภาษี แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเลือกลงกองทุนอย่างไรดี วันนี้เลยถือโอกาส นำวิธีเลือกซื้อกองทุนที่เหมาะกับตัวเองมาแชร์ให้ฟัง

ก่อนอื่น เราอาจต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การเลือกกองทุนที่ดี กับการเลือกกองทุนที่เหมาะสมกับตัวเรา นั้นอาจมีบางประเด็นที่แตกต่างกันได้ ดังนั้น ปัจจัยอะไรบ้างที่เราควรพิจารณา

ปัจจัยข้อแรกคือ 'อายุ' 

สำหรับคนวัยหนุ่มสาวที่เพิ่งจบจากมหาวิทยาลัย และ เริ่มเข้าสู่การทำงาน ควรมองกองทุนหุ้นทุน ซึ่งแม้หากมีความเสี่ยงจากความผันผวนของมูลค่ากองทุนอันเกิดจากภาวะตลาดหุ้นผันผวน บ้างเป็นบางช่วงเวลา แต่อัตราผลตอบแทนการลงทุนในระยะยาวย่อมสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ และ อัตราเงินฝากประจำในสถาบันการเงินต่างๆ ทั้งนี้ควรพิจารณาในเรื่องการสร้างความมั่งคั่งไว้ก่อน แต่ในทางกลับกัน เมื่ออายุเรามากขึ้นก็เหลือระยะเวลาก่อนเข้าวัยเกษียร อันนี้นักลงทุนควรพิจารณากองทุนประเภทผสม ซึ่งอาจมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้น และ ตราสารหนี้ เพราะท่านได้ทำงานและมีเงินออมเพิ่มพูลมาระดับหนึ่งแล้ว ดังนั้นท่านต้องการกองทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดี และความสม่ำเสมอ หรือ กองทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอก็ถือว่าน่าสนใจ 

ปัจจัยข้อสอง คือ 'ระดับความเสี่ยง' 

เรามักได้ยินกองทุนต่างๆเตือนเรื่อง การลงทุนมีความเสี่ยง แน่นอน หากเสี่ยงน้อย อัตราผลตอบแทนคาดหวังก็น้อย แต่กองทุนประเภทความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ความเสี่ยง หรือ ความผันผวนจากการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีระดับความเสี่ยงสูงก็เพิ่มขึ้น กองทุนประเภทที่ลงทุนในสินทรัพย์เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ หรือกองทุนที่ลงในประเทศ อาทิเช่น รัสเซีย บราซิล จีน ก็จะมีความเสี่ยงจากความผันผวนสูงเช่นกัน ซึ่งการลงทุนในกองทุนเหล่านี้ต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจอย่างมากในเรื่อง Timing รวมถึงวัฐจักร Cycle ของเศรษฐกิจ หากนักลงทุนไม่ได้มีความเข้าใจเพียงพอ แนะควรเลี่ยง เพราะท่านอาจขาดทุนได้มากถึง 50% หากลงทุนผิดรอบ กองทุนที่ลงในตราสารหนี้จะมีความเสี่ยงน้อย แต่ผลตอบแทนก็ไม่เกิน 3-4% ต่อปี แต่กองทุนหุ้นมีระดับความเสี่ยงเพิ่มขึ้น อาจขาดทุนในระดับ 10-15% (ในกรณีไม่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ) แต่อัตราผลตอบแทนราว 8% ต่อปี

ปัจจัยที่สาม คือ 'อัตราผลตอบแทนหลายช่วงเวลา' 

เมื่อเราเริ่มทราบว่า กองทุนประเภทไหนที่เราหมายตา สิ่งถัดไปคือ ความสม่ำเสมอของผลงานของกองทุนที่เรากำลังเลือกควรมีการพิจารณาผลงานในหลายช่วงเวลา อย่าเพิ่งปักใจเชื่อในผลงานบริหารกองทุนเพียง 1 ปี เพราะผลงานในอดีตนั้นไม่ได้รับรองผลตอบแทนในอนาคต และกำไรที่ดีอาจเกิดจากผลงานแค่ปีเดียวก็ได้ ดังนั้น ควรดูผลงานในระยะเวลา 3-5 ปีประกอบด้วยเช่นกัน

ปัจจัยที่สี่ คือ 'สัดส่วนอัตราผลตอบแทนต่อความเสี่ยง' 

ทั้งนี้ เนื่องจาก การพิจารณาเลือกกองทุนนั้น เราไม่ได้เน้น กองทุนที่สร้างผลตอบแทนสูงสุดอย่างเดียว หากแต่เราควรพิจารณา อัตราผลตอบแทนเทียบความเสี่ยง ซึ่งทางกองทุนมักจะแสดงไว้ภายใต้ Sharp ratio ตัวเลขที่สูงกว่า 1 เท่ายิ่งมากเท่าไรยิ่งดี และถือว่าการบริหารกองทุนทำได้ดีกว่ากองทุนที่มีค่า sharp ratio ต่ำกว่า 1 เท่า เหตุผล คือ ค่า Sharp ratio ที่ต่ำจะหมายถึง มูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหารงานของกองทุนนั้นจะแกว่งตัวแรง ดังนั้น เมื่อเราจำเป็นต้องไถ่ถอน อัตราผลตอบแทนอาจลดลงเร็วก็ได้